โรคเบาหวาน
โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบมาก โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันพบว่า คนหนุ่มสาวเริ่มเป็นเบาหวานกันมากขึ้น เบาหวานเป็นโรคที่น่ากลัว แต่ป้องกันได้
คุณหมอดาเลีย อธิบายสาเหตุของโรคและการป้องกันไว้อย่างน่าสนใจ
เบาหวานเกิดจากการที่น้ำตาลในกระแสเลือดไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ในร่างกายเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ได้
คนเราได้รับน้ำตาลในรูปของคาร์โบไฮเดรท จากการรับประทานอาหารต่าง เช่น ข้าว ขนมหวาน ต่าง ๆ น้ำตาลนี้จะเข้าไปในกระแสเลือด หน้าที่ของร่างกายคือการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้ เหมือนกับการที่เราไปนั่งรอพบหมอ และเข้าห้องตรวจเพื่อพบหมอ แต่เข้าไม่ได้เพราะไม่มีกุญแจเข้าห้อง การที่น้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ได้ต้องใช้อินซูลิน ซึ่งเปรียบเสมือนกับกุญแจที่จะไขเข้าห้อง
เด็ก ๆ ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1(Type I Diabetes) คือร่างกายสร้างอินซูลไม่พอ ทำให้น้ำตาลเข้าเซลล์ในร่างกายน้อย ทำให้น้ำหนักลด ซูบผอม ต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกาย เพื่อทำหน้าที่เปิดประตูให้น้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปในเซลล์ได้
สำหรับป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type II Diabetes) จะเกิดในผู้ใหญ่ที่อายุ 20 30 ปีขึ้นไป ซึ่งร่างกายสามารถสร้างอินซูลินได้อย่างพอเพียง แต่มีปัญหาที่เกิดภาวะ ต้านอินซูลิน หรือ insulin resistance หรือ lack of insulin sensitivity คล้ายกับว่า เรามีลูกกุญแจแต่มีอะไรขวางประตูไว้ ทำให้เข้าห้องไม่ได้ ทำให้น้ำตาลเข้าสู่ผนังเซลล์ไม่ได้ สิ่งที่เป็๋นตัวต้านอินซูลินมีหลายอย่าง เช่น ไขมัน (fat) ความอ้วน (obesity) และอื่น ๆ ซึ่งทางการแพทย์มีวิธีที่จะลดภาวะการต้านอินซูลินได้
ประเด็นหลักของเรื่องก็คือ ต้องลดภาวะการต้านอินซูลิน ให้น้ำตาลสามารถเข้าสู่เซลล์ในร่างกายได้
วิธีแก้อย่างหนึ่งก็คือ ลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดลง เหมือนกับลดจำนวนผู้ป่วยที่นั่งรอพบหมอให้น้อยลง วิธีการก็คือ แก้ด้วยการรับประทานอาหารที่จะเป็นน้ำตาลให้น้อยลง
อีกอย่างหนึ่งคือการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเปรียบเสมือนกับการหล่อลื่นกุญแจให้ไขประตูได้คล่องขึ้น
โดยปกติเป็นธรรมชาติของร่างกายที่จะรักษาสมดุลของร่างกายไว้ การมีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไป เป็นอันตราย เมื่อมีความเค็มมาก ความหวานมากในกระแสเลือด ร่างกายจะแก้ด้วยการนำของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานจึงรู้สึกกระหายน้ำ แต่โชคร้าย ถ้ารู้สึกกระหายน้ำแล้วดื่มน้ำอัดลมแทน คือแทนที่จะได้น้ำไปละลายน้ำตาลให้เจือจางลง กลับเป็นการเพิ่มน้ำตาลให้มากขึ้น
นอกจากนี้ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมักจะปัสสาวะบ่อย ทั้งนี้ก็เพราะร่างกายต้องการขับน้ำตาลออกโดยผ่านทางไต และออกเป็นปัสสาวะ
ในสมัยโบราณ วิเคราะห์โรคเบาหวานโดยดูจากปัสสาวะ ถ้าปัสสาวะมีน้ำตาลแสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ปัจจุบันใช้การตรวจเลือด ถ้าผลการตรวจเลือดมีน้ำตาลเกิน 300 หมอจะมีข้อแนะนำที่ต่างจากผู้ที่มีระดับน้ำตาล 140 หมอจะแนะนำให้พบหมอตา เพราะเมื่อมีน้ำตาลในกระแสเลือดมาก ร่างกายจะพยายามนำน้ำเข้าสู่เส้นเลือด ปัญหาคือ เส้่นเลือดจะสามารถรับปริมาณน้ำได้มากเพียงใด โดยเฉพาะเส้นเลือดที่ไม่แข็งแรง อาจจะโป่งและแตกได้
