มะรุม Moringa
วันนี้ฟังวิทยุรายการ Gary Null Show วันที่ 10.28.15 พูดถึงใบ Moringa สงสัยว่ามันใบอะไรของมัน ถึงได้มีคุณสมบัติเยอะแยะมากมายมหาศาล แถมมีแหล่งกำเนิดแถว ๆ ภูเขาหิมาลัย ประเทศอินเดียอีกต่างหาก หาความหมายดูจึงเห็นว่าเป็นใบ มะรุม นั่นเอง
Gary Null บอกว่ามะรุม มีคุณสมบัติ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก (anti-tumors) แก้อักเสบ (anti-inflammatory) ต้านแผลในกระเพาะอาหาร (anti-ulcer) คลายกล้ามเนื้อเกร็ง (antispasmodic) ต้านความดันโลหิตสูง (anti-hypertensive) ป้องกัน/บรรเทาโรคเบาหวาน (anti-diabetic) ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterial) และต้านเชื้อรา (anti-fungal) ในใบมะรุม 1 ถ้วย(serving) มีสารอาหารที่มีประโยชน์ ถึง 92 ชนิด เช่น กรดอะมิโน วิตามินซี วิตามินบี 6 โปแตสเซี่ยม แมกนีเซียม เหล็ก แคลเซี่ยม และวิตามินเอ โดยที่สารอาหารแต่ละชนิดมีปริมาณจำนวนมาก เช่น มีวิตามินเอ ถึง 272 % ของจำนวนที่ต้องการในแต่ละวัน มีแคลเซี่ยม จำนวน 175 % ของจำนวนที่ต้องการในแต่ละวัน
Gary Null บอกว่า มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง (anemia) ปวดข้อ ข้ออักเสบ (arthritis และ joint-pain) หืดหอบ (asthma) โรครูมาติสซั่ม (rheumatism) มะเร็ง (cancer) ท้องผูก (constipation) เบาหวาน (diabetic) ท้องเสีย ท้องร่วง (diarrhea) ปวดในกระเพาะอาหาร (stomach pain) เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (intestinal ulcer) กระเพาะอาหารและลำไส้เกร็ง (intestinal spasms) มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ (heart problems และ heart blood pressure) โรคนิ่วในไต (kidney stone) ปวดหัว (headache) และมีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อรา เป็นต้น
มะรุมเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ รักษาโรคได้หลายชนิดจำนวนมาก คณะเภสัสศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พูดถึงคุณสมบัติของมะรุมได้สอดคล้องกับ Gary Null เช่น พูดถึงคุณสมบัติของมะรุมว่า จากการวิจัยทดลองกับสัตว์ พบว่า มะรุมมีคุณสมบัติ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ และ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
เว็บไซต์หมอชาวบ้าน บอกว่า มะรุม ลดไขมันป้องกันมะเร็ง มีวิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต ๓ เท่า มีวิตามินซีช่วยป้องกันหวัด ๗ เท่าของส้ม มีแคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน ๓ เท่าของนมสด มีโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท ๓ เท่าของกล้วย มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
นอกจากนี้ เว็บไซต์ frynn.com พูดถึงประโยชน์ของมะรุมไว้ถึง 78 ประการ เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง มะรุม ลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง ใช้รักษาโรคหัวใจ มะรุม ลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
ข้อควรระวังเกี่ยวกับมะรุม
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องระมัดระวังในการกินไว้ด้วย เว็บเอ็มดี บอกว่า การกินใบมะรุมและฝักมะรุมเป็นอาหารตามปกติน่าจะปลอดภัยดี ไม่ควรกินรากมะรุมและสารที่สะกัดจากรากมะรุมเพราะอาจจะมีพิษทำให้ถึงตายได้ ไม่ควรกินมะรุมวันละ 6 กรัม ติดต่อกันนานเกินกว่า 3 สัปดาห์
สำหรับสตรีตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ ควรงดการบริโภคมะรุม โดยเฉพาะ ราก เปลือก และดอกของมะรุม เพราะอาจจะทำให้เกิดการหดตัวของมดลูก และทำให้แท้งได้ ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อมูลระบุเรื่องการกินส่วนอื่น ๆ ของมะรุม แต่เว็บเอ็มดี บอกว่า ควรยึดคติ ปลอดภัยไว้ก่อน โดยงดการกินมะรุม น่าจะดีกว่า
สำรับสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการใช้มะรุมเพื่อให้แม่มีน้ำนมมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยของเด็ก ดังนั้น จึงควรงดการบริโภคมะรุมเพื่อเรียกน้ำนมจะดีกว่าเหมือนกัน
มะรุมทำกับข้าวอะไรได้บ้าง
ใบอ่อน ยอดอ่อน ฝักอ่อนของมะรุม สามารถนำมากินสด ๆ ได้ จิ้มน้ำพริกก็อร่อย ใบอ่อนนำมากินกับขนมปังเป็นแซนวิช ก็ได้ ทำเป็นสลัดก็ดี ฝักอ่อนมะรุมสามารถกินได้เหมือนฝักถั่ว แต่ถ้าแก่ต้องขูดผิวนอกออกเสียก่อน จึงจะนำมาทำเป็นอาหาร ได้ เช่น แกงส้ม แกงกะหรี่ ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอด ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่ ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด เป็นต้น
อาหารง่าย ๆ ที่ผมชอบ คือ ใบมะรุมอ่อนชุบไข่ทอด และใข่เจียวใบมะรุม อร่อยดี
แหล่งที่มา
http://tunein.com/radio/The-Gary-Null-Show-p20272/
http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1242-moringa.aspx?activeingredientid=1242&activeingredientname=moringa
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
http://www.doctor.or.th/article/detail/1245
http://frynn.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1/
https://www.facebook.com/LamPhaen/posts/335364389850228
Gary Null บอกว่ามะรุม มีคุณสมบัติ ยับยั้งการเจริญของเนื้องอก (anti-tumors) แก้อักเสบ (anti-inflammatory) ต้านแผลในกระเพาะอาหาร (anti-ulcer) คลายกล้ามเนื้อเกร็ง (antispasmodic) ต้านความดันโลหิตสูง (anti-hypertensive) ป้องกัน/บรรเทาโรคเบาหวาน (anti-diabetic) ต้านเชื้อแบคทีเรีย (anti-bacterial) และต้านเชื้อรา (anti-fungal) ในใบมะรุม 1 ถ้วย(serving) มีสารอาหารที่มีประโยชน์ ถึง 92 ชนิด เช่น กรดอะมิโน วิตามินซี วิตามินบี 6 โปแตสเซี่ยม แมกนีเซียม เหล็ก แคลเซี่ยม และวิตามินเอ โดยที่สารอาหารแต่ละชนิดมีปริมาณจำนวนมาก เช่น มีวิตามินเอ ถึง 272 % ของจำนวนที่ต้องการในแต่ละวัน มีแคลเซี่ยม จำนวน 175 % ของจำนวนที่ต้องการในแต่ละวัน
Gary Null บอกว่า มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่เป็นโรคโลหิตจาง (anemia) ปวดข้อ ข้ออักเสบ (arthritis และ joint-pain) หืดหอบ (asthma) โรครูมาติสซั่ม (rheumatism) มะเร็ง (cancer) ท้องผูก (constipation) เบาหวาน (diabetic) ท้องเสีย ท้องร่วง (diarrhea) ปวดในกระเพาะอาหาร (stomach pain) เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ (intestinal ulcer) กระเพาะอาหารและลำไส้เกร็ง (intestinal spasms) มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ (heart problems และ heart blood pressure) โรคนิ่วในไต (kidney stone) ปวดหัว (headache) และมีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อรา เป็นต้น
มะรุมเป็นพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ รักษาโรคได้หลายชนิดจำนวนมาก คณะเภสัสศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พูดถึงคุณสมบัติของมะรุมได้สอดคล้องกับ Gary Null เช่น พูดถึงคุณสมบัติของมะรุมว่า จากการวิจัยทดลองกับสัตว์ พบว่า มะรุมมีคุณสมบัติ มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต ฤทธิ์ต้านการเกิดเนื้องอกและ ฤทธิ์ต้านมะเร็ง ฤทธิ์ต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ฤทธิ์ป้องกันตับอักเสบ และ ฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
