อาหาร GMO: ข้อดีและความเสี่ยงต่อสุขภาพ

จีเอ็มโอ (GMO)

ย่อมาจากคำภาษาอังกฤษว่า Genetically Modified Organisms (GMOs) คือ สิ่งมีชีวิตซึ่งไม่ว่าจะเป็นพืช หรือสัตว์ หรือแบคทีเรีย หรือ จุลินทรีย์ ที่ถูกดัดแปลง พันธุกรรม จากกระบวนการทาง พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering) โดยจากการตัดเอายีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มาใส่เข้าไปในยีน(gene)ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง โดยตามปกติไม่เคยผสมพันธุ์กันได้ในธรรรมชาติ เพื่อให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้น ที่มีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติตามที่ต้องการ

สิ่งมีชีวิตที่ถูกนำยีน(gene)มาใส่เข้าไปแล้วก็คือ จีเอ็มโอ(GMOs) ตัวอย่างเช่น นำยีน(gene)ทนความหนาวเย็นจากปลาขั้วโลกมาผสมกับมะเขือเทศเพื่อให้มะเขือเทศปลูกในที่ที่อากาศหนาวเย็นได้ นำยีน(gene)จากแบคทีเรียชนิดหนึ่งมาใส่ในยีน(gene)ของถั่วเหลืองเพื่อให้ถั่วเหลืองทนทานต่อยาปราบวัชพืช นำยีน(gene)จากไวรัสมาใส่ในมะละกอเพื่อให้มะละกอต้านทานโรคไวรัสใบด่างวงแหวนได้ เป็นต้น

ข้อดี
  • ทำให้อาหารมีรสดีและมีคุณภาพ การตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรม สามารถทำให้ข้าวโพดรสหวานขึ้น พริกไทเผ็ดขึ้น สามารถเก็บผักผลไม้ไว้ได้นานขึ้น ไม่เน่าเสีย เป็นต้น
  • ทำให้สามารถลดระยะเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตให้สั้นลงได้
  • สัตว์ที่ตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมมีสุขภาพดีกว่า สามารถต้านทานโรคต่าง ๆ ได้ดีกว่า
  • เพิ่มความต้านทานโรค แมลง และสารเคมีกำจัดวัชพืช(herbicides)
  • ให้ผลผลิตได้มากกว่า
  •  ประหยัด ลดการใช้ยาฆ่าแมลง เพราะพืช GMO สามารถต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูพืชได้ดีกว่า

ข้อห่วงใย
  • ด้านความปลอดภัย อาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ เช่น ผลกระทบต่อระบบสืบพันธ์ การต้านยาปฏิชีวนะของมนุษย์ แก่เร็ว การหยุดชะงักของต่อมไร้ท่อ (endocrine disruption) ตลอดจนผลกระทบอื่น ๆ ที่ยังไม่มีใครทราบ เป็นต้น
  • ด้านสิ่งแวดล้อม การตัดต่อดัดแปลงพันธุกรรมของพืชและสัตว์ที่ไม่มีในธรรมชาติอาจมีผลกระทบต่อพันธุ์พืชและสัตว์ในต่อจุลินทรีย์ต่าง ๆ เช่น จุลินทรีย์ ผลกระทบเหล่านี้ ยังไม่ทราบแน่ชัด
  • การทำให้พืชหรือสัตว์มีความต้านทานแบคทีเรีย อาจจะมีผลทำให้แบคทีเรียเข้มแข็งขึ้น กำจัดยากมากขึ้น
  • ขาดการศึกษาวิจัยผลของ GMO ที่มีต่อมนุษย์ ที่ใช้ช่วงระยะเวลาการศึกษาเป็นเวลานาน
  • การเพิ่มสิ่งแปลกปลอมในพืชหรือสัตว์ อาจจะทำให้พืชหรือสัตว์มีปฏิกริยาบางอย่าง ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
  • ยีนส์ของพืชที่ทำให้มีความต้านทานต่อสารปฏิชีวนะ อาจมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์
  • ทำให้เกิดการผูกขาดด้านการผลิตอาหาร โดยบริษัทไม่กี่บริษัท
  • เป็นการถูกต้องหรือไม่ ที่มนุษย์ไปล่วงละเมิดธรรมชาติ และผลจะเป็นอย่างไร ซึ่งยังไม่มีใครรู้
ดร.ชนินทร์ เจริญพงศ์ พูดถึงความเสี่ยงและผลกระทบของ GMO ต่อสุขภาพ ดังนี้

ความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์

  1. Inserted gene ที่สอดใส่เข้าไปอาจมีผลเสียต่อสุขภาพ
  2. Inserted gene อาจสร้างโปรตีนที่เป็นพิษต่อคนหรือสร้างโปรตีนที่ทำให้เกิดการแพ้
  3. ยีนตัวใหม่อาจเหนี่ยวนำให้เกิดสารพิษที่มีอันตรายเพิ่มขึ้น เช่น ในฝ้าย ต้องมีการประเมินว่าสารพิษgossypol มีปริมาณมากขึ้นหรือไม่
  4. inserted gene จะทำให้จุลินทรีย์ที่นำยีนเข้าไปใน host cell เพิ่มความเป็นพิษ อันตรายมากขึ้นหรือไม่
  5. inserted gene จะเคลื่อนย้ายไปสู่จุลินทรีย์ในกระเพาะอาหาร ลำไส้ หรือทางเดินอาหารของคนหรือไม่

