เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์ ตามความหมายของ สำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ (มกท) หมายถึง ระบบการผลิตที่ไม่มีการใช้ปุ๋ยเคมี และสารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช และเป็นระบบการผลิตที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในมาตรฐาน มกท.
องค์กร FAO เน้นในเรื่องของการจัดการนิเวศ ไม่ใช้สารสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เมล็ดพืชที่ตัดต่อพันธุกรรม ตลอดจนสารกันบูด เน่าเสีย (preservatives) และสารปรุงแต่งอาหาร (additives) เป็นต้น ทั้งนี้โดยใชการบริหารจัดการที่เฉพาะพื้นที่ มุ่งเน้นการเพิ่มความสมบูรณ์ของดินในระยะยาว และป้องกันแมลงศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ
ที่ยกมานี่ ก็จะเห็นว่า เกษตรอินทรีย์ เป็นเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม งดเว้นการใช้ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อ คนและสิ่งแวดล้อม
วิธีการที่ใช้ในการบำรุงดิน และป้องกันศัตรูพืฃ เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชบำรุงดิน ปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ ซากพืชซากสัตว์ที่หาได้ การเลือกพันธ์พืชที่ทนต่อโรคและแมลงในท้องถิ่นนั้น ๆ และสามารถปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้ดี และการควบคุมศัตรูพืชโดยทางชีววิทยา เช่น ใช้แมลงกำจัดแมลง ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน เป็นต้น
เกษตรอินทรีย์ เป็นการรักษาธรรมชาติ ให้ธรรมชาติทำงานตามวงจรปกติของเขา ลดการแทรกแทรงของมนุษย์
สรุปก็คือว่า เกษตรอินทรีย์ ดีสำหรับธรรมชาติ และดีสำหรับเราทุกคน
ในกรณีที่ดินขาดความสมบูรณ์ สิ่งที่จะช่วยได้อย่างหนึ่งก็คือ ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic fertilizers)
ข้อดี – ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้
(1) ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง
ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสีย
น้อยกว่าปุ๋ยเคมี
3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ
มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช
4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(2) ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
4. หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก
5. ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท
ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
6. การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น
จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้
7. มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช
และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้
8. ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง
เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน
9. ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก
10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือน
ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท
11. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน
จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ
12. ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า
อ้างอิง
href="http://www.actorganic-cert.or.th/
http://www.fao.org/organicag/oa-faq/oa-faq1/en/
http://en.wikipedia.org/wiki/Organic_farming
http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/or3.htm
องค์กร FAO เน้นในเรื่องของการจัดการนิเวศ ไม่ใช้สารสังเคราะห์ เช่น ปุ๋ยสังเคราะห์ ยาฆ่าแมลง เมล็ดพืชที่ตัดต่อพันธุกรรม ตลอดจนสารกันบูด เน่าเสีย (preservatives) และสารปรุงแต่งอาหาร (additives) เป็นต้น ทั้งนี้โดยใชการบริหารจัดการที่เฉพาะพื้นที่ มุ่งเน้นการเพิ่มความสมบูรณ์ของดินในระยะยาว และป้องกันแมลงศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ
ที่ยกมานี่ ก็จะเห็นว่า เกษตรอินทรีย์ เป็นเรื่องของความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม งดเว้นการใช้ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงที่เป็นอันตรายต่อ คนและสิ่งแวดล้อม