เส้นเลือดที่รั่วหรือไม่แข็งแรง และมีปริมาณน้ำตาลสูงจะทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic retinopathy) ทำให้ตาบอดได้
ถ้าหลอดเลือดไม่แข็งแรง เส้นประสาท ก็จะไม่แข็งแรง เกิดการอักเสบ แบคทีเรียและเชื้อราชอบน้ำตาล การทำงานของร่างกายก็ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะการรักษาการอักเสพ แผลหายยาก อาจจะนำไปสู่การตัดแขนขาเพื่อรักษาแผลไม่ให้ลุกลามได้ในที่สุด
การป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวาน นอกจากจะระวังเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง และการออกกำลังกายแล้ว คุณหมอดาเลีย เน้นว่า ไม่ควรกินอาหารวันละมื้อเดียว เพราะการกินอาหารเพียงวันละมื้อ ทำให้ต้องกินอาหารจำนวนมาก นอกจากนี้การกินอาหารวันละมื้อ มีผลต่อตับอ่อน (Pancreas) ซึ่งทำหน้าที่สร้างอินซูลิน ตับอ่อนจะสร้างอินซูลินมากขึ้นเมื่อได้รับสัญญานจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ถ้าไม่มีสัญญญานจากกระเพาะอาหาร จึงสร้างปัญหาให้กับตับอ่อน
ในสมัยมนุษย์ยุคถ้ำ คนกินอาหารเมื่อหิว ไม่มีมื้อเช้า มื้อกลางว้น มื้อเย็น มนุษย์ออกแบบมาให้กินเมื่อหิว ดูตัวอย่างเด็กเล็ก เราป้อนอาหารให้ตลอด ทุก 2-3 ชั่วโมง ไม่เว้นช่วงเป็นมื้อ ๆ
คำแนะนำของหมอดาเลีย คือ นอกจากจะ ระมัดระวังเรื่องอาหาร แล้ว เช่น หลีกเลี่ยงอาหารพวกแป้งและน้ำตาล กินอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซี่ยม มีโปรตีน ผัก ผลไม้ แล้ว ไม่ควรกินอาหารเพียงวันละมื้อ แต่ให้ร่างกายได้รับอาหารอย่างสม่ำเสมอ
อ้างอิง
Doctor Daliah Show http://www.gcnlive.com/programs/drDaliah/archives.php ออกอากาศ January 26, 2013.
คุณหมอดาเลีย อธิบายสาเหตุของโรคและการป้องกันไว้อย่างน่าสนใจ
เบาหวานเกิดจากการที่น้ำตาลในกระแสเลือดไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ในร่างกายเพื่อให้ร่างกายสามารถนำน้ำตาลไปใช้ประโยชน์ได้
คนเราได้รับน้ำตาลในรูปของคาร์โบไฮเดรท จากการรับประทานอาหารต่าง เช่น ข้าว ขนมหวาน ต่าง ๆ น้ำตาลนี้จะเข้าไปในกระแสเลือด หน้าที่ของร่างกายคือการนำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้ เหมือนกับการที่เราไปนั่งรอพบหมอ และเข้าห้องตรวจเพื่อพบหมอ แต่เข้าไม่ได้เพราะไม่มีกุญแจเข้าห้อง การที่น้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ได้ต้องใช้อินซูลิน ซึ่งเปรียบเสมือนกับกุญแจที่จะไขเข้าห้อง
เด็ก ๆ ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1(Type I Diabetes) คือร่างกายสร้างอินซูลไม่พอ ทำให้น้ำตาลเข้าเซลล์ในร่างกายน้อย ทำให้น้ำหนักลด ซูบผอม ต้องฉีดอินซูลินเข้าร่างกาย เพื่อทำหน้าที่เปิดประตูให้น้ำตาลในกระแสเลือดเข้าไปในเซลล์ได้
สำหรับป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type II Diabetes) จะเกิดในผู้ใหญ่ที่อายุ 20 30 ปีขึ้นไป ซึ่งร่างกายสามารถสร้างอินซูลินได้อย่างพอเพียง แต่มีปัญหาที่เกิดภาวะ ต้านอินซูลิน หรือ insulin resistance หรือ lack of insulin sensitivity คล้ายกับว่า เรามีลูกกุญแจแต่มีอะไรขวางประตูไว้ ทำให้เข้าห้องไม่ได้ ทำให้น้ำตาลเข้าสู่ผนังเซลล์ไม่ได้ สิ่งที่เป็๋นตัวต้านอินซูลินมีหลายอย่าง เช่น ไขมัน (fat) ความอ้วน (obesity) และอื่น ๆ ซึ่งทางการแพทย์มีวิธีที่จะลดภาวะการต้านอินซูลินได้
