การสร้าง DialogFragment ใน Android Studio

การสร้าง Dialog เพื่อแสดงข้อความแจ้งเตือน หรือให้ข่าวสารแก่ผู้ใช้งานมือถือ Android โดยใช้  Android Studio ทำได้หลายอย่าง แต่วันนี้ จะพูดถึงการใช้ Fragment สำหรับสร้าง Dialog ซึ่งมีข้อดี คือ สามารถจัดการรูปแบบได้เองสะดวกดี เพราะใช้ Layout ที่สร้างเอง จึงนำเอาภาพ ข้อความมาจัดเรียงได้ ในตัวอย่างนี้ จะสร้าง DialogFragment โดยให้คลิกจากเมนูใน OverFlow Menu แล้วมาที่ Dialog ที่สร้างขึ้น โดยใช้ Android Studio 1.5.1

ภาพหน้าจอ DialogFragment ที่จะสร้าง ในครั้งนี้

ขั้นตอนการสร้าง

  1. สร้าง Project ใหม่
  2. สร้าง Layout ที่ต้องการให้แสดงเป็น Dialog
  3. สร้าง Java Class สำหรับ DialogFragment
  4. เรียกใช้งาน ที่ OverFlow menu
สร้าง Project ใหม่
  1. สร้าง Project ใหม่ ตั้งชื่อตามต้องการ
  2. กำหนด API 11 และ Blank Activity
สร้าง Layout สำหรับให้แสดงเป็น Dialog
  1. นำภาพไปใส่ไว้ในห้อง Drawable โดยใช้วิธี Copy แล้ว Paste ใน Android Studio
  2. สร้าง Layout โดยคลิกขวาที่ layout เลือก New > Layout Resource File
  3. ตั้งชื่อว่า df_demo  
  4. นำ ImageView  TextView และปุ่ม พร้อมทั้งนำภาพและข้อความมาวางบน Layout ดังภาพ
    • TextView ให้กำหนด LayoutWidth เป็น match parent และ กำหนด padding ตามต้องการ  ในตัวอย่างใช้ TextView จำนวน 3 TextView
    • สำหรับปุ่ม ให้กำหนด Border ห่างจาก TextView ประมาณ 60dp เพื่อให้เห็นเด่นชัด
    • เขียนข้อความบนปุ่มว่า OK
    • ตั้งชื่อ id ของปุ่มนี้ว่า btnOk สำหรับให้ปิดหน้าจอ dialog 
    • ถ้าข้อความยาวเกินหน้าจอ ให้นำ ScrollView มาครอบเพื่อให้สามารถ Scroll ได้
การสร้าง Java Class สำหรับ DialogFragment 
  1. สร้าง Java Class เพื่อให้เป็น Object ของ DialogFragment ที่จะใช้ Layout ที่สร้างขึ้น เพื่อบอก FragmentManager ว่า เราต้องการ layout นี้มาแสดง
  2. คลิกขวาในห้อง Java ที่เก็บไฟล์หลักของ Project และเลือก New > Java Class
  3. ตั้งชื่อว่า MyDialogFragmentDemo 
  4. ใน Class นี้ จะต้อง extends DialogFragment และ ใช้ layout สำหรับการรับ การคลิก โดย implements OnClickListener
  5. เรียกใช้ onCreateView เพื่อสร้างหน้าจอ
  6. ในการสร้างหน้าจอ มีการกำหนดตัวแปรของปุ่ม มีการ inflate โดยเรียกใช้ layout ที่สร้างไว้แล้ว มีการกำหนดชื่อ Dialog พร้อมทั้งรอรับการคลิกจากปุ่ม ถ้ามีการคลิก ให้ปิดหน้าจอ การ Import โปรแกรม Android Studio จะถามให้กด Alt+Enter เพือ import ในส่วนที่ต้องการ
  7. สำหรับชื่อของ Dialog สำหรับ API ที่ตำ่กว่า API 23 จะไม่มีปัญหา แต่ถ้าเป็น API 23 ต้องไปกำหนด Style ในไฟล์ style.xm ให้มี Style ที่กำหนดให้มีชื่อ และนำมาใช้กับ Dialog เมื่อมีการเรียกใช้
  8. กำหนด Style ในไฟล์ Style.xml ดังนี้
การเรียกใช้งาน ที่ OverFlow menu
  1. กำหนด item ของ Overflow menu ในไฟล์ menu.xml โดยมี id คือ action_pro และ ชื่อที่จะปรากฏ คือ รุ่น Pro
  2. เมื่อเปิดหน้าจอจะเห็นมี OverFlow menu เป็นจุด 3 จุด
  3. เมื่อคลิกที่ OverFlow menu จะเห็นมีเมนู รุ่น Pro ปรากฎ
  4. ใน Activity ที่มี Overflow menu ให้เรียกใช้งาน เมื่อเมนูถูกคลิก ใน onOptionsItemSelected method
  5. ในการเรียกใช้งาน ต้องเรียกผ่าน FragmentManager พร้อมทั้งกำหนด Style ให้ใช้ style ที่กำหนดไว้ในไฟล์ style.xml สำหรับ dialog นี้ เพื่อให้แสดงหัวเรื่องด้านบน
  6. เป็นอันเสร็จการสร้าง DialogFragment
  7. เมื่อใช้งาน โดยคลิกที่เมนู รุ่น Pro ใน OverFlow menu จะแสดง Dialog ดังภาพข้างต้น
ดาวน์โหลดไฟล์ เพื่อศึกษา คลิกที่นี่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์