การวิเคราะห์ข้อสอบ ด้วย Excel 2010
ครูกับข้อสอบเป็นของคู่กัน ครูดีต้องรู้จักการวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อให้ได้ข้อสอบที่ดี และถ้าวิเคราะห์แล้วเก็บข้อสอบที่ดี ๆ ไว้ใช้งาน ก็จะทำให้ประหยัดได้ทั้งเวลา มีข้อสอบที่ดีให้เลือกใช้ได้อย่างรวดเร็ว
การวิเคราะห์ข้อสอบ เป็นกระบวนการหาคุณภาพของข้อสอบ โดยการพิจารณาเป็นรายข้อ ว่า ข้อสอบแต่ละข้อที่ออกนั้นมีความยากง่าย และสามารถแยกแยะนักเรียนอ่อนออกจากนักเรียนเก่งได้มากเพียงใด
ข้อสอบที่มีค่าความยากมาก ๆ หรือง่ายมาก ๆ เป็นข้อสอบที่ไม่ควรนำมาใช้งาน หรือข้อสอบที่เด็กอ่อนตอบถูกกันมาก แต่เด็กเก่งตอบผิดกันมาก เรียกว่าไม่มีค่าอำนาจจำแนก ข้อสอบประเภทนี้ก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน
ส่วนคุณภาพของข้อสอบทั้งฉบับต้องพิจารณา ความเชื่อมั่น ( reliability ) ความเที่ยงตรง ( validity )
ความเทียงตรง ( validity ) เป็นการตรวจสอบว่า ข้อสอบมีความสมบูรณ์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาหลักสูตร ครอบคลุมทุกจุดประสงค์หรือไม่ ซึ่งอาจจะใช้ผู้รู้ หรือครูที่สอนวิชานั้น ๆ มาช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหา จัดทำเป็นผังข้อสอบ สำหรับการนำไปออกข้อสอบ และเมื่อได้ข้อสอบแล้วก็มาช่วยกันวิเคราะห์ว่า ข้อสอบนั้น ๆ เป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่อย่างไร
ส่วนความเชื่อมั่น ( reliability )หรือบางตำราอาจจะบอกว่า เป็นความเที่ยง ซึ่งทำความปวดหัวเรื่องการใช้คำมาก ทำให้สับสบว่า ความเที่ยง ความตรงมันต่างกันอย่างไร ผมว่า เอาง่าย ๆ เรียกมันว่า ความเชื่อมั่น ( reliability ) จะดีกว่า ไม่สับสน ค่อนข้างจะแปลตรงตามภาษาอังกฤษด้วย
ความเชื่อมั่น หาได้โดยการใช้การคำนวณจากสูตรหลายสูตร แต่ที่ผมจะว่าต่อไปนี้ เป็นการใช้สูตร KR-20 เพราะค่าที่ได้จากสูตร KR-20 จะมีความเที่ยงตรง (accurate) มากกว่าสูตร KR-21 และจะมีค่ามากกว่าการใช้สูตร KR-21 เสมอ
วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบ
การใช้งาน
การแปรผล
มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอริโซน่า(Arizona State University) ได้แปรผลการวิเคราะห์ข้อสอบ ดังนี้
ค่าความยาก-ง่าย
อ้างอิง
http://www.asu.edu/uts/pdf/InterpIAS.pdf
การวิเคราะห์ข้อสอบ เป็นกระบวนการหาคุณภาพของข้อสอบ โดยการพิจารณาเป็นรายข้อ ว่า ข้อสอบแต่ละข้อที่ออกนั้นมีความยากง่าย และสามารถแยกแยะนักเรียนอ่อนออกจากนักเรียนเก่งได้มากเพียงใด
ข้อสอบที่มีค่าความยากมาก ๆ หรือง่ายมาก ๆ เป็นข้อสอบที่ไม่ควรนำมาใช้งาน หรือข้อสอบที่เด็กอ่อนตอบถูกกันมาก แต่เด็กเก่งตอบผิดกันมาก เรียกว่าไม่มีค่าอำนาจจำแนก ข้อสอบประเภทนี้ก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน
ส่วนคุณภาพของข้อสอบทั้งฉบับต้องพิจารณา ความเชื่อมั่น ( reliability ) ความเที่ยงตรง ( validity )
