โทษของถั่วเหลือง
วันก่อน ฟังวิทยุ WDCF-AM 1350 TAMPA BAY รายการ Sustainable Health ของ Lord Rudi C. Loehwing ได้ความรู้ใหม่ว่า อาหารที่ทำจากถั่ว (soy) เช่น ถั่วเหลือง โดยผ่านกระบวนการหมักดอง มีประโยชน์มากกว่าที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง อาหารจากถั่วที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง กินเข้าไปแล้ว สามารถเกิดโทษได้หมือนกัน เพราะ ถั่วเหลือง (soy) เป็น หนึ่งในแปดของกลุ่มอาหารที่มักเป็นสาเหตุก่อโรคภูมิแพ้ (Allergens) สามารถเกิดอาการแพ้ได้ทันที เช่น ไอ จาม น้ำมูกไหล ท้องร่วง ท้องเสีย เป็นต้น อาการแพ้อาจจะไม่แสดงผลในทันที แต่อาจจะแสดงหลังจากกินแล้ว หลายชั่วโมง หรือหลายวัน ก็ได้
ผมตรวจสอบกับเว็บของ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ พบว่า สินค้าสำคัญ 8 กลุ่ม ที่เป็นต้นเหตุของการก่อภูมิแพ้อาหาร 90% ได้แก่ นม ไข่ สัตว์น้ำ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือก ถั่วประเภท tree nuts ถั่วลิสง แป้งข้าวสาลี และถั่วเหลือง
ต้องยอมรับว่าเป็นความรู้ใหม่จริง ๆ ผมก็เลยต้อง Google ดู พบว่ามีการพูดถึงเรื่องนี้กันมาหลายปีแล้ว ข้อมูลเท่าที่ผมพบ มีตั้งแต่ปี 2004 (พ.ศ. 2547)
Loehwing บอกว่า เราเชื่อว่าอาหารที่มาจากถั่ว เช่น น้ำมันพืชจากถั่ว และ นมถั่วเหลือง มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ ความจริงแล้ว เป็นผลมาจากกลยุทธ์ทางการตลาดมากกว่า ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เชื่อว่า ถั่ว (soy) เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อหวังผลกำไร
Loehwing ระบุว่า ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่มีประโยชน์ ที่ผ่านการหมักดอง เช่น ซอสถั่วเหลือง (soy sauce) ที่ทำโดยวิธีธรรมชาติ และ มิโซะ (Meso)
อาหารจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักดองของไทยเรา เท่าที่นึกได้ก็มี เต้าเจี้ยวเจ้าเก่า นี่แหละครับ
Loehwing อ้างถึงหนังสือ The Whole Soy Story ของ Dr. Kaayla Daniel ว่า การกินผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่ว (soy) ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง มีผลเสียหลายอย่าง เช่น ขาดสารอาหาร (Malnutrition) ปัญหาต่อระบบการย่อยอาหาร (Digestive distress) ภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immune system breakdown) ต่อมไธรอยด์ทำงานไม่ปกติ (Thyroid dysfunction) ความเสื่อมทางเพศและการสืบพันธ์ (Reproductive disorders and Infertility) เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง (Nonfermented soy products) มีกรด phytic acid ที่สามารถไปรวมกับสารอาหารบางอย่าง เช่น ธาตุเหล็ก แล้วทำให้ต้านการดูดซึมของร่างกายในกระบวนการย่อยอาหาร
เว็บไซต์ fitday ระบุว่า โปรตีนจากถั่วที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง(Non-Fermented Soy Protein) ทำให้มีผลเสียหลายอย่าง เพราะมี goitrogens ที่ไปทำให้ต่อมไธรอยด์ทำงานได้ช้าลง ซึ่งนำไปสู่โรคมะเร็งไธรอยด์ มีกรด phytic acid ที่ไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย เช่น ธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม และ สังกะสี โดยเฉพาะ สังกะสี เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของสมอง และระบบการสืบพันธ์ อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ถั่ว (soy) ยังมี trypsin inhibitor ที่ยับยั้งไม่ให้ร่างกายย่อยโปรตีน การกินถั่ว (soy) ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง(non-fermented soy ) เป็นประจำสามารถมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้ โดยเฉพาะในเด็ก การกินถั่ว (soy) ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง (non-fermented soy ) อาจมีผลถึงชีวิตได้
