stroke โรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์
Stroke มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัมพาต อัมพฤกษ์ เส้นเลือดอุดตัน เป็นต้น
Stroke เป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่ง ในประเทศที่เจริญแล้ว โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจ เป็นโรคพบได้บ่อยในอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป (95%ของผู้ป่วยทั้งหมด) โดยประมาณสองในสามของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 65 ปี ทั้งนี้ พบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า
Stroke เกิดจากอะไร?
Stroke มีสาเหตุเกิดจาก สมองขาดเลือดทันทีภายในระยะ เวลาเป็นนาทีหรือ ชั่วโมง ซึ่งเกิดได้จาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ
โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์มีอาการอย่างไร?
การป้องกัน โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ คือ การป้องกัน/หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ที่สำคัญ คือ
http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/stroke.html
http://haamor.com/knowledge/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/article/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%95/ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์ )
Stroke เป็นโรคพบได้บ่อยโรคหนึ่ง ในประเทศที่เจริญแล้ว โรคนี้เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับสองรองจากโรคหัวใจ เป็นโรคพบได้บ่อยในอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป (95%ของผู้ป่วยทั้งหมด) โดยประมาณสองในสามของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 65 ปี ทั้งนี้ พบในผู้ชายบ่อยกว่าในผู้หญิงประมาณ 1.5 เท่า
Stroke เกิดจากอะไร?
Stroke มีสาเหตุเกิดจาก สมองขาดเลือดทันทีภายในระยะ เวลาเป็นนาทีหรือ ชั่วโมง ซึ่งเกิดได้จาก 2 สาเหตุสำคัญ คือ
- หลอดเลือดแดงสมองอุดตัน (ischemic stroke)
- หลอดเลือดแดงสมองแตก (hemorrhagic stroke)
โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์มีอาการอย่างไร?
อาการจากโรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์เป็นอาการที่เกิดทันที เป็น นาที หรือ ชั่วโมง โดยอาการขึ้นกับตำแหน่งสมองส่วนที่ขาดเลือด ซึ่งที่พบบ่อย ได้แก่
- แขน ขา ด้านเดียวกันอ่อนแรงทันที
- แขน ขาด้านเดียวกัน ใบหน้า ชา
- สับสน พูดไม่ชัด หรือ พูดไม่ได้
- อาจมีตาพร่า มองเห็นภาพไม่ชัด หรือ เห็นภาพเพียงบางส่วน หรือ เห็นภาพได้แคบลง
- อาจหายใจเหนื่อยหอบ ติดขัด
- มึนงง วิงเวียน ทรงตัวไม่ได้
- ปวดศีรษะอย่างมากทันที
- ถ้าเกิดจากมีเลือดออกในสมอง ความดันในสมองมักขึ้นสูง ส่งผลให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน
- เมื่อมีอาการมาก อาจหมดสติ โคม่า และเสียชีวิตในที่สุด
ป้องกันโรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ได้อย่างไร?
การป้องกัน โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ คือ การป้องกัน/หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวแล้ว ที่สำคัญ คือ
- ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ด้วยการไม่สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ และจำกัดอาหารไขมัน
- ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน โดย กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ ทุกวัน ในปริมาณพอควรที่ไม่ทำให้เกิดโรคอ้วน จำกัดอาหารไขมัน และอาหารแป้งและน้ำตาล
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน ในคนปกติ ประมาณ 30 นาทีต่อวัน
- ตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจ ความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือด และโรคหัวใจ เพื่อให้การรักษา ควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ
- กินยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดตามแพทย์แนะนำ
http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/stroke.html
http://haamor.com/knowledge/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/article/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%95/ (ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พญ. พวงทอง ไกรพิบูลย์ )
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น