โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในญี่ปุ่น

พอโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ เมื่องฟูกูชิมะ (Fukushima) ของญี่ปุ่นระเบิด ก็มีคำถามว่า แล้วสารกัมมันตรังสีที่ฟุ้งกระจายออกมา จะมาถึงเมืองไทยหรือไม่ บางคนบอกว่า อย่าออกไปตากฝน มิฉะนั้นจะเป็นอันตราย

คำตอบก็คือ ไม่น่าจะต้องวิตกมากจนเกินไป สารกัมมันตรังสีไม่น่าจะมาถึงเมืองไทย จากการให้สัมภาษณ์ของ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ยืนยันว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ระเบิดในประเทศญี่ปุ่น ไม่กระทบประเทศไทยแน่ เนื่องจากทิศทางลมไม่มุ่งเข้าสู่ประเทศไทย แต่พาออกไปสู่มหาสมุทรแปซิฟิก ไปทางฝั่งประเทศอเมริกา และการตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีในประเทศไทยจาก 8 สถานีเฝ้าระวังภัยทางรังสีของประเทศไทยทั่วประเทศ พบว่า ค่าดัชนีที่วัดได้ยังอยู่ในระดับปกติเช่นเดียวกับก่อนเกิดเหตุโรงไฟฟ้าระเบิดที่ญี่ปุ่น

นอกจากนี้ นายปรีชา การสุทธิ์ อดีตนายกสมาคมนิวเคลียร์ กล่าวว่า สารเคมีที่ระเบิดออกมาจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นกระจายไปทางทิศทางตะวันออกเฉียงเหนือ เเถบแคนนาดาและอเมริกา ที่สำคัญสารเคมีดังกล่าวมีอายุสั้นเพียง 1 เดือน ก็จะสลายตัวไปในอากาศจนหมด จึงไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชานและสิ่งแวดล้อม

การสัมผัสโดยตรงกับสารกัมมันรังสีโดยตรง ในประเทศไทย คิดว่าคงไม่มี แต่โดยทางอ้อมที่จะมากับอาหารและสิ่งปนเปื้อนอื่น ๆ ล่ะ

ค่อยยังชั่ว ที่รัฐบาล โดยนายกอภิสิทธิ์ได้ชี้แจงว่า รัฐบาลได้สั่งการให้มีการตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนจากสารกัมมันตรังสีอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางอากาศ อาหาร และบุคคล

อย่างนี้ก็พอหายใจโล่งอกไปได้หน่อยนึง

ในอเมริกาเอง ก็มีการวัดสารกัมมันตรังสี รายงานของ EPA อเมริกา เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2554 รายงานว่า หลังจากการระเบิดของโรงไฟฟ้าที่ญี่ปุ่น มีการตรวจสารกัมมันตรังสีในอากาศ พบว่า มีปริมาณน้อยมาก ต่ำกว่าระดับที่จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพมาก

ก็พอจะอนุมานได้ว่า คงไม่ต้องวิตกกังวลจนเกินมากไปนัก




อ้างอิง
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=5e6217f58e8c3f4f
http://www.epa.gov/radiation/
http://www.innnews.co.th/politic.php?nid=276436
http://www.phyast.pitt.edu/~blc/book/chapter5.html
http://region2.prd.go.th/ewt_news.php?nid=5243&filename=letgogreen
http://campus.sanook.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B5-935043.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์