โปรตีนจากถั่วที่ผ่านกระบวนการหมักดอง (Fermented soy protein) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประโยชน์ เพราะช่วย ต้านทางมะเร็ง โรคกระดูกพรุน(osteoporosis) และ โรคหัวใจและหลอดเลือด(cardiovascular diseases) ดังนั้น ถ้าต้องการให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ จึงควรรับประทานโปรตีนจากถั่วที่ผ่านการหมักดอง ละเว้นโปรตีนที่มาจากถั่วที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง(non-fermented soy protein )
อาหารจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักดอง (fermented soy) นอกจากจะไม่มีผลของกรด phytic acid แล้ว ยังเพิ่ม isoflavones ให้มากขึ้นอีกด้วย
isoflavones เป็นสารที่ช่วยบรรเทาอาการของสตรีวัยทอง ซึ่งเกิดจากการหมดประจำเดือน (menopause symptoms) เช่น ร้อนวูบวาบ นอกจากนี้ยังเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง isoflavones ช่วยลดการเสี่ยงโรคหัวใจ โดยต้านการเกิด plaque ที่จะอุดตันหลอดเลือด ช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก(prostate problems)ในผู้ชาย ช่วยบำรุงกระดูก ต่อต้านโรคกระดูกพรุน(osteoporosis) ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และที่ดีอีกอย่างคือ isoflavones ต่อต้านอนุมูลอิสระ
นอกจากนี้ ถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักดอง ยังมี โปรไบโอติกส์ (probiotics) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น lactobacilli ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจ ลองคลิกลิงค์ข้างล่าง และศึกษาเพิ่มเติมเอง นะครับ
สรุปว่า มากินเต้าเจี้ยวกันให้มากขึ้นนะครับ อาหารไทย ๆ ของดี มีมาแต่โบราณ แต่เพิ่งรู้ว่า มีดีมหาศาล ก็วันนี้แหละ
อ้างอิง
http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2004/08/04/fermented-soy.aspx
http://www.fitday.com/fitness-articles/nutrition/healthy-eating/the-truth-about-non-fermented-vs-fermented-soy-protein.html
http://www.isoflavones.info/
http://www.elib-online.com/doctors/food_soybean.html
http://www.acfs.go.th/km/food_allergen_us.php
http://blog.wholesoystory.com/
ผมตรวจสอบกับเว็บของ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ พบว่า สินค้าสำคัญ 8 กลุ่ม ที่เป็นต้นเหตุของการก่อภูมิแพ้อาหาร 90% ได้แก่ นม ไข่ สัตว์น้ำ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีเปลือก ถั่วประเภท tree nuts ถั่วลิสง แป้งข้าวสาลี และถั่วเหลือง
ต้องยอมรับว่าเป็นความรู้ใหม่จริง ๆ ผมก็เลยต้อง Google ดู พบว่ามีการพูดถึงเรื่องนี้กันมาหลายปีแล้ว ข้อมูลเท่าที่ผมพบ มีตั้งแต่ปี 2004 (พ.ศ. 2547)
Loehwing บอกว่า เราเชื่อว่าอาหารที่มาจากถั่ว เช่น น้ำมันพืชจากถั่ว และ นมถั่วเหลือง มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้ ความจริงแล้ว เป็นผลมาจากกลยุทธ์ทางการตลาดมากกว่า ข้อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ทำให้เชื่อว่า ถั่ว (soy) เป็นอาหารเพื่อสุขภาพเพื่อหวังผลกำไร
Loehwing ระบุว่า ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง เป็นต้น ส่วนผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองที่มีประโยชน์ ที่ผ่านการหมักดอง เช่น ซอสถั่วเหลือง (soy sauce) ที่ทำโดยวิธีธรรมชาติ และ มิโซะ (Meso)
อาหารจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักดองของไทยเรา เท่าที่นึกได้ก็มี เต้าเจี้ยวเจ้าเก่า นี่แหละครับ