ประเด็นหลักของเรื่องก็คือ ต้องลดภาวะการต้านอินซูลิน ให้น้ำตาลสามารถเข้าสู่เซลล์ในร่างกายได้
วิธีแก้อย่างหนึ่งก็คือ ลดปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดลง เหมือนกับลดจำนวนผู้ป่วยที่นั่งรอพบหมอให้น้อยลง วิธีการก็คือ แก้ด้วยการรับประทานอาหารที่จะเป็นน้ำตาลให้น้อยลง
อีกอย่างหนึ่งคือการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเปรียบเสมือนกับการหล่อลื่นกุญแจให้ไขประตูได้คล่องขึ้น
โดยปกติเป็นธรรมชาติของร่างกายที่จะรักษาสมดุลของร่างกายไว้ การมีปริมาณน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไป เป็นอันตราย เมื่อมีความเค็มมาก ความหวานมากในกระแสเลือด ร่างกายจะแก้ด้วยการนำของเหลวเข้าสู่เส้นเลือดเพิ่มขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคเบาหวานจึงรู้สึกกระหายน้ำ แต่โชคร้าย ถ้ารู้สึกกระหายน้ำแล้วดื่มน้ำอัดลมแทน คือแทนที่จะได้น้ำไปละลายน้ำตาลให้เจือจางลง กลับเป็นการเพิ่มน้ำตาลให้มากขึ้น
นอกจากนี้ผู้ป่วยด้วยโรคเบาหวานมักจะปัสสาวะบ่อย ทั้งนี้ก็เพราะร่างกายต้องการขับน้ำตาลออกโดยผ่านทางไต และออกเป็นปัสสาวะ
ในสมัยโบราณ วิเคราะห์โรคเบาหวานโดยดูจากปัสสาวะ ถ้าปัสสาวะมีน้ำตาลแสดงว่าเป็นโรคเบาหวาน ปัจจุบันใช้การตรวจเลือด ถ้าผลการตรวจเลือดมีน้ำตาลเกิน 300 หมอจะมีข้อแนะนำที่ต่างจากผู้ที่มีระดับน้ำตาล 140 หมอจะแนะนำให้พบหมอตา เพราะเมื่อมีน้ำตาลในกระแสเลือดมาก ร่างกายจะพยายามนำน้ำเข้าสู่เส้นเลือด ปัญหาคือ เส้่นเลือดจะสามารถรับปริมาณน้ำได้มากเพียงใด โดยเฉพาะเส้นเลือดที่ไม่แข็งแรง อาจจะโป่งและแตกได้
เส้นเลือดที่รั่วหรือไม่แข็งแรง และมีปริมาณน้ำตาลสูงจะทำให้เกิดโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (Diabetic retinopathy) ทำให้ตาบอดได้
ถ้าหลอดเลือดไม่แข็งแรง เส้นประสาท ก็จะไม่แข็งแรง เกิดการอักเสบ แบคทีเรียและเชื้อราชอบน้ำตาล การทำงานของร่างกายก็ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะการรักษาการอักเสพ แผลหายยาก อาจจะนำไปสู่การตัดแขนขาเพื่อรักษาแผลไม่ให้ลุกลามได้ในที่สุด
การป้องกันไม่ให้เป็นโรคเบาหวาน นอกจากจะระวังเรื่องการรับประทานอาหารให้ถูกต้อง และการออกกำลังกายแล้ว คุณหมอดาเลีย เน้นว่า ไม่ควรกินอาหารวันละมื้อเดียว เพราะการกินอาหารเพียงวันละมื้อ ทำให้ต้องกินอาหารจำนวนมาก นอกจากนี้การกินอาหารวันละมื้อ มีผลต่อตับอ่อน (Pancreas) ซึ่งทำหน้าที่สร้างอินซูลิน ตับอ่อนจะสร้างอินซูลินมากขึ้นเมื่อได้รับสัญญานจากกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก ถ้าไม่มีสัญญญานจากกระเพาะอาหาร จึงสร้างปัญหาให้กับตับอ่อน
ในสมัยมนุษย์ยุคถ้ำ คนกินอาหารเมื่อหิว ไม่มีมื้อเช้า มื้อกลางว้น มื้อเย็น มนุษย์ออกแบบมาให้กินเมื่อหิว ดูตัวอย่างเด็กเล็ก เราป้อนอาหารให้ตลอด ทุก 2-3 ชั่วโมง ไม่เว้นช่วงเป็นมื้อ ๆ
คำแนะนำของหมอดาเลีย คือ นอกจากจะ ระมัดระวังเรื่องอาหาร แล้ว เช่น หลีกเลี่ยงอาหารพวกแป้งและน้ำตาล กินอาหารที่มีประโยชน์ มีแคลเซี่ยม มีโปรตีน ผัก ผลไม้ แล้ว ไม่ควรกินอาหารเพียงวันละมื้อ แต่ให้ร่างกายได้รับอาหารอย่างสม่ำเสมอ
อ้างอิง
Doctor Daliah Show http://www.gcnlive.com/programs/drDaliah/archives.php ออกอากาศ January 26, 2013.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น