คำที่มักเขียนผิด
คำที่มักเขียนผิด ส่วนใหญ่นำมาจาก วิกิพีเดีย และเว็บไซต์อื่น ๆ พร้อมทั้งตรวจสอบกับ พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ และได้จัดทำปุ่มค้นหา ทำให้ตรวจสอบคำที่สงสัย สามารถทำได้รวดเร็วขึ้น จึงหวังว่า น่าจะเป็นประโยชน์ ต่อนักเรียน นักศึกษา ผู้เตรียมสอบ ภาค ก. ของ ก.พ. ตลอดจนผู้สนใจศึกษาหาความรู้ เกี่ยวกับ การเขียนภาษาไทย ให้ถูกต้อง ได้ตามสมควร
คำที่ถูก | มักเขียนผิดเป็น | หมายเหตุ |
หมวด ก | ||
กงเกวียนกำเกวียน | กงกำกงเกวียน | กง และ กำ เป็นส่วนประกอบของล้อเกวียน |
กงจักร | กงจักร์ | |
กงสุล | กงศุล | "กงสุล" มาจากคำในภาษาฝรั่งเศสว่า "consul" |
กฎ | กฏ | กฎ ทุกอย่าง ใช้ ฎ ชฎา ยกเว้น ปรากฏ ใช้ ฏ ปฏัก |
กนิษฐ์ | กนิษ, กนิฐ | กนิษฐ์ แปลว่า น้องสาว |
กบฏ | กบฎ, กบถ | ถ้าออกเสียง "ขะ-บด" เขียน "ขบถ" |
กบาล, กระบาล | กะบาล | |
กรรเชียง | กันเชียง | กรรเชียง = เครื่องพุ้ยน้ำ |
กรรฐ์/กรรณ | มักสับสน | กรรฐ์ = คอ ทศกัณฐ์ กรรณ = หู ใบหู |
กรรมพันธุ์ | กรรมพันธ์ | กรรมพันธุ์ อ่านว่า กำ-มะ-พัน |
กระจิบ | กะจิบ | นกกระจิบ |
กระทะ | กะทะ | |
กระบะ | กะบะ | กระบะ - ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด หรือ ชื่อรถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ รถกระบะ |
กระบี่ | กะบี่ | กระบี่ - ลิง หรืออาวุธชนิดหนึ่ง |
กระมล/กมล | ใช้ได้ทั้งสองคำ | |
กระย่องกระแย่ง | กะย่องกะแย่ง | กระย่องกระแย่ง = ร่างกายไม่แข็งแรง ทำให้เดิน หรือเคลื่อนไหวไม่สะดวก) |
กระยาสารท | กะยาสารท กระยาสาร์ท | |
กระรอก | กะรอก | |
กริยา/กิริยา | มักใช้สับสน | กริยา (อ่านว่า กฺริ-ยา หรือ กะ-ริ-ยา ก็ได้) = คำชนิดหนึ่ง บอกอาการ การกระทำ เช่น เดิน วิ่ง เขียน เหล่านี้ คือ คำกริยา กิริยา = การกระทำ, มารยาท เช่น มีกิริยา วาจา นอบน้อม |
กรีฑา/กรีธา | มักใช่สับสน | กรีฑา - เป็นกีฬาประเภทหนึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทลู่ เช่น การวิ่งระยะทางต่าง ๆ วิ่งผลัด วิ่งข้ามรั้ว และ ประเภทลาน เช่น กระโดดสูง พุ่งแหลน ทุ่มน้ำหนัก เป็นต้น กรีธา - เคลื่อน ยก เดินเป็นหมู่หรือเป็นกระบวน เช่น กรีธาทัพ |
กอปร | กอป, กอปร์ | อ่านว่า "กอบ" แปลว่า ประกอบ |
