ความดันโลหิตสูง คืออะไร
ความดันโลหิตสูง คืออะไร
ค่าความดันโลหิตที่วัดโดยทั่วไป จะมี 2 ค่า คือ
สาเหตุของความดันโลหิต
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ที่มา
แผ่นปลิว จัดทำโดย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลโพธาราม 2554
ค่าความดันโลหิตที่วัดโดยทั่วไป จะมี 2 ค่า คือ
- ความดันโลหิตค่าบน (systemic blood pressure) ซึ่งได้จากการวัดความดันโลหิต ขณะหัวใจบีบตัวสูบฉีดโลหิตเข้าสู่หัวใจ ค่าปกติของความดันโลหิต คือ ค่าบนควรน้อยกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท
- ความดันโลหิตค่าล่าง (diastolic blood pressure) ซึ่งวัดขณะที่หัวใจเกิดการคลายตัว เพื่อรับโลหิตเข้าสู่หัวใจ ค่าความดันโบหิตตัวล่าง ควรน้อยกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท
สาเหตุของความดันโลหิต
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
- ความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ พบได้ประมาณร้อยละ 90 เชื่อว่าเกิดจากปัจจัย ใหญ่ คือ
- กรรมพันธ์ พบว่าผู้ที่มีบิดาหรือมารดาเป็นความดันโลหิตสูง มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูงได้มากกว่า ผู้ที่บิดามารดา ไม่เป็น ยิ่งกว่านั้น ผู้ที่มีทั้งบิดาและมารดา เป็นความดันโลหิตสูง จะมีความเสี่ยง ที่จะเป็นมากที่สุด ผู้สูงอายุก็มีโอกาสเป็นความดันโลหิตสูง เมื่ออายุมากขึ้น ๆ
- สิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะอ้วน เบาหวาน การรับประทานอาหารเค็ม การดื่มสุรา และสูบบุหรี่ ภาวะเครียด เป็นต้น
- ความดันโลหิตสูงชนิดที่ทราบสาเหตุ พบได้ ประมาณ ร้อยละ 10 โดยเกิดจากความผิดปกติของไต หัวใจ และหลอดเลือด ระบบประสาท และระบบต่อมไร้ท่อ เป็นต้น
- การรักษาโดยไม่ใช้ยา
คือ การปรับปรุงเปลี่ยนแปลง วิถีการดำเนินชีวิต เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด
ข้อปฏิบัติสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง - ควบคุมอาหาร การลดน้ำหนักสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด แม้ท่านจะไม่จัดว่าอ้วน แต่การลดอาหารประเภทไขมัน ก็เป็นสิ่งที่ดี
- หลีกเลี่ยง หรือลดการใช้เนย ไขมัน และน้ำมัน ในการปรุงอาหาร
- หลีกเลี่ยงอาหารทอด ให้รับประทานอาหารประเภท อบ นึ่ง ต้ม แทน รับประทานอาหารประเภท ผัก ถั่ว ผลไม้ ให้มากกขึ้น
- หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา ดื่มน้ำ กาแฟที่ไม่มีครเฟอีน นมพร่องไขมัน และน้ำผลไม้ - รับประทานอาหารที่ไม่เค็มจัด จำกัดเกลือ รับประทานเกลือแางไม่เกินวันละ 1 ช้อนชา (6 กรัม)
- หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดอารมณ์เครียด หากเป็นไปได้ พยายามเปลี่ยนสิ่งแวดล้อม ที่จะทำให้เครียดทั้งที่ทำงาน และที่บ้าน พยายามตอบสนองอย่างมีสติ และนุ่มนวลต่อสภาพที่เครียด ซึ่งท่านไม่สามารถเปลี่ยนแปลง หรือหลีกเลี่ยงได้
- หยุดสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งในปอด อัมพาต โรคหัวใจขาดเลือด และความดันโลหิตสูงได้ บุหรี่ทำให้เกิดการทำลาย และส่งเสริมการหดตัว ของหลายหลอดเลือด ทำให้เพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาต
- งด หรือ ลดการดื่มแอลกอฮอล์ ควรงด หรือดื่มในปริมาณน้อย เช่น ในวันหนึ่ง ๆ ไม่ควรดื่มสุราเกิน 60 ลบ.ซม. เบียร์ 720 ลบ.ซม. ไวน์ 240 ลบ.ซม.
- ควรออกกำลังกายแต่พอประมาณ การเดินวันละ 20-30 นาที จะช่วยท่านลดน้ำหนักได้ ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และป้องกันโรคของหลอดเลือดได้ การเริ่มออกกำลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ของท่านก่อน
- รับประทานยาให้สม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ยาชนิดใด ที่ทำให้ท่านรู้สูกไม่สบาย ควรแจ้งให้แพทย์ของท่านทราบทันที เพราะท่านอาจต้องการยาในขนาดที่ลดลง หรือเปลี่ยนยา รบประทานยาให้สม่ำเสมอ จนกว่าแพทย์จะบอกให้หยุด
- การรักษาด้วยยา
ปัจจุบันมียาลดความดันโลหิตอยู่หลายชนิด ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้เลือกใช้ยาแต่ละชนิด ให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย
ที่มา
แผ่นปลิว จัดทำโดย กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลโพธาราม 2554
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น