ผลกระทบต่อสุขภาพ
  1. โรคติดต่อ (Communicable disease) ความสามารถในการติดเชื้อของเชื้อโรคเนื่องมาจาก GMOs จะต้องมีการประเมินอย่างรอบคอบ แต่ส่วนใหญ่โดยมากเชื้อโรค เช่น virus จะทำให้เกิดการติดเชื้อในพืชจำนวนจำกัดบางชนิดเท่านั้นและมักไม่ข้ามสายพันธุ์ ดังนั้นการที่ virus จากพืชจะมาติดคนมีโอกาสน้อยมาก อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า DNA ที่ได้จากพืชที่มีการตัดต่อยีนจะสามารถส่งเสริมให้เกิดการสร้าง virulence factor ที่สามารถส่งเสริมให้ virus ในพืชบางชนิด เช่น virus ที่ทำให้โรค mosaic ในกระหล่ำดอกเกิดพิษเพิ่มขึ้น
  2. การต้านสารปฏิชีวนะ (Antibiotic resistance) ต้องศึกษาถึงความเป็นไปได้ที่ antibiotic resistance gene จะสามารถ transfer จาก GMOs ไปยังแบคทีเรียในกระเพาะหรือลำไส้ โดยทางทฤษฎีแล้วเกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะ antibiotic marker gene จะเชื่อมกับ promoter gene ในพืชเท่านั้น เพื่อช่วยในการคัดเลือกพืชที่ตัดต่อยีน จึงไม่น่าทำให้เกิดการต้าน antibiotic ในแบคทีเรียขึ้น อย่างไรก็ตาม marker gene ก็สามารถหลุดเข้าไปใน cell ของ จุลินทรีย์ได้แต่ในปริมาณที่ต่ำมาก น้อยกว่า 1 ใน 10-13 ในห้องปฏิบัติการ และน้อยกว่า 1 ใน 10-16 ในแปลงทดลอง ขณะนี้การตัดต่อยีนพยายามที่จะจำกัดไม่ให้มีการใช้ marker gene ที่มี antibiotic resistance หรือแยก marker gene ออกก่อนที่จะมีการสอดใส่ DNA เข้าไปในพืช
  3. โรคไม่ติดต่อหรือโรคเรื้อรัง (Non-communicable disease or chronic disease) โรคเรื้อรังมักได้รับ อิทธิพลหลายอย่าง เช่น genetic makeup ของตนเอง แต่ละคนจะมี genetic ไม่เหมือนกัน นอกจากนี้ขึ้นอยู่กับอาหารที่ได้รับ การ expose กับสิ่งแวดล้อมหรือรังสี รวมทั้งพฤติกรรมการบริโภคบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามโอกาสน้อยมากที่พันธุกรรมของคนจะเปลี่ยนแปลงไปจากการบริโภคอาหาร GMOs ทั้งนี้มีหลักฐานว่า DNA จาก GM Food มีโอกาสน้อยมากที่จะหลุดเข้าไปใน cell ของคน
  4. ทางด้านโภชนาการ (Nutritional imbalance effects) ในการตัดแต่งพันธุกรรมอาจมีโอกาสเกิดผลที่ไม่ตั้งใจ ดังนั้นจึงต้องมีการประเมินความปลอดภัยของ GMOs ทุกชนิด
  5. การเปลี่ยนแปลงระบบภูมิคุ้มกันหรืออาการแพ้ (Altered immune response/Allergenicity) ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่นำพืชที่ได้จาก host ที่มีประวัติการแพ้มาใช้โดยเด็ดขาด ต้องมีการตรวจสอบ ปัญหาในการตรวจสอบมีข้อจำกัดเนื่องจากเราใช้การเปรียบเทียบกับ unknown allergen สำหรับ allergen ใหม่ ๆ ต้องมีการศึกษาซึ่งต้องใช้เวลานานและยากมาก
  6. ผลทางอ้อม (Indirect effects) เพราะหากมี GMOs หลุดเข้าไปในสิ่งแวดล้อมหรือปนเปื้อนในอาหารของสัตว์ และเราได้บริโภคสัตว์ที่ได้รับอาหารที่เป็น GMOs ด้วย ก็อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ
Dr Jayson & Mira Calton ในรายการ Dr.Lo Radio Show พูดถึงองค์ประกอบของอาหารที่ดี หรือ Fab14 ว่า นอกจากจะมีสารตกค้างน้อยแล้ว ยังต้องไม่เป็นอาหาร GMO พืชต้องไม่ใช้เมล็ดพันธ์ GMO หรือ ถ้าเป็นสัตว์ ก็
ต้องไม่เลี้ยงด้วยอาหาร GMO แต่ทั้ง Dr Jayson และ Mira Calton ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่า อาหาร GMO ให้ผลเสียต่อร่างกายอย่างไร แต่ระบุว่า ควรหลีกเลี่ยงอาหาร GMO อาหารที่มีข้อความว่า Non-GMO เป็นอาหารที่ปลอดภัย

สถาบันเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมของอเมริกา(the American Academy of Environmental Medicine หรือ AAEM) เรียกร้องให้แพทย์แจ้งเตือน ผู้ป่วย สังคมแพทย์ และประชาชนทั่วไป ให้หลีกเลี่ยงอาหาร GMO ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ และขอให้จัดทำเอกสาร ประชาสัมพันธ์ ให้ข่าวสารข้อมูล เกี่ยวกับอาหาร GMO และความเสี่ยงที่มีต่อสุขภาพของมนุษย์ เรียกร้องให้มีการศึกษาวิจัยทีใช้ช่วงระยะเวลานาน ในเรื่อง GMO ตลอดจนเรียกร้องให้มีการปิดฉลากบอกให้ชัดเจนว่า อาหารใดเป็น
อาหาร GMO

AAEM รายงานผลการศึกษาวิจัยในสัตว์ หลายฉบับ พบว่า มีความสัมพันธ์กันระหว่าง อาหาร GMO กับสุขภาพของสัตว์ทดลอง เช่น ด้านการสืบพันธ์ ด้านภูมิคุ้มกัน ด้านการแก่เร็ว การควบคุมอินซูลิน ตลอดจนระบบอาหารและลำไส้ เป็นต้น

ในประเทศอเมริกา แม้ว่าจะยังไม่บังคับให้ติดป้ายเครื่องหมาย GMO แต่ก็สามารถสังเกตได้จาก รหัส PLU (Price Look Up Code) ที่ติดอยู่บนพืชผักผลไม้ เช่น ถ้าขึ้นต้นด้วยเลข 3 หรือ 4 คือ อาหารที่ปลูกแบบดั้งเดิม (มีการใช้ยาฆ่าแมลงฉีดพ่นตามปกติ)  ขึ้นต้นด้วยเลข 9 คือ เป็นเกษตรอินทรีย์ หรือ เชิงชีวภาพ (Organics) แต่ถ้าขึ้นต้นด้วยเลข 8 คือ อาหาร GMO

โดยสรุป

GMO มีประโยชน์ต่อผู้ผลิตแน่นอน ทั้งบริษัทผู้ผลิตพันธ์พืช สัตว์ GMO และ เกษตรกรผู้นำพืชไปปลูกและนำสัตว์ไปเลี้ยง เพราะ ประหยัด ได้ผลผลิตที่ดี แต่ข่อเสียสำหรับเกษตรกรคือ ยังคงต้องขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต GMO เนื่องจากไม่สามารถเพาะพันธ์ขึ้นเองได้

อย่างไรก็ตาม ด้านผู้บริโภค ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า การรับประทานอาหาร GMO จะเกิดผลต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง มีเพียงข้อสงสัยแต่ขาดการศึกษาวิจัยที่ใช้ระยะเวลายาวนาน เพื่อศึกษาผลให้แน่ชัด

เรื่อง GMO เป็นธุรกิจพ้นล้าน Dr Jayson Calton บอกว่า ผู้บริหารบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์พืช ภายใต้บริษัทมอนซานโต้ ของอเมริกาท่านหนึ่ง กล่าวว่า การเอาฉลาก GMO ติดที่สินค้า ก็เปรียบเสมือน เอาตราหัวกะโหลกไขว้ ติดไว้ที่ฉลากนั่นเอง น่าจะแสดงให้เห็นว่า ชาวบ้านทั่วไปมีทัศนคติที่ไม่ดีต่ออาหาร GMO หรือ อาหาร GMO อาจจะมีพิษภัยจริง หรือ ถ้าติดฉลากไปแล้ว อาจจะทำให้ธุรกิจเสียหาย

อยากเรียกร้องไปยัง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้ช่วยทำความกระจ่างอย่างตรงไปตรงมา ปราศจากการครอบงำของธุรกิจพันล้าน หรืออย่างน้อย ออกกฎระเบียบข้อบังคับให้มีการติดฉลาก GMO เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตัดสินใจได้ว่า จะรับประทานอาหาร GMO หรือไม่



ที่มา
http://www.thaibiotech.info/
http://organic.lovetoknow.com/Pros_and_Cons_of_GMOs
http://www.ornl.gov/sci/techresources/Human_Genome/elsi/gmfood.shtml
http://www2.econ.iastate.edu/faculty/wisner/Wisner/japan%20gmo%20900%20revised.pdf
http://library.uru.ac.th/webdb/images/fda_moph_gmorisk.htm
http://www.responsibletechnology.org/doctors-warn
http://www.blogtalkradio.com/drloradio/2013/02/20/rich-food-poor-food-with-dr-jayson-mira-calton
http://fortychestnuts.com/2011/08/02/breaking-the-code-on-fruit-stickers/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์