เว็บไซต์หมอชาวบ้าน บอกว่า มะรุม ลดไขมันป้องกันมะเร็ง มีวิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต ๓ เท่า มีวิตามินซีช่วยป้องกันหวัด ๗ เท่าของส้ม มีแคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน ๓ เท่าของนมสด มีโพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท ๓ เท่าของกล้วย มีใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย
นอกจากนี้ เว็บไซต์ frynn.com พูดถึงประโยชน์ของมะรุมไว้ถึง 78 ประการ เช่น ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม) ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง มะรุม ลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง ใช้รักษาโรคหัวใจ มะรุม ลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวาน โดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ เป็นต้น
ข้อควรระวังเกี่ยวกับมะรุม
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องระมัดระวังในการกินไว้ด้วย เว็บเอ็มดี บอกว่า การกินใบมะรุมและฝักมะรุมเป็นอาหารตามปกติน่าจะปลอดภัยดี ไม่ควรกินรากมะรุมและสารที่สะกัดจากรากมะรุมเพราะอาจจะมีพิษทำให้ถึงตายได้ ไม่ควรกินมะรุมวันละ 6 กรัม ติดต่อกันนานเกินกว่า 3 สัปดาห์
สำหรับสตรีตั้งครรภ์ต้องระวังเป็นพิเศษ ควรงดการบริโภคมะรุม โดยเฉพาะ ราก เปลือก และดอกของมะรุม เพราะอาจจะทำให้เกิดการหดตัวของมดลูก และทำให้แท้งได้ ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อมูลระบุเรื่องการกินส่วนอื่น ๆ ของมะรุม แต่เว็บเอ็มดี บอกว่า ควรยึดคติ ปลอดภัยไว้ก่อน โดยงดการกินมะรุม น่าจะดีกว่า
สำรับสตรีที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการใช้มะรุมเพื่อให้แม่มีน้ำนมมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยของเด็ก ดังนั้น จึงควรงดการบริโภคมะรุมเพื่อเรียกน้ำนมจะดีกว่าเหมือนกัน
มะรุมทำกับข้าวอะไรได้บ้าง
ใบอ่อน ยอดอ่อน ฝักอ่อนของมะรุม สามารถนำมากินสด ๆ ได้ จิ้มน้ำพริกก็อร่อย ใบอ่อนนำมากินกับขนมปังเป็นแซนวิช ก็ได้ ทำเป็นสลัดก็ดี ฝักอ่อนมะรุมสามารถกินได้เหมือนฝักถั่ว แต่ถ้าแก่ต้องขูดผิวนอกออกเสียก่อน จึงจะนำมาทำเป็นอาหาร ได้ เช่น แกงส้ม แกงกะหรี่ ฝักมะรุมอ่อนผัดน้ำมันหอย ยำฝักมะรุมอ่อน ทอดมันปลากับฝักมะรุมอ่อน แกงเลียงฝักมะรุมอ่อนและใบมะรุม แกงเผ็ดฝักมะรุมอ่อน ไข่ยัดไส้ใบมะรุมหมูสับ ดอกมะรุมชุบไข่ทอด ผัดพริกขิงฝักมะรุมอ่อน ผัดจืดฝักมะรุมอ่อนใส่ไข่และกุ้ง ผัดเผ็ดฝักมะรุมอ่อนยอดพริกไทยกับไก่ ฝักมะรุมอ่อนผัดขี้เมา ต้มจืดหมูสับใบมะรุมอ่อน ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดสดต่างๆ ราดหน้าฝักและใบมะรุมอ่อนไก่/หมู แกงจืดใบมะรุมอ่อนเต้าหู้ ผัดฝักมะรุมอ่อนกับเห็ดหูหนู จีน แกงจืดวุ้นเส้นใบมะรุมอ่อนใส่เห็ดสด แกงเขียวหวานหรือแกงแดงฝักมะรุมอ่อน ยอด ดอก และฝักมะรุมอ่อนชุบแป้งเทมปุระทอด เป็นต้น
อาหารง่าย ๆ ที่ผมชอบ คือ ใบมะรุมอ่อนชุบไข่ทอด และใข่เจียวใบมะรุม อร่อยดี
แหล่งที่มา
http://tunein.com/radio/The-Gary-Null-Show-p20272/
http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1242-moringa.aspx?activeingredientid=1242&activeingredientname=moringa
http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/
http://www.doctor.or.th/article/detail/1245
http://frynn.com/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%A1/
https://www.facebook.com/LamPhaen/posts/335364389850228
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น