ใช้พลาสติกอย่างไรให้ปลอดภัย
พลาสติกที่ใช้ทำภาชนะ ถุง หีบห่อบรรจุอาหาร สามารถปล่อยสารพิษ โดยเฉพาะ BPA โดยเฉพาะเมื่อถูกความร้อน เช่น การต้ม นึ่ง นำเข้าไมโครเวฟ ทำให้ให้สารพิษปนเปื้อนอาหาร เมื่อรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ
BPA อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ ดังนี้
การหลีกเลี่ยงไม่ใช้ภาชนะที่ทำจากพลาสติกคงเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าทำได้ ควรหลีกเลี่ยงและใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว หรือสิ่งของธรรมชาติ เช่น ใบตอง แทนได้ก็จะเป็นการดี
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับพลาสติก การนำพลาสติกเข้าไมโครเวฟ อาหารแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง พลาสติกบางชนิด เช่น ขวดน้ำพลาสติกใส ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ภาชนะพลาสติกมีหมายเลขสัญลักษณ์รีไซเคิลพลาสติกที่พอจะดูได้ว่า มีความปลอดภัยมาก-น้อยกว่ากันได้
ถ้าพลิกดูที่ก้นของภาชนะพลาสติก จะเห็นตัวเลข ในลูกศรสามเหลี่ยม ภายในมีตัวเลข 1-7
พลาสติกที่เชื่อกันว่าปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่อการปล่อยสารพิษต่ำ ได้แก่หมายเลข 2, 4 และ 5 ส่วนหมายเลข 1 ซึ่งเป็นขวดบรรจุน้ำดื่มที่เราเรียกกันว่าขวดเพ็ด นั้น จัดเป็นพลาสติกที่ปลอดภัย แต่ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำ เพราะอาจจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้
ต่อไปจะซื้อภาชนะบรรจุอาหาร ควรพลิกดูที่ก้นภาชนะว่ามีตัวเลข 2 หรือ 4 หรือ 5 หรือไม่ ถ้าไม่มีตัวเลขอะไรเลย จะทำอย่างไร
ในขณะนี้ จริง ๆ ยังไม่มีใครฟันธงถึงผลเสียของพลาสติกที่มีต่อสุขภาพได้ชัดเจน ยังคงต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบ แต่การตั้งข้อสังเกต และมีผลการวิจัยที่ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพของเราได้
ปลอดภัยที่สุด คือการหลีกเลี่ยงการใช้่ภาชนะที่เป็นพลาสติกให้มากที่สุด หรือไม่ใช้ภาชนะพลาสติกกับความร้อน เป็นดีที่สุด
ที่มา
http://children.webmd.com/environmental-exposure-head2toe/bpa
http://www.mom2kids.com/knowledge.php?id=93
http://ecovillagegreen.com/903/what-do-the-plastic-recycling-numbers-mean/
http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-56(500)/page4-1-56(500).html
http://www.เม็ดพลาสติก.net/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81/
BPA อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของมนุษย์ ดังนี้
- มีผลต่อการสร้างฮอร์โมนของร่างกาย เป็นอุปสรรคต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ และวัยเด็ก
- มะเร็ง จากการทดลองในสัตว์พบว่า สัตว์ที่ได้รับสาร BPA มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูงกว่า
- มีผลต่อการสร้างเซลล์สมอง ระบบประสาท ความทรงจำ การเรียนรู้
- มีผลต่อฮอร์โมนการเจริญเติบโต และการสืบพันธุ์ ทำให้เด็กเป็นหนุ่มเป็นสาวเร็วเกินไป
- เด็กมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน และไฮเปอร์แอคทีฟ
- ก่อให้เกิดความเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
- ยิ่งสะสมในร่างกายมากเท่าใด ก็จะยิ่งไปลดศักยภาพการทำงานของร่างกายมากขึ้น
