การใช้สูตร SUMIFS ของ Excel 2007, 2010
สูตร SUMIFS เป็นสูตรใหม่ เพิ่งมีครั้งแรกใน Excel 2007 สูตรนี้ ใช้เหมือนกับสูตร sumproduct ใน Excel 2003 แต่ใช้ง่ายกว่า
สูตร SUMIFS เป็นการรวมโดยมีเงื่อนไขมากกว่า 1 เงื่อนไข คือให้มีเงื่อนไขที่จะทดสอบได้ ตั้งแต่ 2-127 เงื่อนไขทีเดียว (ถ้ามีเพียงเงื่อนไขเดียว ก็ใช้ SUMIF ธรรมดา ที่ไม่มี S นะครับ)
ดูวิดีโอการใช้สูตร SUMIFS()
ในกรณีใดบ้างที่เราต้องใช้การรวมหลายเงื่อนไข
เช่น ต้องการรวมเงินของพนักงานขาย ที่ขายสินค้าหลายชนิด เราต้องการหาผลรวมการขายสินค้าแต่ละชนิด ของพนักงานแต่ละคน ในกรณีนี้ จะเห็นว่า มีเงื่อนไขอยู่ 2 เงื่อนไข คือ พนักงาน และ สินค้า นั่นคือ มีพนักงานอยู่หลายคน เงื่อนไขว่า จะให้รวมเงินของพนักงานคนไหน และ เงื่อนไขที่สองคือ สินค้ามีหลายชนิดต้องทราบผลรวมเงินของสินค้าชนิดไหน ส่วนสิ่งที่จะให้นำมารวมกัน ก็คือเงินที่พนักงานคนนั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) ขายสินค้านั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) นั่นเอง
รูปแบบการใช้สูตร
SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criteria1, [criteria_range2,criteria2], …)
ข้างล่างนี้คือ ตารางการขายสินค้า 2 ชนิด ของพนักงานขาย 3 คน ต่อจากตารางข้างล่างเป็นการสรุปผล โดยใช้สูตร SUMIFS
วิธีการใช้สูตร มีดังนี้
จากข้อมูลในเซลล์ A1 ถึง D8 เราต้องการหาว่า พนักงานคนไหน ขายสินค้าชนิดใด ได้รวมเป็นเงินเท่าไร
สูตร SUMIFS เป็นการรวมโดยมีเงื่อนไขมากกว่า 1 เงื่อนไข คือให้มีเงื่อนไขที่จะทดสอบได้ ตั้งแต่ 2-127 เงื่อนไขทีเดียว (ถ้ามีเพียงเงื่อนไขเดียว ก็ใช้ SUMIF ธรรมดา ที่ไม่มี S นะครับ)
ดูวิดีโอการใช้สูตร SUMIFS()
ในกรณีใดบ้างที่เราต้องใช้การรวมหลายเงื่อนไข
เช่น ต้องการรวมเงินของพนักงานขาย ที่ขายสินค้าหลายชนิด เราต้องการหาผลรวมการขายสินค้าแต่ละชนิด ของพนักงานแต่ละคน ในกรณีนี้ จะเห็นว่า มีเงื่อนไขอยู่ 2 เงื่อนไข คือ พนักงาน และ สินค้า นั่นคือ มีพนักงานอยู่หลายคน เงื่อนไขว่า จะให้รวมเงินของพนักงานคนไหน และ เงื่อนไขที่สองคือ สินค้ามีหลายชนิดต้องทราบผลรวมเงินของสินค้าชนิดไหน ส่วนสิ่งที่จะให้นำมารวมกัน ก็คือเงินที่พนักงานคนนั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) ขายสินค้านั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) นั่นเอง
รูปแบบการใช้สูตร
SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criteria1, [criteria_range2,criteria2], …)
- sum_range คือช่วงของข้อมูลที่จะให้นำมารวมกัน ถ้าเป็นกรณีข้างต้น ก็คือ ให้รวมเงินที่พนักงานขายได้
- criteria_range1 เป็นช่วงของข้อมูลที่จะนำมาเป็นเงื่อนไขแรก จากตัวอย่าง เงื่อนไขแรกคือชื่อพนักงาน ดังนั้น ช่วงของเงื่อนไขแรก ก็คือช่วงข้อมูลที่เป็นชื่อพนักงานทั้งหมด
- criteria1 ในตัวอย่างของเรา ก็คือชื่อพนักงานคนนั้น ๆ เงื่อนไขนี้ สามารถเป็นตัวเลขได้ เช่น >50 เป็นต้น ขึ้นอยู่กับลักษณะเงื่อนไขนั้น ๆ
- criteria_range2, criteria2, คือ ช่วงข้อมูล และ เงื่อนไขที่ 2 ในกรณีของเรา ก็คือ ช่วงที่เป็นสินค้า ส่วน criteria2 ก็คือสินค้าชนิดนั้น ๆ ที่ต้องการให้นำเงินมารวมกัน
วิธีการใช้สูตร มีดังนี้
จากข้อมูลในเซลล์ A1 ถึง D8 เราต้องการหาว่า พนักงานคนไหน ขายสินค้าชนิดใด ได้รวมเป็นเงินเท่าไร
- คลิกที่ เซลล์ B13 พิมพ์คำว่า =SUMIFS( และใช้เมาส์ลากช่วงข้อมูล D2:D8 ซึ่งเป็นช่วงที่จะให้รวมเงินสินค้าที่พนักงานขายได้ จากนั้นให้กด F4 เพื่อล็อคช่วงข้อมูลชุดนี้ไว้ เมื่อใช้ auto fill ลากคัดลอกข้อมูล ข้อมูลจะได้อยู่กับที่
- พิมพ์เครื่องหมายคอมม่า และระบุช่วงเงื่อนไขแรก คือช่วงที่เป็นชื่อของพนักงาน ให้ใช้เมาส์ลาก B2:B7 และกด F4 เพื่อล็อคช่วงข้อมูล
- พิมพ์เครื่องหมายคอมม่า และระบุเงื่อนไขคือชื่อของพนักงาน ให้ใช้เมาส์คลิกที่เซลล์ A13 และกด F4 สามครั้งเพื่อล็อคคอลัมน์ ไม่ให้เปลี่ยน เมื่อมีการลากคัดลอกข้อมูลโดยใช้ auto fill
- พิมพ์เครื่องหมายคอมม่า และระบุช่วงของเงื่อนไขที่ 2 ซึ่งได้แก่ช่วงข้อมูลที่เป็นรหัสสินค้า คือ C2:C8 ให้ใช้เมาส์ลากช่วงดังกล่าว และกด F4 เพื่อล็อคช่วงข้อมูลช่วงนี้
- พิมพ์เครื่องหมายคอมม่า และระบุเงื่อนไข ในเซลล์นี้เป็นการหาสินค้าที่มีรหัส 111 ดังนั้นเงื่อนไขก็คือ 111 ให้ใช้เมาส์คลิกที่เซลล์ B12 และกด F4 สองครั้ง เพื่อล็อคแถวเอาไว้ และพิมพ์เครื่องหมายวงเล็บปิด
- กด Ctrl ค้างไว้และกด Enter (เพื่อบังคับให้เซลล์ที่ Active อยู่ที่เดิม จะได้ลาก auto fill ได้สะดวก) จะได้ข้อมูลผลรวมการขายสินค้า รหัส 111 ของ มานะ
- สำหรับข้อมูลรายการสินค้าต่อไป และข้อมูลของคนต่อไป เราใช้การลาก auto fill โดยลากไปทางซ้าย ไปที่ C13 เพื่อให้ได้รายการของสินค้าตัวต่อไป จากนั้นปล่อยเมาส์ และลากลงมาถึง C15 เพื่อให้คลอบคลุมพนักงานทุกคน จะได้ข้อมูล ดังภาพ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น