วิธีการที่ใช้ในการบำรุงดิน และป้องกันศัตรูพืฃ เช่น การปลูกพืชหมุนเวียน ปลูกพืชบำรุงดิน ปุ๋ยหมัก มูลสัตว์ ซากพืชซากสัตว์ที่หาได้ การเลือกพันธ์พืชที่ทนต่อโรคและแมลงในท้องถิ่นนั้น ๆ และสามารถปรับตัวเข้ากับท้องถิ่นได้ดี และการควบคุมศัตรูพืชโดยทางชีววิทยา เช่น ใช้แมลงกำจัดแมลง ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน เป็นต้น
เกษตรอินทรีย์ เป็นการรักษาธรรมชาติ ให้ธรรมชาติทำงานตามวงจรปกติของเขา ลดการแทรกแทรงของมนุษย์
สรุปก็คือว่า เกษตรอินทรีย์ ดีสำหรับธรรมชาติ และดีสำหรับเราทุกคน
ในกรณีที่ดินขาดความสมบูรณ์ สิ่งที่จะช่วยได้อย่างหนึ่งก็คือ ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic fertilizers)
ข้อดี – ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์ มีดังนี้
(1) ข้อดีของปุ๋ยอินทรีย์
1. ช่วยปรับปรุงดินให้ดีขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติทางกายภาพของดิน เช่น ความโปร่ง
ความร่วนซุย ความสามารถในการอุ้มน้ำ และการปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
2. อยู่ในดินได้นานและค่อย ๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารพืชอย่างช้า ๆ จึงมีโอกาสสูญเสีย
น้อยกว่าปุ๋ยเคมี
3. เมื่อใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี จะส่งเสริมปุ๋ยเคมีให้เป็นประโยชน์แก่พืชอย่างมีประสิทธิภาพ
มีธาตุอาหารรอง / เสริม อยู่เกือบครบถ้วนตามความต้องการของพืช
4. ส่งเสริมให้จุลชีพในดินโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกที่มีประโยชน์ต่อการบำรุงดิน
ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
(2) ข้อจำกัดของปุ๋ยอินทรีย์
1. มีปริมาณธาตุอาหารพืชต่ำ
2. ใช้เวลานานกว่าปุ๋ยเคมี ที่จะปลดปล่อยธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช
3. ราคาแพงกว่าปุ๋ยเคมี เมื่อคิดเทียบในแง่ราคาต่อหน่วยน้ำหนักของธาตุอาหารพืช
4. หายาก พิจารณาในด้านเมื่อต้องการใช้เป็นปริมาณมาก
5. ถ้าใส่สารอินทรีย์มากเกินไป เมื่อเกิดการชะล้างจะทำให้เกิดการสะสมของไนเตรท
ในน้ำใต้ดินซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
6. การใช้สารอินทรีย์ที่สลายตัวยาก เช่น ขี้เลื่อย เมื่อใช้วัสดุคลุมดิน ถ้าใช้ขี้เลื่อยสดใส่ทับถมกันแน่น
จะทำให้เกิดการหมักในสภาพไร้ออกซิเจน ทำให้อุณหภูมิสูงมาก จนเกิดสารสีดำหรือน้ำตาล ในสภาพนี้ขี้เลื่อยจะอิ่มตัวไปด้วยสารพิษซึ่งเป็นกรดอินทรีย์ชนิดระเหยง่าย มีกลิ่นฉุนมาก และเกิดไอที่มีฤทธิ์กัดกร่อน ทำให้เป็นอันตรายแก่พืชหลายชนิดได้ อย่างไรก็ตาม ขี้เลื่อย เปลือกไม้สามารถนำมาใช้ได้โดยใช้ในดินที่ไม่เป็นกรดจัดเกินไป และมีปุ๋ยไนโตรเจนเพียงพอ ควรเป็นขี้เลื่อยเก่าที่ย่อยแล้ว หรือปล่อยให้ตากแดดตากฝนระยะหนึ่ง การใช้ปูนขาวควบคู่ไปด้วยในปริมาณที่พอเหมาะ จะช่วยลดความเป็นพิษลงได้
7. มูลสัตว์ที่ไม่ผ่านการหมักหรือการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนก่อนจะมีโรค แมลงศัตรูพืช
และวัชพืชติดมาด้วย ทำให้เกิดปัญหาการแพร่ระบาดภายหลังได้
8. ปุ๋ยอินทรีย์สลายตัวอยาก เช่น ขี้เลื่อย ซึ่งมีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง
เมื่อใส่ในดินปลูกพืชจุลินทรีย์จะแย่งไนโตรเจนในดินไปใช้ในขบวนการย่อย มีผลทำให้พืชขาดไนโตรเจนชั่วคราว ถ้าไม่มีการใส่ปุ๋ยไนโตรเจนพืชจะขาดจนกว่าจุลินทรีย์เหล่านี้จะมีกิจกรรมลดลง จึงจะได้ไนโตรเจนกลับคืนสู่ดิน
9. ปุ๋ยอินทรีย์จากมูลสัตว์และวัสดุเหลือทิ้งจากโรงงาน ส่งกลิ่นเหม็นไม่เป็นที่จูงใจผู้ใช้และสกปรก
10. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์จากของเหลือทิ้งจากท่อระบายน้ำโสโครก ตามอาคารบ้านเรือน
ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของโลหะหนักหลายชนิดที่เป็นพิษ เช่น ตะกั่ว ปรอท
11. การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ยังสลายตัวไม่เต็มที่หรือยังอยู่ระหว่างการย่อยสลายจะทำให้เกิดความร้อน
จากการย่อยสลาย เป็นอันตรายต่อรากพืช เช่น การใช้มูลสด ๆ ใส่ใกล้โคนปลูกพืช และการใช้มูลที่มีทั้งอุจจาระและปัสสาวะสัตว์ปน โดยไม่มีการเจือจาง จะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาได้เนื่องจากความเค็มของกรดในน้ำปัสสาวะ
12. ต้องใช้ค่าใช้จ่ายในการขนย้ายและการใส่มากกว่า
อ้างอิง
href="http://www.actorganic-cert.or.th/
http://www.fao.org/organicag/oa-faq/oa-faq1/en/
http://en.wikipedia.org/wiki/Organic_farming
http://www.doae.go.th/spp/biofertilizer/or3.htm
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น