ประโยชน์จากน้ำมันมะพร้าว
ซื้อน้ำมันมะพร้าวชนิดกลั่นเย็น มา 1 ขวด ที่ตลาดน้ำบางน้อย สมุทรสงคราม เพราะเคยได้ยินกิตติศัพท์ว่า น้ำมันมะพร้าว ดีมาก คนขายก็บอกว่าดี เพื่อนที่ไปด้วยก็เชียร์ว่าดี ก็เลยซื้อมาลองกินดี รสมัน ๆ อร่อยดีเหมือนกัน ติดใจเลยฝากซื้ออีกขวด
ก็เลยหาข้อมูลดูว่า น้ำมันมะพร้าวดีอย่างไร
มีเว็บเยอะมาก เกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าว ลองค้นใน Google คำค้นว่า น้ำมันมะพร้าว กลั่นเย็น ก็จะเห็นมีข้อมูลมากมายทีเดียว
ดูไปดูมา สรุปก็คือ ยังสรุปไม่ได้ มีทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน
ฝ่ายสนับสนุน
โดยสรุปคือ น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดโมเลกุลปานกลาง (MCT) ร่างกายสามารถใช้พลังงานได้ทันที โดยเปลี่ยนเป็น ketone มีประโยชน์ต่อสมอง ช่วยรักษา Alzheimer น้ำม้ันมะพร้าวยังมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา อีกด้วย
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว
ก็เลยหาข้อมูลดูว่า น้ำมันมะพร้าวดีอย่างไร
มีเว็บเยอะมาก เกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำมันมะพร้าว ลองค้นใน Google คำค้นว่า น้ำมันมะพร้าว กลั่นเย็น ก็จะเห็นมีข้อมูลมากมายทีเดียว
ดูไปดูมา สรุปก็คือ ยังสรุปไม่ได้ มีทั้งฝ่ายสนับสนุน และฝ่ายคัดค้าน
ฝ่ายสนับสนุน
โดยสรุปคือ น้ำมันมะพร้าวมีกรดไขมันอิ่มตัวชนิดโมเลกุลปานกลาง (MCT) ร่างกายสามารถใช้พลังงานได้ทันที โดยเปลี่ยนเป็น ketone มีประโยชน์ต่อสมอง ช่วยรักษา Alzheimer น้ำม้ันมะพร้าวยังมีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา อีกด้วย
ประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว
- น้ำมันมะพร้าว มีกรดไขมัน และมีสรรพคุณทางยา สมัยก่อนคนคิดว่าน้ำมันมะพร้าวไม่ดี เพราะมีไขมันอิ่มตัว(saturated fat) มากถึงประมาณ 90% ซึ่งเข้าใจกันว่าจะไปอุดตันหลอดเลือดหัวใจ แต่ความจริงก็คือ ไขมันอิ่มตัวในน้ำมันมะพร้าวไม่เหมือนไขมันอิ่มตัวที่ได้จากสัตว์ ไขมันอิ่มตัวจากน้ำมันมะพร้าว มีความปลอดภัย ไม่เป็นอันตราย เพราะเป็นไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (Medium Chain Triglyceride / MCT) กรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่เป็นกรดไขมันขนาดยาว (Long Chain Triglyceride / LCT) ซึ่งระบบการเผาผลาญไขมันของร่างทำงานไม่เหมือนกัน ร่างกายจะส่ง ไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง จากระบบย่อยอาหารไปสู่ตับ ซึ่งร่างกายจะใช้พลังงานได้ทันที โดยเปลี่ยนเป็น ketone ซึ่งช่วยรักษาโรคอาการทางสมองหลายโรค เช่น โรคลมชัก(epilepsy) และ อัลไซเมอร์ (Alzheimer)
- มะพร้าวช่วยบำรุงสุขภาพ พบว่า ประเทศที่บริโภคมะพร้าวเป็นอาหารหลัก เช่น ชาวโตกิเลา (Tokelauans) ซึ่งอาศัยบนหมู่เกาะเล็กๆทางตอนใต้ของหมาสมุทรแปซิฟิค ซึ่งเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของ นิวซีแลนด์ มีการบริโภคไขมันอิ่มตัวจากมะพร้าวมากที่สุดในโลก และพบว่า มีสุขภาพดีมาก ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจเลย
- น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่มการใช้พลังงาน(energy expenditure)ของร่างกาย ช่วยให้เผาผลาญไขมันมากขึ้น ช่วยให้ลดความอ้วนได้ เปรียบเทียบปริมาณแครอรี่ที่เท่ากัน พบว่า กรดไขมันขนาดโมเลกุลปานกลาง(Medium Chain Triglyceride / MCT) ที่ได้จากน้ำมันมะพร้าว ช่วยเพิ่มการใช้พลังงาน(energy expenditure) ได้มากกว่ากรดไขมันขนาดยาว (Long Chain Triglyceride / LCT)
- ในน้ำมันมะพร้าวมีกรด Lauric Acid ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ทำให้ไม่เกิดการอักเสพ และในขณะที่ร่างการย่อยน้ำมันมะพร้าว จะได้ monoglyceride ซึ่งมีชื่อว่า monolaurin ซึ่งมีฤทธิ์เช่นเดียวกับ กรด Lauric Acid ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา ได้เช่นกัน (บางเว็บไซต์ บอกว่าให้อมกล้วคอประมาณ 15 นาที เพื่อฆ่าเชื้อโรคในปาก)
