มะยม
มะยมเป็นไม้ยืนต้นพื้นบ้าน มีทั้งชนิดเปรี้ยวและชนิดหวาน มะยมนอกจากจะถือว่าเป็นไม้มงคล ปลูกไว้หน้าบ้าน เป็นศิริมงคล มีเสน่ห์ มหานิยม แล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารและยาด้วย
ยอดอ่อนของมะยมใช้เป็นอาหารได้ นำมากินแทนผัก จิ้มน้ำพริก กินกับลาบ ส้มตำ เอาไปแกงคั่ว แกงเลียงก็ได้ ผลมะยมแก่จะมีสีค่อนข้างขาว กินกับเกลืออร่อยมาก แถมยังเอาไปเชื่อมเป็นมะยมเชื่อมก็อร่อยไม่แพ้กัน หรือจะนำมาทำส้มตำก็ได้
คุณค่าทางอาหารของมะยม
มะยมให้ วิตามินซี โปรตีน คาร์โบไฮเดรท เบต้า-แครอทีน และไขมัน
สรรพคุณทางยา
แก้ผดผื่นคัน : ใช้ราก 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือด 5 - 10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่น ใช้แช่อาบ ควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าว ทาวันละ 2 - 3 ครั้ง
ยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ : ใช้ผลแก่ ดองในน้ำเชื่อม (น้ำสะอาด 1 ลิตร ต่อน้ำตาลทราย 3 กิโลกรัม) ดองจนครบ 3 วัน ทยอยกินทั้งเนื้อและน้ำวันละ 1 ช้อนโต๊ะไปเรื่อย ๆ
ปวดศรีษะจากความดันโลหิตสูง : ใบแก่ พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยา เติมน้ำตาลกรวดพอหวาน ต้มให้เดือดนาน 5 - 10 นาที เมื่อดื่มแล้ววัดความดันควบคู่ไปด้วย ถ้าความดันกลับสู่ระดับปกติควรหยุดกิน
ยาอดบุหรี่ : แก่น ชิ้นเท่าฝ่ามือ 3 ชิ้น ต้มกับน้ำ 1 แก้ว นาน 5 นาที ดื่มให้หมด วันละ 1 แก้ว
แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ : นำเปลือกสด ๆ ของลำต้น มาต้มรับประทาน
จากการวิจัยของ รศ. ดร. ฉวีวรรณ จั่นสกุล และคณะ พบว่า สารสกัดจากใบมะยม มีผลดังนี้
ข้อควรรู้และควรระวัง
รากมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยตำผสมกับอาหาร ถ้าคนกินจะเกิดอาการเมาและอาเจียนได้
น้ำยางจากเปลือกรากมีพิษ เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ปวดท้อง ปวดศีรษะได้
อ้างอิง
http://www.rdoapp.psu.ac.th/html/rdoen/images/stories/act/2551/psu-week2551/Sci-mayom.pdf
http://www.tungsong.com/samunpai/Drink/mayom/mayom.html
ยอดอ่อนของมะยมใช้เป็นอาหารได้ นำมากินแทนผัก จิ้มน้ำพริก กินกับลาบ ส้มตำ เอาไปแกงคั่ว แกงเลียงก็ได้ ผลมะยมแก่จะมีสีค่อนข้างขาว กินกับเกลืออร่อยมาก แถมยังเอาไปเชื่อมเป็นมะยมเชื่อมก็อร่อยไม่แพ้กัน หรือจะนำมาทำส้มตำก็ได้
คุณค่าทางอาหารของมะยม
มะยมให้ วิตามินซี โปรตีน คาร์โบไฮเดรท เบต้า-แครอทีน และไขมัน
สรรพคุณทางยา
แก้ผดผื่นคัน : ใช้ราก 1 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ 10 ลิตร ต้มให้เดือด 5 - 10 นาที ทิ้งไว้ให้อุ่น ใช้แช่อาบ ควบคู่ไปกับการใช้รากฝนกับน้ำซาวข้าว ทาวันละ 2 - 3 ครั้ง
ยาบำรุงโลหิต ยาอายุวัฒนะ : ใช้ผลแก่ ดองในน้ำเชื่อม (น้ำสะอาด 1 ลิตร ต่อน้ำตาลทราย 3 กิโลกรัม) ดองจนครบ 3 วัน ทยอยกินทั้งเนื้อและน้ำวันละ 1 ช้อนโต๊ะไปเรื่อย ๆ
ปวดศรีษะจากความดันโลหิตสูง : ใบแก่ พร้อมก้าน 1 กำมือ ใส่น้ำพอท่วมยา เติมน้ำตาลกรวดพอหวาน ต้มให้เดือดนาน 5 - 10 นาที เมื่อดื่มแล้ววัดความดันควบคู่ไปด้วย ถ้าความดันกลับสู่ระดับปกติควรหยุดกิน
ยาอดบุหรี่ : แก่น ชิ้นเท่าฝ่ามือ 3 ชิ้น ต้มกับน้ำ 1 แก้ว นาน 5 นาที ดื่มให้หมด วันละ 1 แก้ว
แก้ไข้ทับระดู ระดูทับไข้ : นำเปลือกสด ๆ ของลำต้น มาต้มรับประทาน
จากการวิจัยของ รศ. ดร. ฉวีวรรณ จั่นสกุล และคณะ พบว่า สารสกัดจากใบมะยม มีผลดังนี้
- ลดความดันโลหิตโดยสารออกฤทธิ์โดยตรงที่หลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดคลายตัว
- ทำให้เกิดการกระจายของเม็ดเลือดแดงในเลือด
- ทำให้ลดระดับน้ำตาล และ LDL Cholesterol (คอเรสเตอรอลตัวร้าย) ในเลือด
- จากการศึกษาความเป็นพิษเฉียบพลันของสารสกัดจากใบมะยมในสัตว์ทดลอง ไม่พบความเป็นพิษแต่อย่างใด
- ลูกมะยมมีรสเปรี้ยว มีวิตามินซีเป็นองค์ประกอบสูง
ข้อควรรู้และควรระวัง
รากมีพิษ ใช้เป็นยาเบื่อสัตว์ใหญ่ โดยตำผสมกับอาหาร ถ้าคนกินจะเกิดอาการเมาและอาเจียนได้
น้ำยางจากเปลือกรากมีพิษ เมื่อกินเข้าไปจะทำให้ปวดท้อง ปวดศีรษะได้
อ้างอิง
http://www.rdoapp.psu.ac.th/html/rdoen/images/stories/act/2551/psu-week2551/Sci-mayom.pdf
http://www.tungsong.com/samunpai/Drink/mayom/mayom.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น