ความเทียงตรง ( validity ) เป็นการตรวจสอบว่า ข้อสอบมีความสมบูรณ์ถูกต้องตรงตามเนื้อหาหลักสูตร ครอบคลุมทุกจุดประสงค์หรือไม่ ซึ่งอาจจะใช้ผู้รู้ หรือครูที่สอนวิชานั้น ๆ มาช่วยกันวิเคราะห์เนื้อหา จัดทำเป็นผังข้อสอบ สำหรับการนำไปออกข้อสอบ และเมื่อได้ข้อสอบแล้วก็มาช่วยกันวิเคราะห์ว่า ข้อสอบนั้น ๆ เป็นไปตามจุดประสงค์หรือไม่อย่างไร
ส่วนความเชื่อมั่น ( reliability )หรือบางตำราอาจจะบอกว่า เป็นความเที่ยง ซึ่งทำความปวดหัวเรื่องการใช้คำมาก ทำให้สับสบว่า ความเที่ยง ความตรงมันต่างกันอย่างไร ผมว่า เอาง่าย ๆ เรียกมันว่า ความเชื่อมั่น ( reliability ) จะดีกว่า ไม่สับสน ค่อนข้างจะแปลตรงตามภาษาอังกฤษด้วย
ความเชื่อมั่น หาได้โดยการใช้การคำนวณจากสูตรหลายสูตร แต่ที่ผมจะว่าต่อไปนี้ เป็นการใช้สูตร KR-20 เพราะค่าที่ได้จากสูตร KR-20 จะมีความเที่ยงตรง (accurate) มากกว่าสูตร KR-21 และจะมีค่ามากกว่าการใช้สูตร KR-21 เสมอ
วิธีการวิเคราะห์ข้อสอบ
การวิเคราะห์ข้อสอบอย่างง่าย สามารถทำได้ด้วยมือ คือเอาข้อสอบที่ตรวจแล้ว มาแยกแยะว่า นักเรียนแต่ละคนเลือกตอบอย่างไร ได้คะแนนเท่าไร แล้วนำมาเข้าสูตร
แต่ถ้ามีนักเรียนจำนวนมาก หรือต้องการความรวดเร็วแม่นยำ ต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วย ซึ่งมีอยู่หลายโปรแกรม
โปรแกรม Excel 2010 เป็นโปรแกรมแกรมหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อสอบได้ดี
ผมได้ใช้ Excel 2010 มาสร้างโปรแกรมสำหรับวิเคราะห์ข้อสอบ เพื่อให้ทำได้รวดเร็ว ผู้ใช้เพียงกรอกตัวเลือกคำตอบของนักเรียนแต่ละคน กำหนดข้อเฉลยที่ถูก และกดปุ่ม โปรแกรมจะวิเคราะห์ข้อสอบให้ทันที โดยใช้สูตร KR-20 สามารถใช้ได้ถึง 2,000 ฉบับ แต่ละฉบับมีจำนวนข้อสอบไม่เกิน 200 ข้อ ซึ่งมากพอสำหรับครูที่จะใช้งานได้ตามปกติเลยนะครับ
การใช้งาน
การแปรผล
มหาวิทยาลัยแห่งรัฐอริโซน่า(Arizona State University) ได้แปรผลการวิเคราะห์ข้อสอบ ดังนี้
ค่าความยาก-ง่าย
- ถ้าค่าความยาก-ง่ายมีค่าเท่ากับ 1 แสดงว่าทุกคนตอบถูกหมด
- ข้อสอบที่ต้องการวัดด้านเนื้อหาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ควรมีค่าความยาก-ง่ายสูง
- ข้อสอบที่ต้องการวัดผลสัมฤทธิ์โดยรวม ควรมีค่าความยาก-ง่าย ระหว่าง 0.3 - 0.7
- ค่าอำนาจจำแนกที่ติดลบ แสดงว่า นักเรียนอ่อนทำได้ถูกมากกว่านักเรียนเก่ง
- ค่าอำนาจจำแนกที่เป็น 0 แสดงว่า นักเรียนอ่อนและนักเรียนเก่ง ตอบถูกเท่ากัน
- ข้อสอบที่ยากมาก หรือง่ายมาก มีผลต่ออำนาจจำแนก คือจำแนกไม่ค่อยได้
- ค่าอำนาจจำแนกที่ดี ควรอยู่ระหว่าง 0.3 - 0.7
- ค่าความเชื่อมั่นจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 - 1 ค่าน้อยแสดงว่า ความสัมพันธ์กันระหว่างข้อของข้อสอบมีน้อย
- ข้อสอบที่ดี ควรมีค่าความเชื่อมันระหว่าง 0.8 - 0.85
อ้างอิง
http://www.asu.edu/uts/pdf/InterpIAS.pdf
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบขอบคุณค่ะ
ตอบลบ