มะเขือเทศ
มะเขือเทศ ใช้ทำอาหารหลายอย่าง โดยเฉพาะส้มตำ ขาดมะเขือเทศไม่ได้เลย มะเขือเทศมีประโยชน์ มีแคลอลี่ ไขมัน และโซเดียม ต่ำ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง และหัวใจวายได้
ในมะเขือเทศมีสารอาหารหลายอย่าง เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปแตสเซี่ยม เหล็ก Lycopene (ต้านอนุมูลอิสระ) ฟอสฟอรัส และ กำมะถัน เป็นต้น
จะเห็นว่า มะเขือเทศมีประโยชน์มาก มาปลูกมะเขือเทศรับประทานกันดีกว่า
การปลูกมะเขือเทศ
การปลูกมะเขือเทศ ทำได้ 2 วิธี
สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 แถว ระยะระหว่างต้น 25-50 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่น จะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่น
ปลูกมะเขือเทศกันนะครับ
อ้างอิง
http://lifestyle.iloveindia.com/lounge/benefits-of-tomato-1491.html
http://www.ku.ac.th/e-magazine/may47/agri/tomato.html
http://mis.hrdi.or.th/inforcenter/(S(brcyiwfgohy0m155sfqtl3ri))/xml_km/shdet.aspx?mnuid=60
ในมะเขือเทศมีสารอาหารหลายอย่าง เช่น วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินเค เส้นใยอาหาร คาร์โบไฮเดรท โปแตสเซี่ยม เหล็ก Lycopene (ต้านอนุมูลอิสระ) ฟอสฟอรัส และ กำมะถัน เป็นต้น
- สารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidants) ในมะเขือเทศ ช่วยขจัดสารพิษ (toxic compounds) ออกจากร่างกาย
- Lycopene ช่วยทำให้อนุมูลอิสระ (free radicals) มีความเป็นกลาง หมดฤทธิ์ในการทำลายเซลล์อื่น ๆ ทำให้ลดความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก (prostate cancer)
- ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศดิบ จะมีความเสี่ยงน้อยต่อมะเร็งลำไส้
- มะเขือเทศ ต้านทานผลของ nitrosamines ทำให้ลดความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลว
- วิตามินเค ในมะเขือเทศ ทำให้กระดูกแข็งแรง ป้องกันภาวะ hemorrhages รุนแรงเนื่องจากมีเลือดออกอย่างต่อเนื่อง วิตามินเค ช่วยให้เลือดแข็งตัว และปกป้องหัวใจ
- ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศดิบ จะทำให้ผิวสวย ผ่องใส
- มะเขือเทศมีคุณสมบัติในการฟอกเลือด ทำให้เลือดบริสุทธิ์
- มะเขือเทศดีสำหรับตับ ช่วยป้องกันโรคตับแข็ง (cirrhosis) อีกทั้งยังสามารถละลายนิ่ว (gallstones) ได้อีกด้วย
- มะเขือเทศเป็นยาฆ่าเชื้อตามธรรมชาติ สามารถช่วยป้องกันอาการอักเสบได้หลายอย่าง
- กรด Nicotinic ในมะเขือเทศ ลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ ซึ่งเป็นผลดีต่อหัวใจ
- สามารถใช้มะเขือเทศพอกเพื่อ
- จากการวิจัยพบว่า ผู้ที่รับประทานมะเขือเทศ หรือผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ ช่วยลดความเสี่ยงโรค macular degenerative disease ซึ่งอาจจะทำให้ดวงตาบอดได้
- มะเขือเทศสามารถใช้พอกบริเวณที่ถูกแดดไหม้ หรือ บาดแผลได้
- มะเขือเทศป้องกันโรคท้องร่วง และช่วยลดภาวะการเคืองตา
- มะเขือเทศมีประโยชน์ต่อหญิงมีครรภ์ที่มีอาการแพ้ท้อง
- ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับ มองไม่เห็นในเวลากลางคืน (night blindness) อ้วน และ มีอาการอักเสบในทางเดินปัสสาวะ แนะนำให้รับประทานมะเขือเทศทุกวัน
จะเห็นว่า มะเขือเทศมีประโยชน์มาก มาปลูกมะเขือเทศรับประทานกันดีกว่า
การปลูกมะเขือเทศ
การปลูกมะเขือเทศ ทำได้ 2 วิธี
- เพาะกล้าแล้วย้ายปลูก โดยเตรียมแปลงกล้าอย่างประณีต ยกแปลงสูงประมาณ 1 คืบ นำปุ๋ย คอกหรือปุ๋ยหมักมาคลุกเคล้าประมาณ 1-2 บุ้งกี๋ต่อ 1 ตารางเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 30-40 กรัมหยอด ลงบนแปลงยาว 10 เมตร กว้าง 1 เมตร จะได้ต้นกล้าพอสำหรับปลูกใน พื้นที่ 1 ไร่ การหยอดเมล็ด ควรหยอดเป็นแถวห่างกันประมาณ 10 ซม.
