ตัวห้ำตัวเบียน

ในวิถีเกษตรธรรมชาติ เรามีผู้ช่วยคือ ตัวห้ำและตัวเบียน มาช่วยงาน ช่วยปรับสมดุลธรรมชาติ ช่วยปราบแมลงด้วยกันเอง ทำให้พืชผักที่เราปลูกอยู่ได้ตามธรรมชาติ

ตัวห้ำตัวเบียน เป็นแมลงศัตรูธรรมชาติ ที่ช่วยสร้างความสมดุลของธรรมชาติ ตัวห้ำ คือแมลงที่กินแมลงชนิดเดียวกันเป็นอาหาร ส่วนตัวเบียนคือ แมลงที่เกาะอาศัยอยู่ในหรือนอกร่างกายของแมลงตัวอื่นและเบียดเบียนหรือดูดกินแมลงที่มันอาศัยอยู่ ในทำนองเดียวกับพยาธิหรือกาฝากนั่นเอง

ตัวห้ำ

ตัวห้ำ กินแมลงชนิดเดียวกันเองเป็นอาหาร เรียกว่าเป็นนักล่า (Predator) แบ่งออกเป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
1. พวกที่มีความว่องไว กระตือรือร้นในการออกหาเหยื่อ พวกนี้มักจะมีอวัยวะที่ตัดแปลงไปเพื่อช่วย ในการจับเหยื่อ เช่น มีขาขื่นยาวสำหรับจับเหยื่อ เช่น ตั๊กแตนตำข้าว บ้างก็มีตาใหญ่เพื่อเพิ่มความสามารถในการมองเห็นเหยื่อได้ชัดเจน เช่น แมลงปอ เป็นต้น
2. พวกที่กินเหยื่ออยู่กับที่ เช่น ด้วงเต่าลายกินเพลี้ยอ่อนซึ่งไม่มีอวัยวะดัดแปลงพิเศษแต่อย่างใด

แมลงตัวหํ้าที่มีปากแบบกัดกินจะกัดเหยื่อเป็นชิ้นๆ แล้วเคี้ยวกินเป็นอาหารเช่น ตั๊กแตนตำข้าว แมลงปอ เป็นต้น ส่วนตัวหํ้าที่มีปากแบบแทงดูดจะแทงปากเข้าไปดูดกินของเหลวต่าง ๆ ในตัวแมลงจนแห้งเหลือแต่ซากแล้วทิ้งไป เช่น มวนเพชฌฆาต

แมลงบางชนิดเป็นแมลงตัวหํ้าทั้งในระยะที่เป็นตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เช่นแมลงปอ ด้วงดิน แต่แมลงบางชนิดเป็นตัวตัวหํ้าเฉพาะตอนที่เป็นตัวอ่อน เมื่อเป็นตัวเต็มวัยจะกินนํ้าหวานหรือเกสรดอกไม้แทน เช่น แมลงวันดอกไม้ และบางชนิดก็เป็นแมลงตัวหํ้าในช่วงที่เป็นตัวเต็มวัย ในขณะที่เป็นตัวอ่อนจะกินซากสัตว์เป็นอาหาร เช่น แมลงวันหัวบุบ เป็นต้น

แมลงที่เป็นตัวห้ำ มีทั้งหมด ประมาณ 84 ชนิด เช่น แมลงปอ แมลงช้าง ด้วง ด้วงดิน ด้วงดิ่ง ด้วงเต่าลาย มวน

ตัวห้ำที่และเหยื่อของมัน

แมลงระยะที่เป็นตัวห้ำเหยื่อที่กิน
ตั๊กแตนตำข้าวตัวอ่อนและตัวเต็มวัย หนอนและแมลงชนิดต่าง ๆ
แมลงปอ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แมลงตัวเล็ก ๆ
มวนเพชฌฆาต ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แมลงชนิดต่าง ๆ
ด้วงดิน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แมลงที่อาศัยในดิน
ด้วงเต่า, เต่าลาย ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย เพลี้ยอ่อนเพลี้ยหอย
ด้วงเสือ ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แมลงชนิดต่าง ๆ
ด้วงก้นกระดก ตัวอ่อนและตัวเต็มวัย แมลงที่อาศัยในดิน
แมลงวันหัวบุบ ตัวเต็มวัย แมลงชนิดต่าง ๆ
แมลงวันดอกไม้ ตัวอ่อน เพลี้ยอ่อน ตัวอ่อนมด ปลวก
ต่อรัง ตัวเต็มวัยหาเหยื่อ มาเลี้ยงตัวอ่อนหนอนผีเสื้อ
ต่อหมาร่า ตัวเต็มวัยหาเหยื่อ มาเลี้ยงตัวอ่อนหนอนผีเสื้อ เพลี้ยอ่อน
มด ตัวเต็มวัย แมลงชนิดต่าง ๆ