- น้ำมันมะพร้าวทำให้ไม่หิว อาจจะเป็นเพราะ ketone ที่ได้จากการย่อยน้ำมันมะพร้าว มีผลทำให้ไม่เจริญอาหาร ทำให้ไม่หิว
- น้ำมันมะพร้าว ช่วยลดการชัก (Seizures) ในเด็ก ซึ่งเป็นคุณประโยชน์ที่เกิดจาก Keytone ที่ได้จากน้ำมันมะพร้าว
- น้ำมันมะพร้าวช่วยเพิ่ม HDL cholesterol ซึ่งเป็นคอเลสเตอร์รอลที่มีประโยชน์ และช่วยลด LDL cholesterol ซึ่งเป็นคอเลสเตอร์รอลที่เป็นโทษ ทำให้ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้
- น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาเส้นผม ทำให้ผิวชุ่มชื่น ช่วยป้องกันแสงแดดได้ด้วย ผลจากการทดสอบ กับผู้ที่ผิวแห้ง พบว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยทำให้ผิวหนังชุ่มชื้นขึ้น
- น้ำมันมะพร้าวช่วยบำรุงสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งพบว่า ไม่สามารถใช้พลังงานจากกลูโคสในบางส่วนของสมอง ซึ่ง Keytone สามารถให้พลังงาน ที่จะไปแทนที่ในตำแหน่งสมองที่ไม่สามารถใช้พลังงานจากกลูโคสได้
- น้ำมันมะพร้าวช่วยลดไขมัน โดยเฉพาะไขมันในช่องท้อง ช่วยลดน้ำหนัก เพราะทำให้ไม่หิว รับประทานอาหารน้อยลง อีกทั้งยังช่วยในการเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น จึงช่วยให้ลดน้ำหนักได้ น้ำมันมะพร้าวจัดว่าช่วยลดไขมันรอบเอวได้มากที่สุด
กรด Lauric Acid
กรด Lauric Acid ซึ่งมีมากในน้ำมันมะพร้าว และในน้ำนมมารดา เมื่อร่างกายได้รับ จะเปลี่ยนเป็น Monolaurin ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่า ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และ จุลินทรีย์อื่น ๆ ร่างกายจะไม่สามารถสร้าง Monolaurin ถ้าไม่ได้รับกรด Lauric Acid
ฝ่ายคัดค้าน
Becky Hand นักโภชนาการ เธอเขียนบทความเรื่อง "ความจริงเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว" พอสรุปได้ ดังนี้
โดยสรุปคือ ในขณะนี้ ยังไม่มีการวิจัยที่เชื่อถือได้ ยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวให้คุณประโยชน์ด้าน ช่วยการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ช่วยลดน้ำหนัก หรือแม้แต่รักษาอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ จะไม่เป็นอันตรายต่อหัวใจ เหมือนกับไขมันแบบอื่น ๆ
กรด Lauric Acid ซึ่งมีมากในน้ำมันมะพร้าว และในน้ำนมมารดา เมื่อร่างกายได้รับ จะเปลี่ยนเป็น Monolaurin ซึ่งมีฤทธิ์ในการฆ่า ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา และ จุลินทรีย์อื่น ๆ ร่างกายจะไม่สามารถสร้าง Monolaurin ถ้าไม่ได้รับกรด Lauric Acid
ฝ่ายคัดค้าน
Becky Hand นักโภชนาการ เธอเขียนบทความเรื่อง "ความจริงเกี่ยวกับน้ำมันมะพร้าว" พอสรุปได้ ดังนี้
โดยสรุปคือ ในขณะนี้ ยังไม่มีการวิจัยที่เชื่อถือได้ ยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวให้คุณประโยชน์ด้าน ช่วยการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ช่วยลดน้ำหนัก หรือแม้แต่รักษาอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) และยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่า น้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์ จะไม่เป็นอันตรายต่อหัวใจ เหมือนกับไขมันแบบอื่น ๆ
- น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนโต๊ะ มีประมาณ 12 กรัม จะให้พลังงานจากไขมันอิ่มตัว ประมาณ 117 แคลอลี่ ซึ่งโดยปกติ เราไม่ควรได้รับปริมาณไขมันอิ่มตัวเกินวันละ 15 กรัม ซึ่งถ้าคิดรวมกับไขมันอิ่มตัวที่ได้จากอาหารอย่างอื่น จะทำให้ปริมาณไขมันอิ่มตัวที่เราบริโภคมีปริมาณเกินกว่าขีดจำกัดที่ควรได้รับในแต่ละวัน
