ผลไม้จิ้มเกลือ: ภูมิปัญญาคนโบราณ
สมัยเด็ก เมื่อประมาณสัก 50 กว่าปีมาแล้ว เวลาไปเก็บมะเฟือง มะม่วงดิบมากิน จะเอากินกับเกลือเม็ดในไห เหตุผลง่าย ๆ ที่เข้าใจได้คือ ผลไม้มีรสเปรี้ยว ส่วนเกลือมีรสเค็ม พอเอามากินด้วยกัน ก็จะได้รสชาดที่พอดี
มาตอนนี้ ลองค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตดูพบว่า เกลือกับผลไม้ เป็นเนื้อคู่ที่ต้องอยู่ด้วยกัน เนื่องจาก ผลไม้ส่วนใหญ่จะมี Potassium สูง
เกลือ หรือ Sodium กับ Potassium เป็นแร่ธาตุที่ทำงานประสานกัน ร่างกายต้องมีปริมาณสัดส่วนของทั้งสองอย่าง อย่างสมดุลกัน ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง มากกว่ากันมาก จะทำให้เกิดการกำจัด (excretion) อีกอย่างหนึ่งออกจากร่างกาย เช่น ถ้ามี Potassium มาก จะทำให้ร่างกายกำจัด เกลือ หรือ Sodium ออกจากร่างกาย และถ้ามี เกลือมาก ร่างกายจะกำจัด Potassium ออกจากร่างกาย จึงต้องมีทั้งสองอย่าง ในอัตราส่วนที่สมดุลกัน
พืชผัก ผลไม้ที่มี Potassium สูง เช่น มะเฟือง กล้วย ขนุน ส้ม มะละกอดิบ ผักใบสีเขียว หน่อไม้ หัวปลี มะเขือ แตงกวา ถั่วต่าง ๆ (beans and peas) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีใน ไข่ นม และเนื้อสัตว์ อีกด้วย
Potassium ทำหน้าที่ช่วยการเต้นของหัวใจ ช่วยทำให้ผนังของหลอดเลือดไม่แข็งตัว และการทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ตลอดจนช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย ถ้าร่างกายไม่มี Potassium ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจมีปัญหา
เกลือ หรือ Sodium ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย และเกลือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูง
Potassium และ Sodium ต้องทำงานประสานกัน ช่วยให้กล้ามเนื้อและสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง Potassium และ Sodium มีงานหลายอย่างที่ทำในสิ่งเดียวกัน แต่เป็นไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่น ในขณะที่ Potassium ช่วยลดความดันโลหิต โดยการนำของเหลวจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ แต่ Sodium ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยการนำของเหลวออกจากเซลล์ เป็นต้น
ส่วนใหญ่คนมักจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องขาดเกลือ ปัญหาคือมักจะบริโภคเกลือมากเกินไปมากกว่า การได้รับเกลือมากเกินไปทำให้เกิดโทษหลายอย่างตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น เพราะฉะนั้น กินผลไม้จิ้มเกลือ ที่จิ้มเกลือมากเกินไปก็ไม่เป็นผลดีเหมือนกัน
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดแนวปฏิบัติของ WHO ระบุว่า ผู้ใหญ่ควรได้รับ Sodium วันละ 2,000 ไมโครกรัม หรือคิดเป็นเกลือ น้ำหนัก 5 กรัม และได้รับ Potassium อย่างน้อยวันละ 3,510 กรัม ถ้ารับประทานเกลือมากแต่ได้รับ Potassium น้อย จะทำให้เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือกสมอง (Stroke)
ดูอย่างนี้แล้ว อดที่จะภูมิใจในภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่จับคู่ เกลือกับผลไม้ไม่ได้ ของโบราณมักจะมีเหตุผลดี ๆ อยู่เบื้องหลังเสมอ
อ้างอิง
http://healthyeating.sfgate.com/sodium-affect-potassium-1113.html
http://healthyeating.sfgate.com/side-effects-low-potassium-low-sodium-6041.html
http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/More/MyHeartandStrokeNews/Striking-a-Balance-Less-Sodium-Salt-More-Potassium_UCM_440429_Article.jsp
