กระเจี๊ยบ อาหารสำหรับหญิงมีครรภ์
กระเจี๊ยบ หรือผักกระเจี๊ยบ เป็นอาหารพื้นบ้านของไทย หญิงมีครรภ์ควรรับประทานเป็นอย่างยิ่ง เพราะในกระเจี๊ยบมีกรดโฟลิค (folic acid) ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสมองของทารกในครรภ์มารดา ในช่วงสัปดาห์ที่ 4-12 นับแต่การปฏิสนธิ
กระเจี๊ยบเป็นพืชผักที่มีมาแต่โบราณ พบว่ามีปลูกในประเทศเอธิโอเปีย เป็นเวลากว่า 3,500 ปี มาแล้ว เป็นพืชท้องถิ่นแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกาตอนเหนือ และตะวันออกกลาง
ยางเมือกเหนียว (mucilage) และเส้นใยของกระเจี๊ยบ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด โดยการดูดซึมภายในลำไส้เล็ก เส้นใยอาหารของกระเจี๊ยบ ช่วยบำรุงรักษาระบบทางเดินอาหาร ช่วยดูดซับน้ำ คอเลสเตอรอบส่วนเกิน และช่วยไม่ให้ท้องผูกได้อีกด้วย บำรุงรักษากระเพาะและลำไส้
สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก กระเจี๊ยบเป็นยอดอาหารการลดน้ำหนัก
การปรุงอาหารไม่ควรให้สุกจนเกินไป เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหาร โดยเฉพาะยางเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบก็จะสูญเสียไปด้วย
กระเจี๊ยบช่วยส่งเสริมแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ (probiotics) และช่วยสังเคราะห์วิตามินบีรวม อีกด้วย
ว่ากันว่า กระเจี๊ยบช่วยให้ผมมีสปริง โดยหั่นกระเจี๊ยบตามขวาง แล้วต้มแล้วทำให้เย็นแล้วเติมมะนาวนิดหน่อยลงไป นำไปสระผมเป็นน้ำสุดท้าย จะทำให้ผมมีสปริงกลับสู่วัยสาวอีกครั้ง
ที่สำคัญ ในเมล็ดของกระเจี๊ยบมีโปรตีนชั้นดี ซึ่งเป็นโปรตีนที่ได้จากพืช นอกจากนั้น ในกระเจี๊ยบยังมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เหล็ก แคลเซี่ยม แมงกานีส และแมกนีเซียม เป็นต้น
กระเจี๊ยบเป็นพืชปลูกง่าย ปลูกไว้ในสวนครัวหลังบ้าน ไม่นานก็มีผลผลิตให้รับประทานการ และสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 6 เดือนทีเดียว
การปลูกกระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักที่ปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกและเติบโตคือ 20-30 องศาเซลเซียส กระเจี๊ยบเขียวเติบโตได้ดี ในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีน้ำขังแฉะหรือระบายน้ำยากและดินที่เป็นกรดจัด กระเจี๊ยบเขียวเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง
การเตรียมดินมีความสำคัญมาก ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสม
การปลูกโดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกจำนวน 1-2 ต้นต่อหลุม
กระเจี๊ยบเขียวชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ
เนื่องจากระยะเวลาในการปลูกยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
แมลงศัตรูของกระเจี๊ยบ
ศัตรูที่สำคัญของกระเจี๊ยบ มีหลายอย่าง เช่น หนอนกระทู้หอม (หนอนหลอดหอม หนอนหอม หนอนหนังเหนียว)หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และ หนอนคืบ เป็นต้น
