กล้ามเนื้อหัวใจตาย
กล้ามเนื้อหัวใจตาย (Myocardial Infarction) หมายถึง ภาวะที่กล้ามเนื้อหัวใจตายจากการขาดเลือดไปเลี้ยง ส่วนมากเกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ
สาเหตุ
หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน โพธาราม ราชบุรี
โทร. 032-397-635
สาเหตุ
- หลอดเลือดแดงตีบตันแข็ง พบบ่อยในผู้สูงอายุ มีประวัติในครอบครัวเป็น พบได้สูงกว่าคนปกติ 2-7 เท่า ระดับไขมันในเลือดสูง มีภาวะความดันโลหิตสูง รับประทานยาคุมกำเนิด การได้รับแอลกอฮอล์ คาเฟอีน ระดับยูริคในเลือดสูง ไม่ออกกำลังกาย เป็นคนก้าวร้าว ทะเยอทะยาน รีบเร่ง เครียด
- ภาวะโลหิตจาง ขาดออกซิเจน ความดันโลหิตต่ำเป็นเวลานาน
- การเสียเลือดจำนวนมาก จนทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ช็อค
- โรคที่มีผลต่อหลอดเลือดแดง เช่น ซิฟิลิส
- หลอดเลือดแดงอุดตัน หลอดเลือดแดงโป่งพอง
- เจ็บหน้าอก อาจเกิดตรงกลางหน้าอก ใต้กระดูกหน้าอก มักเจ็บเป็นบริเวณกว้าง บอกจุดไม่ชัดเจน เจ็บเหมือนมีของหนักมาทับ อาการเจ็บมักจะค่อย ๆ มากขึ้นตามเวลา อาจร้าวไปเจ็บที่หัวไหล่ แขน หรือมือทั้งสองข้าง โดยเฉพาะยิ่งสะบักซ้าย และอาจร้าวไปที่คอ ฟันกราม หรือขากรรไกร บางรายอาจแน่นลิ้นปี่ คล้ายกับคนที่อาหารไม่ย่อย
- ช็อค หรือหมดสติ จะมีเหงื่อออกมาก ตัวเย็น ซีด เพลีย เป็นลม ความดันเลือดต่ำลงอย่างรวดเร็ว ชีพจรเบาเร็ว ซึ่งเกิดจากปริมาณเลือดที่หัวใจบีบตัวลดลง
- คลื่นใส้ อาเจียน พบในบางราย
- มีไข อุณหภูมิ 37.5-39.5 องศาเซลเซียส ใน 24 ชั่วโมง หรือถึง 7 วัน
- มีนศีรษะ ปวดศีรษะ
- การให้ยาแก้ปวด
- การให้ยาขยายหลอดเลือด
- การให้ยาป้องกันเลือดแข็งตัว หรือยาละลายลิ่มเลือด
- หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ ผู้ที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พบว่าทำให้ป้องกันโรคหัวใจได้ ทำให้หลอดเลือดขยายใหญ่ขึ้น
- ระวังอย่าให้อ้วน ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง เพราะอาหารไขมันประกอบด้วยโคเลสเตอรอล และไตรกรีเซอไรด์ ซึงทำให้กลอดเลือดตีบตัน
- ผ่อนคลายความเครียดด้วยวิธีต่าง ๆ อย่าวิตกกังวล หรือทำให้เกิดความเครียดบ่อย ๆ
- งดบุหรี่และไม่ดื่มสุรามากเกินไป อัตราการเกิดโรคหัวใจพบในคนสูบบุหรี่มากกว่าคนที่ไม่สูบถึง 3-4 เท่า
- พักผ่อนให้เพียงพอ
- เมื่ออายุ 30 ปีขึ้นไป ควรวัดความดันโลหิตทุกปี โรคความดันโลหิตสามารถทำให้หลอดเลือดแดงตีบและตันได้
- ควรมีการตรวจเช็คระดับไขมันในเลือด ปกติไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม /ต่อ เดซิลิตร ถ้าผิดปกติควรไปพบแพทย์ เพื่อรับคำแนะนำควบคุมอาหาร หรืออาจต้องให้ยา
- เลิกสูบบุหรี่โดยเด็ดขาย ถ้าอ้วนก็หาทางลดน้ำหนัก และอย่ากินอาหารที่มีไขมันสัตว์สูง ให้ใช้น้ำมันพืชแทน
- ออกกำลังกายที่ไม่หักโหม อย่างสมำเสมอ เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน เป็นต้น
- หลีกเลื่ยงสิ่งที่กระตุ้นให้เกอดอาการโรคหัวใจกำเริบ เช่น
- สิ่งที่ทำให้ตื่นเต้น ตกใจ โกรธ หรือกระทบกระเทือนจิตใจ ควรทำใจให้เบิกบานอยู่เสมอ
- อย่าทำงานหักโหมจนเกินไป
- ระวังอย่าให้ท้องผูก โดยกิตผัก ผลไม้ และดื่มน้ำมาก ๆ หรือใช้ยาระบายเวลาท้องผูก
- งดดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่ใส่คาเฟอีน
- หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเครื่องในสัตว์ สมองสัตว์ หนังไก่ รับประทานไข่ครั้งละ 1 ฟอง วันเว้นวันได้
- รับประทานยาตามแพทย์สั่งเป็นประจำ ตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง
หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน
โรงพยาบาลเจ็ดเสมียน โพธาราม ราชบุรี
โทร. 032-397-635
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น