http://www.who.int/mediacentre/news/notes/2013/salt_potassium_20130131/en/
http://xploreonline.blogspot.com/2011/04/potassium-in-foods.html
มาตอนนี้ ลองค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตดูพบว่า เกลือกับผลไม้ เป็นเนื้อคู่ที่ต้องอยู่ด้วยกัน เนื่องจาก ผลไม้ส่วนใหญ่จะมี Potassium สูง
เกลือ หรือ Sodium กับ Potassium เป็นแร่ธาตุที่ทำงานประสานกัน ร่างกายต้องมีปริมาณสัดส่วนของทั้งสองอย่าง อย่างสมดุลกัน ถ้ามีอย่างใดอย่างหนึ่ง มากกว่ากันมาก จะทำให้เกิดการกำจัด (excretion) อีกอย่างหนึ่งออกจากร่างกาย เช่น ถ้ามี Potassium มาก จะทำให้ร่างกายกำจัด เกลือ หรือ Sodium ออกจากร่างกาย และถ้ามี เกลือมาก ร่างกายจะกำจัด Potassium ออกจากร่างกาย จึงต้องมีทั้งสองอย่าง ในอัตราส่วนที่สมดุลกัน
พืชผัก ผลไม้ที่มี Potassium สูง เช่น มะเฟือง กล้วย ขนุน ส้ม มะละกอดิบ ผักใบสีเขียว หน่อไม้ หัวปลี มะเขือ แตงกวา ถั่วต่าง ๆ (beans and peas) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีใน ไข่ นม และเนื้อสัตว์ อีกด้วย
Potassium ทำหน้าที่ช่วยการเต้นของหัวใจ ช่วยทำให้ผนังของหลอดเลือดไม่แข็งตัว และการทำงานของกล้ามเนื้อต่าง ๆ ตลอดจนช่วยลดความดันโลหิต ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย ถ้าร่างกายไม่มี Potassium ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อและหัวใจมีปัญหา
เกลือ หรือ Sodium ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยรักษาสมดุลของของเหลวในร่างกาย และเกลือเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ความดันโลหิตสูง
Potassium และ Sodium ต้องทำงานประสานกัน ช่วยให้กล้ามเนื้อและสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้ง Potassium และ Sodium มีงานหลายอย่างที่ทำในสิ่งเดียวกัน แต่เป็นไปในทิศทางตรงข้ามกัน เช่น ในขณะที่ Potassium ช่วยลดความดันโลหิต โดยการนำของเหลวจากกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์ แต่ Sodium ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น โดยการนำของเหลวออกจากเซลล์ เป็นต้น
ส่วนใหญ่คนมักจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องขาดเกลือ ปัญหาคือมักจะบริโภคเกลือมากเกินไปมากกว่า การได้รับเกลือมากเกินไปทำให้เกิดโทษหลายอย่างตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น เพราะฉะนั้น กินผลไม้จิ้มเกลือ ที่จิ้มเกลือมากเกินไปก็ไม่เป็นผลดีเหมือนกัน
องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดแนวปฏิบัติของ WHO ระบุว่า ผู้ใหญ่ควรได้รับ Sodium วันละ 2,000 ไมโครกรัม หรือคิดเป็นเกลือ น้ำหนัก 5 กรัม และได้รับ Potassium อย่างน้อยวันละ 3,510 กรัม ถ้ารับประทานเกลือมากแต่ได้รับ Potassium น้อย จะทำให้เสี่ยงต่อความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือกสมอง (Stroke)
ดูอย่างนี้แล้ว อดที่จะภูมิใจในภูมิปัญญาของคนโบราณ ที่จับคู่ เกลือกับผลไม้ไม่ได้ ของโบราณมักจะมีเหตุผลดี ๆ อยู่เบื้องหลังเสมอ
อ้างอิง
http://healthyeating.sfgate.com/sodium-affect-potassium-1113.html
http://healthyeating.sfgate.com/side-effects-low-potassium-low-sodium-6041.html
http://www.heart.org/HEARTORG/Conditions/More/MyHeartandStrokeNews/Striking-a-Balance-Less-Sodium-Salt-More-Potassium_UCM_440429_Article.jsp
http://www.who.int/mediacentre/news/notes/2013/salt_potassium_20130131/en/
http://xploreonline.blogspot.com/2011/04/potassium-in-foods.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น