กะ/กระ | มักจะสับสน | คำที่ใช้ "กะ-" เช่นกะทัดรัด, กะทันหัน, กะทิ, กะเทย, กะเทาะ, กะบังลม, (ปลา)กะพง, กะพริบ, กะเพรา, กะรัต - หน่วยมาตราชั่ง อ่านว่า กะ-หรัด, กะลามะพร้าว, กะลาสี, กะโหลกกะลา คำที่ใช้ "กระ-" เช่น กระจิริด, กระเชอ เช่น แม่กระเชอก้นรั่ว - สุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด, กระตือรือร้น, กระทะ,กระบี่ (ลิง,ดาบชนิดหนึ่ง), กระบวน, (หัว)กระบาล, กระเบียดกระเสียร, กระเพาะ, กระสัน, กระแส, (ลาย)กระหนก [คำว่า กนก หมายถึง ทองคำ เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กนกนัครา] |
กะชัง | กระชัง | |
กะแช่ | กระแช่ | |
กะทัดรัด | กระทัดรัด | |
กะทันหัน | กระทันหัน | |
กะทิ | กระทิ | |
กะเทย | กระเทย | |
กะเทาะ | กระเทาะ | กะเทาะ - ล่อนหลุดออกมาเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ, ทำให้ล่อนหลุดออก เช่น กะเทาะเม็ดบัว |
กะบังลม | กระบังลม | กะบังลม - แผ่นกั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และแผ่นพังผืด กั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อ |
กะปริดกะปรอย/กะปริบกะปรอย | กระปริดกระปรอย/กระปริบกระปรอย | กะปริดกะปรอย/ กะปริบกะปรอย - มีอาการออก หรือไหลออกน้อย ๆ หยุดบ้าง ออกบ้าง |
กะปลกกะเปลี้ย | กระปลกกระเปลี้ย | กะปลกกะเปลี้ย - อ่อนเพลีย, อ่อนเปลี้ย, ไม่มีแรง |
กะปิ | กระปิ | |
กะโผลกกะเผลก | กระโผลกกะเผลก | |
กะพริบ | กระพริบ | กะพริบ - ปิดและเปิดหนังตาโดยเร็ว หรือ อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ไฟกะพริบ |
กะร่องกะแร่ง | กระร่องกระแร่ง | |
กะรุ่งกะริ่ง | กระรุ่งกระริ่ง | |
กะเรี่ยกะราด | กระเรี่ยกระราด | |
กะล่อน | กระล่อน | |
กะละมัง | กะละมัง กาละมัง | |
กะละแม | กาละแม | |
กะหล่ำ | กระหล่ำ | กะหล่ำ - ชื่อไม้ล้มลุก มีหลายพันธุ์ เช่น กะหลํ่าปลีหรือกะหลํ่าใบ กะหลํ่าดอกหรือกะหลํ่าต้น เป็นต้น |
กะโหลก | กระโหลก | |
กังวล | กังวน | กังวล = ห่วงใย |
กังวาน | กังวาล, กังวาฬ | |
กาลเทศะ | กาละเทศะ | กาลเทศะ อ่านว่า กา-ละ-เท-สะ |
กาลเวลา | กาฬเวลา | กาล หมายถึง เวลา |
กำเนิด | กำเหนิด | กำเนิด อ่านว่า กำ-เหนิด หมายถึง การเกิด |
กำมะถัน | กัมมะถัน | |
กำเหน็จ | กำเหน็ด | |
กิตติศัพท์ | กิติศัพท์ | กิตติศัพท์ = เสียงเล่าลือ-ยกย่อง |
กิตติมศักดิ์ | กิติมศักดิ์, เกียรติมศักดิ์ | |
กุฎี/กุฏิ | "กุฏิ" อ่านว่า "กุด" (1)เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่ (2)ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ (3)เรือนที่ทำให้นกขุนทองนอน | |
กุมภาพันธ์ | กุมภาพันธุ์ | |
กุยช่าย | กุ้ยฉ่าย | กุยช่าย กินกับผัดไทย |
(ปลา)กุเรา | (ปลา)กุเลา | |
เกม | เกมส์ | ในภาษาไทยสำหรับกรณีทั่วไปจะไม่มีการเปลี่ยนรูปแบบคำ ใดๆ ทั่งสิ้นไม่ว่าลื่อความหมายถึงเอกพจน์หรือพหูพจน์ เว้นแต่เป็นการทับศัพท์วีสามานยนาม เช่น "SEA Games" ว่า ซีเกมส์ |