- ที่สำคัญคือ เด็กทารก เมื่อได้รับสาร BPA ก็จะส่งผลกระทบที่รุนแรงมากกว่าในเด็กโต หรือผู้ใหญ่
การหลีกเลี่ยงไม่ใช้ภาชนะที่ทำจากพลาสติกคงเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าทำได้ ควรหลีกเลี่ยงและใช้ภาชนะที่เป็นแก้ว หรือสิ่งของธรรมชาติ เช่น ใบตอง แทนได้ก็จะเป็นการดี
นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับพลาสติก การนำพลาสติกเข้าไมโครเวฟ อาหารแช่แข็งตามร้านสะดวกซื้อ ถ้าไม่จำเป็นควรหลีกเลี่ยง พลาสติกบางชนิด เช่น ขวดน้ำพลาสติกใส ไม่ควรนำกลับมาใช้ใหม่ เพราะทำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อย่างไรก็ตาม ภาชนะพลาสติกมีหมายเลขสัญลักษณ์รีไซเคิลพลาสติกที่พอจะดูได้ว่า มีความปลอดภัยมาก-น้อยกว่ากันได้
ถ้าพลิกดูที่ก้นของภาชนะพลาสติก จะเห็นตัวเลข ในลูกศรสามเหลี่ยม ภายในมีตัวเลข 1-7
หมายเลข 1: | โพลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (PET) ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น |
หมายเลข 2: | พอลิเอธิลีนความหนาแน่นสูง (High Density Polyethylene) ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น |
หมายเลข 3: | พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride) หรือที่รู้จักกันดีว่า พีวีซี (PVC) ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น |
หมายเลข 4: | พอลิเอทิลีนความหนาแน่นต่ำ (Low Density Polyethylene) เป็นพลาสติกที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร เป็นต้น |
หมายเลข 5: | พอลิโพรพิลีน (Polypropylene) เรียกโดยย่อว่า พีพี (PP) เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้ากระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา เป็นต้น |
หมายเลข 6: | พลาพอลิสไตรีน (Polystyrene) เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร เป็นต้น |
หมายเลข 7: | พลาสติกเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น |
พลาสติกที่เชื่อกันว่าปลอดภัย และมีความเสี่ยงต่อการปล่อยสารพิษต่ำ ได้แก่หมายเลข 2, 4 และ 5 ส่วนหมายเลข 1 ซึ่งเป็นขวดบรรจุน้ำดื่มที่เราเรียกกันว่าขวดเพ็ด นั้น จัดเป็นพลาสติกที่ปลอดภัย แต่ไม่ควรนำมาใช้ซ้ำ เพราะอาจจะเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรคได้
ต่อไปจะซื้อภาชนะบรรจุอาหาร ควรพลิกดูที่ก้นภาชนะว่ามีตัวเลข 2 หรือ 4 หรือ 5 หรือไม่ ถ้าไม่มีตัวเลขอะไรเลย จะทำอย่างไร
ในขณะนี้ จริง ๆ ยังไม่มีใครฟันธงถึงผลเสียของพลาสติกที่มีต่อสุขภาพได้ชัดเจน ยังคงต้องอาศัยข้อมูลจากการศึกษาวิจัยถึงผลกระทบ แต่การตั้งข้อสังเกต และมีผลการวิจัยที่ทำให้ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพของเราได้
ปลอดภัยที่สุด คือการหลีกเลี่ยงการใช้่ภาชนะที่เป็นพลาสติกให้มากที่สุด หรือไม่ใช้ภาชนะพลาสติกกับความร้อน เป็นดีที่สุด
ที่มา
http://children.webmd.com/environmental-exposure-head2toe/bpa
http://www.mom2kids.com/knowledge.php?id=93
http://ecovillagegreen.com/903/what-do-the-plastic-recycling-numbers-mean/
http://www.stou.ac.th/study/sumrit/1-56(500)/page4-1-56(500).html
http://www.เม็ดพลาสติก.net/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น