การกำจัด ถ้าปลูกเป็นผักสวนครัว ใช้วิธีกลเป็นดีที่สุด คือหมั่นดูแลรักษา เมื่อเห็นมีหนอนมารบกวน ก็หยิบออก หรือกำจัดเสีย จะได้ไม่มีศัครูพืชมารบกวน โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟ มีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีขนาดไม่เกิน 1.5 ซม. เพลี้ยไปตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายพืชโดยใช้ปากเขี่ยดูดน้ำเลี้ยงที่ฝักทำให้กระเจี๊ยบมีตำหนิ และเป็นปุ่มปม เสียคุณภาพ
ภาพเพลี้ยไปเข้าทำลายกระเจี๊ยบ
อ้างอิง
http://ezinearticles.com/?Okra-And-Its-Health-Benefits&id=785073
http://www.buzzle.com/articles/okra-nutrition.html
http://www.doae.go.th/library/html/veget_all.html
กระเจี๊ยบเป็นพืชผักที่มีมาแต่โบราณ พบว่ามีปลูกในประเทศเอธิโอเปีย เป็นเวลากว่า 3,500 ปี มาแล้ว เป็นพืชท้องถิ่นแถบลุ่มแม่น้ำไนล์ ทวีปแอฟริกาตอนเหนือ และตะวันออกกลาง
ยางเมือกเหนียว (mucilage) และเส้นใยของกระเจี๊ยบ ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือด โดยการดูดซึมภายในลำไส้เล็ก เส้นใยอาหารของกระเจี๊ยบ ช่วยบำรุงรักษาระบบทางเดินอาหาร ช่วยดูดซับน้ำ คอเลสเตอรอบส่วนเกิน และช่วยไม่ให้ท้องผูกได้อีกด้วย บำรุงรักษากระเพาะและลำไส้
สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก กระเจี๊ยบเป็นยอดอาหารการลดน้ำหนัก
การปรุงอาหารไม่ควรให้สุกจนเกินไป เพราะจะทำให้สูญเสียคุณค่าทางอาหาร โดยเฉพาะยางเมือกเหนียวของกระเจี๊ยบก็จะสูญเสียไปด้วย
กระเจี๊ยบช่วยส่งเสริมแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ (probiotics) และช่วยสังเคราะห์วิตามินบีรวม อีกด้วย
ว่ากันว่า กระเจี๊ยบช่วยให้ผมมีสปริง โดยหั่นกระเจี๊ยบตามขวาง แล้วต้มแล้วทำให้เย็นแล้วเติมมะนาวนิดหน่อยลงไป นำไปสระผมเป็นน้ำสุดท้าย จะทำให้ผมมีสปริงกลับสู่วัยสาวอีกครั้ง
ที่สำคัญ ในเมล็ดของกระเจี๊ยบมีโปรตีนชั้นดี ซึ่งเป็นโปรตีนที่ได้จากพืช นอกจากนั้น ในกระเจี๊ยบยังมีแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย เช่น เหล็ก แคลเซี่ยม แมงกานีส และแมกนีเซียม เป็นต้น
กระเจี๊ยบเป็นพืชปลูกง่าย ปลูกไว้ในสวนครัวหลังบ้าน ไม่นานก็มีผลผลิตให้รับประทานการ และสามารถให้ผลผลิตได้นานถึง 6 เดือนทีเดียว
การปลูกกระเจี๊ยบ
กระเจี๊ยบเขียวเป็นผักที่ปลูกได้ตลอดปีในประเทศไทย อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกและเติบโตคือ 20-30 องศาเซลเซียส กระเจี๊ยบเขียวเติบโตได้ดี ในดินเกือบทุกชนิด แต่ไม่ชอบดินที่มีน้ำขังแฉะหรือระบายน้ำยากและดินที่เป็นกรดจัด กระเจี๊ยบเขียวเจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินร่วนระบายน้ำดี ไม่ชอบความชื้นมากเกินไป ในกรณีที่ระดับน้ำใต้ดินสูงหรือปลูกในฤดูฝนต้องยกร่องสูง
การเตรียมดินมีความสำคัญมาก ดินปลูกต้องร่วนซุยไม่แน่น การพรวนดินต้องลึก ใส่อินทรีย์วัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก มูลเป็ด มูลไก่ ฯลฯ และควรใส่ปูนขาว เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดด่างของดินให้เหมาะสม