- ที่กล่าวว่า น้ำมันมะพร้าวมีไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (Medium Chain Triglyceride / MCT) เป็นข้อมูลที่ถูกต้องเพียงครึ่งเดียว เพราะไม่มีอาหารใด ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลางเพียงอย่างเดียว แต่จะมีทั้งโมเลกุลขนาดสั้นและขนาดยาวรวมอยู่ด้วย แม้ว่าเราสามารถกลั่น MCT ได้จากน้ำมันมะพร้าว แต่น้ำมันมะพร้าวที่ซื้อในตลาด กับ MCT ที่ได้จากการกลั่น เป็นคนละส่วนกัน ไม่เหมือนกัน
- MCT oil ประกอบด้วย กรด caprylic acid (ความยาว 8 carbons) และ กรด capric acid (ความยาว 10 carbons). ซึงจัดว่าเป็นไขมันขนาดโมเลกุลปานกลาง แต่น้ำมันมะพร้าว ประกอบด้วย MCT (กรด caprylic acid และ กรด capric acid)ประมาณ 10%-15% เท่านั้น นอกจากนั้นยังมีกรด Lauric acid (ความยาว 12-carbon chain) จำนวน 45%-50% และ กรด caproic acid (ความยาว 6 carbons) กรด myristic acid (ความยาว 14 carbons) กรด palmitic acid (ความยาว 16 carbons) และ กรด stearic acid (ความยาว 18 carbons) โดยทั่วไป กรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลปานกลาง (Medium Chain Triglyceride / MCT) คือ กรดไขมันที่มีความยาว ระหว่าง 6-14 carbons ซึ่งจะเห็นว่า น้ำมันมะพร้าว มีกรดไขมันทั้งประเภทโมเลกุลสั้น และโมเลกุลยาว รวมอยู่ด้วย กรดไขมันที่มีขนาดโมเลกุลยาว เป็นกรดไขมันที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ
- การวิจัยเรื่อง MCT พบว่า ช่วยลดน้ำหนักได้ แต่ไม่สามารถนำมาสรุปกับน้ำมันมะพร้าวได้ เพราะ น้ำมันมะพร้าวมี กรด caprylic acid และ กรด capric acid ประมาณ 10%-15% เท่านั้น ที่เหลือคือ กรด lauric acid และอื่น ๆ ซึ่งพบว่า เป็นตัวเพิ่มปริมาณ LDL cholesterol ซึ่งเป็น คอเรสเตอรอล ที่ไม่ดีต่อร่างกาย (ข้อมูลขัดแย้งกัน: Dr. Walter C. Willett จาก the Department of Nutrition at Harvard School of Public Health ให้ข้อมูลว่า กรด lauric acid ช่วยเพิ่มปริมาณ HDL cholesterol ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย )
- การวิจัยเกี่ยวกับไขมันอิ่มตัว พบว่า ไขมันอิ่มตัวบางชนิดไม่เป็นอันตรายต่อหัวใจ เช่น ไขมันจากน้ำมันมะพร้าว แตกต่างจากไขมันที่ได้จากสัตว์ แต่ก็ยังไม่สามารถสรุปได้แน่นอนว่า ไขมันมะพร้าวเป็นผลดีกับหัวใจ บางงานวิจัยสนับสนุนว่า ไขมันจากมะพร้าวช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ แต่ก็มีการวิจัยที่ให้ผลตรงกันข้าม
- การอ้างถึงประชากรบางประเทศที่มีสุขภาพดีเพราะบริโภคมะพร้าวเป็นหลัก เช่น ชาวเกาะ Polynesian islands (Pukapuka Islands and Tokelau Islands) เป็นข้อมูลที่ได้มาจากการทดสอบแบบ electrocardiogram test หรือ ECG ซึ่งเป็นวิธีการประเมินสภาพหลอดเลือดหัวใจที่ยังให้ผลไม่แน่นอน อีกทั้งยังมีตัวแปรอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น การบริโภคอาหาร การสูบบุหรี่ ตลอดจนการออกกำลังกาย เป็นต้น
โดยสรุป
อาหารทุกชนิดมีประโยชน์ แต่ถ้าบริโภคมากเกินไปก็จะเกิดผลเสียได้ www.naturalnews.com แนะนำว่า ผู้ใหญ่ไม่ควรบริโภคเกินวันละ 3 ช้อนครึ่ง มีนักโภชนาการหลายท่าน ย้ำว่า กินอาหารหลาย ๆ อย่าง ให้หลากหลายเข้าไว้ เป็นสิ่งที่ดี
ที่มา:
"10 Proven Health Benefits of Coconut Oil" จาก http://authoritynutrition.com/top-10-evidence-based-health-benefits-of-coconut-oil/
http://www.sparkpeople.com/resource/nutrition_articles.asp?id=1799&page=3
http://www.livestrong.com/article/261372-coconut-oil-nutrition-facts/
http://www.livestrong.com/article/261372-coconut-oil-nutrition-facts/
http://www.naturalnews.com/036156_Coconut_oil_superfood_healing.html#
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น