เกษียณ/เกษียน/เกษียร | มักใช้สับสน | เกษียณ = สิ้นไป, ครบกำหนด เช่น เกษียณอายุราชการ เกษียน = ทำบันทึกถึง เช่น เกษียนท้ายจดหมาย เกษียร = น้ำนม |
เกสร | เกษร | ส่วนในของดอกไม้ |
เกียรติ | เกียรติ์ | อ่านว่า "เกียด", ถ้าเขียน "เกียรติ์" อ่านว่า "เกียน" เช่น รามเกียรติ์ |
แกงกะหรี่ | แกงกระหรี่ | |
แกร็น | แกน, แกรน | ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช) เช่น แคระแกร็น |
โกฏิ/โกส/โกศ | มักใช้สับสน | โกฏิ = สิบล้าน โกส = ผอบ โกศ = ที่พระราชทาน สำหรับศพข้าราชการ ผู้มีบรรดาศักดิ์สูง พระโกศ = คือที่ใส่พระบรมศพ และพระศพเจ้านาย ของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศ์ พระโกศทองใหญ่ หรือ พระลองทองใหญ่ เป็นพระโกศ สำหรับทรงพระบรมศพ ของพระมหากษัตริย์ และพระศพของพระบรมวงศ์ชั้นสูง |
ไกรลาส | ไกรลาศ | ไกรลาส = ภูเขา |
หมวด ข | ||
ขบถ | ขบฏ | ดู กบฏ |
ขโมย | ขะโมย, โขมย | |
ขะมักเขม้น | ขมักเขม้น | ขะมักเขม้น อ่านว่า ขะ-มัก-ขะ-เม่น |
ขัณฑสกร | ขัณทสกร, ขันทสกร, ขันฑสกร | |
ขาดดุล/งบดุล | ขาดดุลย์/งบดุลย์ | ดุล = ความเท่ากัน |
ขู่เข็ญ | ขู่เข็น | เคี่ยวเข็ญ - บีบบังคับ, บีบคั้นให้ได้รับความลำบาก เช่น เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป |
เข้าด้ายเข้าเข็ม | เข้าได้เข้าเข็ม | เข้าด้ายเข้าเข็ม = คับขัน |
ไข่มุก | ไข่มุกต์, ไข่มุข | |
หมวด ค | ||
คทา | คฑา, คธา | |
ครองราชย์ | ครองราช | คำว่า "ราชย์" หมายถึง ความเป็นราชา, "ครองราชย์" จึงหมายถึง ครองความเป็นราชา |
คริสตกาล | คริสต์กาล | คริสตกาล = สมัยเมื่อพระเยซูยังมีพระชนม์อยู่ |
คริสตจักร | คริสต์จักร | |
ครุภัณฑ์ | คุรุภัณฑ์ | |
ครุศาสตร์ | คุรุศาสตร์ | |
คฤหาสน์ | คฤหาสถ์ | คฤห + อาสน |
คลินิก | คลีนิก, คลีนิค | |
ค้อน | ฆ้อน | มักสับสนกับคำว่า ฆ้อง ฆ้องวง |
คะนอง | คนอง | |
คำนวณ | คำนวน | |
คุกกี้ | คุ้กกี้, คุ๊กกี้ | ออกเสียง คุก โดยไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ |
เค้ก | เค็ก, เค๊ก | |
แคระแกร็น | แคะแกน, แคะแกรน,แคระแกน, แคระแกรน | ไม่เจริญเติบโตตามปรกติ (ใช้แก่คน สัตว์ และพืช) |
โค่ง | โข่ง | โข่ง = เปิ่น ไม่เข้าท่า / โค่ง =โตกว่าเพื่อน |
โครงการ | โครงการณ์ | การ = งาน, สิ่งหรือเรื่องที่ทำ การณ์ = เหตุ เช่น เหตุการณ์ = เรื่องที่เกิดขึ้น |