ตัวเบียน
เป็นแมลงที่อาศัยผู้อื่นอยู่และเบียนเบียนแมลงตัวที่มันอาศัย ในทำนองเดียวกับกาฝาก หรือพยาธิ์ในท้องของคนเรา เรียกว่าเป็น ปาราสิต (Parasites)

แมลงตัวเบียนที่เบียดเบียนเกาะอาศัยแมลงชนิดเดียวกัน มันจะค่อย ๆ ดูดกินอาหารจากเหยื่ออย่างช้าๆ และทำให้เหยื่อตายในที่สุด ส่วน แมลงตัวเบียนที่เกาะอาศัยสัตว์ชนิดอื่น เช่น หมัด ไรไก่ หรือ เหา จะแค่ดูดเลือดและแร่ธาตุ เท่านั้น

แตนที่เป็นตัวเบียนส่วนใหญ่ตัวไม่ใหญ่มาก มีสีดำหรือน้ำตาล โดยมันจะวางไข่ในตัวแมลงชนิดอื่น แตนบางชนิด จะวางไข่ในแมลงบางชนิดเท่านั้น แตนบางชนิดวางไข่ในไข่แมลงอื่น หรือไข่แตนด้วยกันเอง แตนเบียนที่วางไข่ในไข่แมลงอื่น เรียกว่าเป็นแตนเบียนไข่แมลง (insect eggs parasite wasps) แตนเบียนที่วางไขในไข่แตนด้วยกันเอง เรียกว่า แตนคุกคู(cuckoo wasps)

ในธรรมชาติมีแมลงตัวเบียนหลายชนิดช่วยกำจัดแมลงศัตรูพืชอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราก็ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้มากยิ่งขึ้น มีการผลิตแตนเบียนหลายชนิด แล้วนำไข่ไปปล่อยในแปลงปลูกพืช เช่น แตนเบียนฝอยไตรโคแกรมม่า ซึ่งเป็นแตนเบียนไข่ของหนอนผีเสื้อหลายชนิด ในประเทศไทย ได้มีการผลิตแตนเบียนชนิดนี้ในไข่ของผีเสื้อข้าวสาร แล้วนำไปปล่อยในแปลงอ้อย เพื่อใช้กำจัดหนอนกอ ทำลายอ้อย นอกจากนี้มีการนำแตนเบียนจากที่หนึ่งไปปราบแมลงซึ่งกำลังระบาดอีกที่หนึ่ง ทั้งยังมีการแลกเปลี่ยนซื้อขายและจำหน่ายแตนเบียนที่เป็นประโยชน์ทางการเกษตรหลายชนิดด้วย

แมลงที่เป็นตัวเบียน มีทั้งหมดประมาณ 167 ชนิด

ตัวเบียนและเพื่อนบ้านที่มันอาศัย

ตัวเบียนเพื่อนบ้านที่มันเกาะอาศัย
แมลงวันก้นขน หนอนผีเสื้อ หนอนด้วง มวน
แมลงวันหลังลาย แมลงชนิดต่างๆ
ต่อเบียน (Ichneumons) หนอนผีเสื้อ ตัวอ่อนต่อเบียน แตนเบียน
แตนเบียน (Broconids) หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน แตนเบียน
แตนเบียนฝอย (Chalcidid) หนอนผีเสื้อ หนอนแมลงวัน
แตนเบียนไตรโคแกรมม่า (Trichogramma)ไข่ของแมลงชนิดต่าง ๆ



อ้างอิง/ที่มา
http://www.dnp.go.th/FOREMIC/WEB%20SITE2/natural_insect.php
http://www.indepthinfo.com/beneficial-insects/parasitic-wasps.htm
http://www.doae.go.th/library/html/detail/insectt/inc5.htm

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์