โฟเลต สารอาหารสำหรับทารกและหญิงมีครรภ์
โฟเลต (Folate) เป็นวิตามินในกลุ่มวิตามินบีที่ละลายน้ำได้ มีในผักสีเขียว folate มาจากภาษาละตินว่า folium หมายถึงใบไม้ โฟเลต นอกจากจะได้จากผักสีเขียวแล้ว ยังมีในอาหารอื่น ๆ อีก เช่น ผลไม้ ถั่ว มะเขือเทศ และน้ำส้ม เป็นต้น
โฟเลต ช่วยสังเคราะห์ยีนหรือสารพันธุกรรม (DNA) ให้คงรูปโครโมโซม จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ จึงจำเป็นสำหรับทารกที่กำลังเจริญเติบโต และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคโลหิตจาง และช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด
โฟเลตช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยเผาผลาญโปรตีนสำหรับร่างกาย ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยป้องกันความพิการ ไม่สมประกอบ (neural tube defects) ของทารกที่จะเกิดมาดูโลก ความพิการนี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ ในช่วงวันที่ 17-30 หลังการปฏิสนธิ ทำให้เด็กที่ออกมามีลักษณะที่ผิดปกติไปมาก จากเด็กทั่ว ๆ ไป
ร่างกายต้องการโฟเลตไม่มากในแต่ละวัน ปกติหน่วยสารอาหารทั่ว ๆ ไป มีหน่วยเป็นมิลิกรัม แต่ ความต้องการโฟเลต มีหน่วยเป็นไมโครกรัม ซึ่งน้อยกว่ามิลิกรัมอยู่ หนึ่งพันเท่า หนึ่งกรัม เท่ากับ หนึ่งล้านไมโครกรัม
คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันของคนไทย แนะนำว่า ควรบริโภคโฟเลทต่อวันดังนี้
แหล่งโฟเลท ในสัตว์พบจากตับมากที่สุด ส่วนพืชพบในผักสีเขียว ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบโฟเลทในส้ม และแคนตาลูป
มีการนำโฟเลตไปเสริมอาหารต่าง ๆ เช่น ขนมปัง โดยอยู่ในรูปของ กรดโฟลิค (folic acid)
การได้รับโฟเลตมากเกินไป จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากโฟเลตจะไปปกปิดอาการขาดวิตามิน บี12 และทำให้เกิดโรคโลหิตจาง (anemia) ได้
นั่นแสดงว่า การจะทำอะไรสักอย่าง ต้องนึกถึงความพอดีเข้าไว้ ถ้ามากเกินไปก็อาจจะไม่ดีได้ เหมือนคำฝรั่งที่ว่า More is not necessarily better.
อ้างอิง
http://ods.od.nih.gov/factsheets/folate/
http://ohioline.osu.edu/hyg-fact/5000/5553.html
http://www.wisegeek.com/what-is-folate.htm
http://www.sharecare.com/question/folate-from-food-or-supplements
http://www.elib-online.com/doctors/lady_folate1.html
โฟเลต ช่วยสังเคราะห์ยีนหรือสารพันธุกรรม (DNA) ให้คงรูปโครโมโซม จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ และการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อต่าง ๆ จึงจำเป็นสำหรับทารกที่กำลังเจริญเติบโต และหญิงที่กำลังตั้งครรภ์ ช่วยลดโอกาสการเป็นโรคโลหิตจาง และช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด
โฟเลตช่วยสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ช่วยเผาผลาญโปรตีนสำหรับร่างกาย ช่วยในการแบ่งเซลล์และการเจริญเติบโตของเซลล์ ช่วยป้องกันความพิการ ไม่สมประกอบ (neural tube defects) ของทารกที่จะเกิดมาดูโลก ความพิการนี้ อาจจะเกิดขึ้นได้ ในช่วงวันที่ 17-30 หลังการปฏิสนธิ ทำให้เด็กที่ออกมามีลักษณะที่ผิดปกติไปมาก จากเด็กทั่ว ๆ ไป
ร่างกายต้องการโฟเลตไม่มากในแต่ละวัน ปกติหน่วยสารอาหารทั่ว ๆ ไป มีหน่วยเป็นมิลิกรัม แต่ ความต้องการโฟเลต มีหน่วยเป็นไมโครกรัม ซึ่งน้อยกว่ามิลิกรัมอยู่ หนึ่งพันเท่า หนึ่งกรัม เท่ากับ หนึ่งล้านไมโครกรัม
คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันของคนไทย แนะนำว่า ควรบริโภคโฟเลทต่อวันดังนี้
ผู้ที่ต้องการโฟเลต | ปริมาณ(ไมโครกรัม) |
ทารก | 20-30 |
เด็กอายุต่ำกว่า10ปี | 40-65 |
เด็ก 10-19 ปี | 90-165 |
ผู้ใหญ่ | 150-175 |
หญิงตั้งครรภ์ | 500 |
หญิงให้นมลูก | 250 |
แหล่งโฟเลท ในสัตว์พบจากตับมากที่สุด ส่วนพืชพบในผักสีเขียว ผักโขม ผักคะน้า ส่วนผลไม้ พบโฟเลทในส้ม และแคนตาลูป
มีการนำโฟเลตไปเสริมอาหารต่าง ๆ เช่น ขนมปัง โดยอยู่ในรูปของ กรดโฟลิค (folic acid)
การได้รับโฟเลตมากเกินไป จะเกิดผลเสียต่อร่างกาย เนื่องจากโฟเลตจะไปปกปิดอาการขาดวิตามิน บี12 และทำให้เกิดโรคโลหิตจาง (anemia) ได้
นั่นแสดงว่า การจะทำอะไรสักอย่าง ต้องนึกถึงความพอดีเข้าไว้ ถ้ามากเกินไปก็อาจจะไม่ดีได้ เหมือนคำฝรั่งที่ว่า More is not necessarily better.
อ้างอิง
http://ods.od.nih.gov/factsheets/folate/
http://ohioline.osu.edu/hyg-fact/5000/5553.html
http://www.wisegeek.com/what-is-folate.htm
http://www.sharecare.com/question/folate-from-food-or-supplements
http://www.elib-online.com/doctors/lady_folate1.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น