โควตา | โควต้า | มาจากคำว่า quota การใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์การเขียนคําทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คํานั้นมีเสียงซ้ำกับคําไทย จนทําให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น coke = โค้ก coma = โคม่า |
หมวด ฆ | ||
ฆราวาส | ฆรวาส, ฆารวาส | |
ฆาตกร | ฆาตรกร | ฆาต แปลว่า การฆ่า, การทำลาย อย่าสับสนกับ คำว่า มาตรการ |
เฆี่ยน | เคี่ยน | |
หมวด ง | ||
งูสวัด | งูสวัส, งูสวัสดิ์ | สวัสดิ์ (1)ความดี, ความงาม, ความเจริญรุ่งเรือง (2)ความปลอดภัย เช่น ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ |
หมวด จ | ||
จงกรม | จงกลม | เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม |
จระเข้ | จรเข้ | เครื่องดนตรีไทย เรียก "จะเข้" |
จลาจล | จราจล | อย่าไปสับสนกับคำว่า จราจร -จลาจล = ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ -จราจร = การที่ยวดยานพาหนะ คน หรือ สัตว์พาหนะเคลื่อนไปมาตามทาง |
จะงอย | จงอย | |
จะละเม็ด | จาละเม็ด, จาระเม็ด, จรเม็ด, จระเม็ด | |
จักจั่น | จั๊กจั่น | |
จักร | จักร์ | |
จักรพรรดิ | จักรพรรดิ์ | อ่านว่า "จัก-กระ-พัด" = พระราชาธิราช, ประมุขของจักรวรรดิ |
จักรวรรดิ | จักรวรรดิ์ | อ่านว่า "จัก-กระ-หวัด" = รัฐหรือสหภาพของรัฐต่าง ๆ ที่มีจักรพรรดิเป็นประมุข เช่น จักรวรรดิโรมัน |
จักสาน | จักรสาน | เครื่องใช้ที่ทำด้วยมือ |
จัน/จันทน์/จันทร์ | มักใช้สับสน | จัน - ชื่อไม้ต้น ผลสุกสีเหลือง หอม กินได้ หรือหมายถึงเครื่องหมายดอกจัน (*)
จันทน์ - ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม เช่น จันทน์กะพ้อ จันทน์ผา จันทน์หอม จันทน์เทศ จันทน์แดง ดอกไม้จันทน์ ทำจากเนื้อไม้จันทน์ ประดิษฐ์เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ในการเผาศพ จันทร์ - ชื่อวันที่ 2 ของสัปดาห์ หรือหมายถึง ดวงจันทร์ |
จาระไน | จารไน | |
จาระบี | จารบี | |
จำนง | จำนงค์ | แผลงจาก "จง" |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย | อย่าสับสนกับ มหาวิทยาลัยสงฆ์ คือ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
เจตจำนง | เจตจำนงค์ | แผลงจาก "จง" |
เจียระไน | เจียรไน | |
โจทก์ | โจทย์ | โจทก์ หมายถึง ผู้ฟ้องร้องในศาลกล่าวหาจำเลย โจทย์หมายถึง ปัญหา เช่น โจทย์เลข |
หมวด ฉ | ||
ฉบับ | ฉะบับ | |
ฉะนั้น | ฉนั้น | |
ฉะนี้ | ฉนี้ | |
ฉัน/ฉันท์ | ฉัน = เสมือน เช่น ฉันญาติ ฉันมิตร; รับประทาน ใช้กับพระสงฆ์ ฉันท์ = ความพอใจ หรือร้อยกรองประเภทหนึ่งมิบังคับครุ ลหุ |
|
เฉพาะ | ฉะเพาะ, ฉเพาะ | |