Loehwing อ้างถึงหนังสือ The Whole Soy Story ของ Dr. Kaayla Daniel ว่า การกินผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่ว (soy) ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง มีผลเสียหลายอย่าง เช่น ขาดสารอาหาร (Malnutrition) ปัญหาต่อระบบการย่อยอาหาร (Digestive distress) ภูมิคุ้มกันเสื่อมถอย (Immune system breakdown) ต่อมไธรอยด์ทำงานไม่ปกติ (Thyroid dysfunction) ความเสื่อมทางเพศและการสืบพันธ์ (Reproductive disorders and Infertility) เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง (Nonfermented soy products) มีกรด phytic acid ที่สามารถไปรวมกับสารอาหารบางอย่าง เช่น ธาตุเหล็ก แล้วทำให้ต้านการดูดซึมของร่างกายในกระบวนการย่อยอาหาร
เว็บไซต์ fitday ระบุว่า โปรตีนจากถั่วที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง(Non-Fermented Soy Protein) ทำให้มีผลเสียหลายอย่าง เพราะมี goitrogens ที่ไปทำให้ต่อมไธรอยด์ทำงานได้ช้าลง ซึ่งนำไปสู่โรคมะเร็งไธรอยด์ มีกรด phytic acid ที่ไปขัดขวางการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย เช่น ธาตุทองแดง ธาตุเหล็ก แคลเซี่ยม และ สังกะสี โดยเฉพาะ สังกะสี เป็นธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของสมอง และระบบการสืบพันธ์ อีกทั้งยังช่วยป้องกันโรคเบาหวานได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ถั่ว (soy) ยังมี trypsin inhibitor ที่ยับยั้งไม่ให้ร่างกายย่อยโปรตีน การกินถั่ว (soy) ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง(non-fermented soy ) เป็นประจำสามารถมีผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกายได้ โดยเฉพาะในเด็ก การกินถั่ว (soy) ที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง (non-fermented soy ) อาจมีผลถึงชีวิตได้
โปรตีนจากถั่วที่ผ่านกระบวนการหมักดอง (Fermented soy protein) ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีประโยชน์ เพราะช่วย ต้านทางมะเร็ง โรคกระดูกพรุน(osteoporosis) และ โรคหัวใจและหลอดเลือด(cardiovascular diseases) ดังนั้น ถ้าต้องการให้สุขภาพร่างกายสมบูรณ์ จึงควรรับประทานโปรตีนจากถั่วที่ผ่านการหมักดอง ละเว้นโปรตีนที่มาจากถั่วที่ไม่ผ่านกระบวนการหมักดอง(non-fermented soy protein )
อาหารจากถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักดอง (fermented soy) นอกจากจะไม่มีผลของกรด phytic acid แล้ว ยังเพิ่ม isoflavones ให้มากขึ้นอีกด้วย
isoflavones เป็นสารที่ช่วยบรรเทาอาการของสตรีวัยทอง ซึ่งเกิดจากการหมดประจำเดือน (menopause symptoms) เช่น ร้อนวูบวาบ นอกจากนี้ยังเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง isoflavones ช่วยลดการเสี่ยงโรคหัวใจ โดยต้านการเกิด plaque ที่จะอุดตันหลอดเลือด ช่วยป้องกันปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก(prostate problems)ในผู้ชาย ช่วยบำรุงกระดูก ต่อต้านโรคกระดูกพรุน(osteoporosis) ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง และที่ดีอีกอย่างคือ isoflavones ต่อต้านอนุมูลอิสระ
นอกจากนี้ ถั่วเหลืองที่ผ่านกระบวนการหมักดอง ยังมี โปรไบโอติกส์ (probiotics) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น lactobacilli ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมสารอาหารของร่างกาย อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจ ลองคลิกลิงค์ข้างล่าง และศึกษาเพิ่มเติมเอง นะครับ
สรุปว่า มากินเต้าเจี้ยวกันให้มากขึ้นนะครับ อาหารไทย ๆ ของดี มีมาแต่โบราณ แต่เพิ่งรู้ว่า มีดีมหาศาล ก็วันนี้แหละ
อ้างอิง
http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2004/08/04/fermented-soy.aspx
http://www.fitday.com/fitness-articles/nutrition/healthy-eating/the-truth-about-non-fermented-vs-fermented-soy-protein.html
http://www.isoflavones.info/
http://www.elib-online.com/doctors/food_soybean.html
http://www.acfs.go.th/km/food_allergen_us.php
http://blog.wholesoystory.com/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น