การปลูกโดยทั่วไปใช้ระยะระหว่างต้นและแถว 50 x 50 เซนติเมตร ปลูกจำนวน 1-2 ต้นต่อหลุม
กระเจี๊ยบเขียวชอบความชื้นปานกลาง ในช่วงฤดูหนาวและร้อนควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้แห้ง โดยเฉพาะในช่วงออกดอก และติดฝักปริมาณการติดฝักจะขึ้นกับการปฏิบัติดูแลรักษาเป็นหลัก มากกว่าขึ้นกับพันธุ์โดยเฉพาะการให้น้ำในช่วงนี้ควรหมั่นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้การเจริญเติบของต้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ฝักมีคุณภาพดี และมีปริมาณฝักที่ได้สูง ถ้าขาดน้ำผลผลิตจะต่ำ ฝักเล็กคดงอ ไม่ได้คุณภาพ
เนื่องจากระยะเวลาในการปลูกยาวนานมาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยจึงต้องให้เพียงพอจึงจะทำให้ฝักตกและคุณภาพดี ในพื้นที่ที่มีอินทรีย์วัตถุสูง มีความอุดมสมบูรณ์ดีอยู่แล้ว โดยเฉพาะแปลงที่เคยปลูกผักกินใบมาก่อน ควรใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 ไม่จำเป็นต้องใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพราะกระเจี๊ยบเขียวมีพลังดูดซับปุ๋ยสูงมากไวต่อการทำปฏิกิริยากับปุ๋ย โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนต้องระมัดระวังมาก ถ้าใส่มากเกินไปจะทำให้ต้นเผือใบ ฝักโตเร็วเกินไป เป็นโรคและช้ำง่าย การใช้ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง อาจใช้ในช่วงแรกก่อนติดฝักและหลังจากตัดต้นเพื่อเร่งการแตกกิ่งแขนง อัตราใส่ปุ๋ยโดยปกติ 20 วันต่อครั้ง ปริมาณปุ๋ย 10-25 กิโลกรัมต่อไร่ต่อครั้ง ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน ซึ่งใช้ปุ๋ยประมาณ 75-100 กิโลกรัมต่อไร่ต่อฤดูปลูก ทั้งนี้ขึ้นกับความยาวนานของการเก็บเกี่ยวผลผลิตด้วย
แมลงศัตรูของกระเจี๊ยบ
ศัตรูที่สำคัญของกระเจี๊ยบ มีหลายอย่าง เช่น หนอนกระทู้หอม (หนอนหลอดหอม หนอนหอม หนอนหนังเหนียว)หนอนกระทู้ผัก หนอนเจาะสมอฝ้าย เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง และ หนอนคืบ เป็นต้น
การกำจัด ถ้าปลูกเป็นผักสวนครัว ใช้วิธีกลเป็นดีที่สุด คือหมั่นดูแลรักษา เมื่อเห็นมีหนอนมารบกวน ก็หยิบออก หรือกำจัดเสีย จะได้ไม่มีศัครูพืชมารบกวน โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของเพลี้ยไฟ มีลักษณะคล้ายกัน แต่ตัวอ่อนไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีขนาดไม่เกิน 1.5 ซม. เพลี้ยไปตัวอ่อนและตัวเต็มวัย จะทำลายพืชโดยใช้ปากเขี่ยดูดน้ำเลี้ยงที่ฝักทำให้กระเจี๊ยบมีตำหนิ และเป็นปุ่มปม เสียคุณภาพ
ภาพเพลี้ยไปเข้าทำลายกระเจี๊ยบ
อ้างอิง
http://ezinearticles.com/?Okra-And-Its-Health-Benefits&id=785073
http://www.buzzle.com/articles/okra-nutrition.html
http://www.doae.go.th/library/html/veget_all.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น