ลึกไม่เกิน 1 ซม. เมื่อหยอดเมล็ดแล้วกลบด้วยดินผสมปุ๋ยหมัก และคลุมแปลงด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้งบาง ๆ ในช่วง 3 วันแรก รดน้ำสม่ำเสมออย่าให้ผิวหน้าดินแห้ง และถ้าแดดจัดหรือฝนตกหนักต้องคลุม แปลงด้วยผ้าไนล่อนหรือผ้าพลาสติก เพื่อป้องกันเม็ดฝนกระแทกลำต้นหรือใบเป็นรอยช้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย โรคที่ สำคัญในแปลงกล้าคือ โรคโคนเน่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อฝนตกติดต่อกันความชื้นในอากาศและที่ผิวดินสูง ป้องกันโดยนำเศษฟางหรือหญ้าที่ ใช้คลุมแปลงออกให้หมด เพื่อให้แปลงกล้าโปร่งและการระบายอากาศดี แล้วฉีดพ่นด้วยยากันรา ในช่วงที่กล้ามะเขือเทศอายุประมาณ 17-22 วัน ควรลดปริมาณน้ำที่ให้ลง และให้กล้าได้รับแสงแดดอย่างเต็มที่ต้นกล้าจะแข็งแรง เหนียว ไม่อวบฉ่ำน้ำ ซึ่งมีผลให้กล้ารอดตายมากหลังจาก ย้ายกล้า โดยทั่วไปการย้ายกล้าลงแปลงปลูกมัจะใช้กล้าอายุประมาณ 21-25 วัน หลังจากหยอดเมล็ดหรือเมื่อกล้ามีใบจริง 3-4 ใบ - หยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง ใช้ในกรณีที่สามารถให้น้ำได้ง่ายแต่จะเสียเวลาและแรงงาน ในการดูแลรักษามากกว่า อีกทั้งต้องใช้ เมล็ดพันธุ์มากขึ้นเป็น 80-100 กรัมต่อไร่
สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสม ควรใช้ระยะระหว่างแถว 1 แถว ระยะระหว่างต้น 25-50 ซม. ปลูก 1 ต้นต่อหลุม ถ้าใช้ระยะปลูกแคบจะได้ ผลผลิตต่อพื้นที่มากขึ้น แต่การควบคุมโรคและการปฏิบัติงานอื่น จะยุ่งยากขึ้นด้วย ในฤดูแล้งควรปลูกถี่ ส่วนในฤดูฝนควรใช้ระยะปลูกห่าง เนื่องจากมะเขือเทศเจริญเติบโตดี มีทรงพุ่มสูงใหญ่กว่าฤดูอื่น
ปลูกมะเขือเทศกันนะครับ
อ้างอิง
http://lifestyle.iloveindia.com/lounge/benefits-of-tomato-1491.html
http://www.ku.ac.th/e-magazine/may47/agri/tomato.html
http://mis.hrdi.or.th/inforcenter/(S(brcyiwfgohy0m155sfqtl3ri))/xml_km/shdet.aspx?mnuid=60
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น