หมวด ช | ||
ชมพู | ชมภู | |
ชมพู่ | ชมภู่ | |
ชะนี | ชนี | |
ชะมด | ชมด | |
ชะลอ | ชลอ | |
ชัชวาล | ชัชวาลย์ | |
ชีพิตักษัย | ชีพตักษัย | |
ชีวประวัติ | ชีวะประวัติ | ชีวประวัติ เป็นคำสมาส ไม่ต้องมีสระ อะ |
หมวด ซ | ||
ซาลาเปา | ซาละเปา | |
เซ็นชื่อ | เซ็นต์ชื่อ | |
เซนติเมตร | เซ็นติเมตร | |
หมวด ฌ | ||
ฌาน | ฌาณ | |
ญวน | ญวณ | |
ญาณ | ญาน | |
ญาติ | ญาต | อนุญาต ไม่มีสระ อิ |
หมวด ฎ | ||
ฎีกา | ฏีกา | ใช้ ฎ ชฎา ตัวอักษรที่คล้ายกันทำให้เกิดความสับสน |
หมวด ณ | ||
ณ | ณ. | อ่านว่า "นะ" หมายถึง ใน, ที่ ณ เป็นคำบ่งเวลาหรือสถานที่ว่า ตรงนั้นตรงนี้ เช่น ณ ที่นั้น ณ ห้องประชุม |
หมวด ด | ||
ดำรง | ดำรงค์ | |
ดำริ | ดำหริ, ดำริห์ | ดำริ อ่านว่า "ดำ-หริ" |
ดุล | ดุลย์ | "ดุล" เป็นคำนามแปลว่า ความเท่ากัน หรือความเสมอกัน |
เดินเหิน | เดินเหิร | |
ดุษณี/ดุษฎี | มักสับสน | ดุษณี, ดุษณีภาพ - อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ เช่น ยอมรับโดยดุษณี/ดุษณีภาพ ดุษฎี - ความยินดี, ความชื่นชม เช่น ดุษฎีบัณฑิต ดุษฎีมาลา |
หมวด ต | ||
ตราสัง | ตราสังข์ | |
ตรึงตรา | ตรึงตา | หมายถึง ติดแน่น |
ตะราง/ตาราง | ตะราง - ที่คุมขัง ตาราง - ช่องสี่เหลี่ยม |
|
ตานขโมย | ตาลขโมย | |
ตำรับ | ตำหรับ | |
ใต้/ไต้ | มักจะสับสน | ใต้ (1)ตํ่ากว่าสิ่งอื่น เช่น รถไฟใต้ดิน อยู่ใต้อำนาจ, ใต้เท้า, ใต้โต๊ะ ตรงข้ามกับ เหนือ เช่น ใต้ลม, ตํ่ากว่าพื้นผิวระดับหรือเกณฑ์ เช่น ใต้ดิน ใต้นํ้า ใต้ถุน (2) น. ทิศที่อยู่ตรงข้ามกับทิศเหนือ ทิศใต้ (3) บ. ข้างล่าง เช่น อยู่ใต้ต้นไม้ ไต้ - เชื้อเพลิงสำหรับจุดให้สว่าง เช่น ขี้ไต้ - ใช้ในคำอื่น ๆ เช่น ไต้ก๋ง ไต้ฝุ่น ไต้หวัน ไต้ไฟ(ชื่อดาวฤกษ์) |
ไตรยางศ์ | ไตรยางค์ | |
ไต้หวัน | ใต้หวัน | ทับศัพท์จากภาษาจีน |
หมวด ท | ||
ทยอย | ทะยอย | |
ทแยง | ทะแยง, แทยง | |
ทรราช | ทรราชย์ | - ทรราช = ผู้ปกครองบ้านเมือง ที่ใช้อำนาจสร้างความเดือดร้อน |
ทระนง, ทะนง | ทรนง, ทนง | |
ทลาย | ทะลาย | พังทลาย |
ทศกัณฐ์ | ทศกัณฑ์, ทศกรรณ | กัณฐ์ - คอ กัณฑ์ - ข้อความที่แต่งเป็นคำเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคำเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ 2 กัณฑ์ กรรณ - หู |
ทะนุถนอม | ทนุถนอม | |
ทะนุบำรุง, ทำนุบำรุง | ทนุบำรุง | |
ทะลาย/ทลาย | มักสับสน | ทะลาย - ช่อผลของมะพร้าว ทลาย - อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหักหรือพังกระจัดกระจาย เช่น กองทรายทลาย, พังหรือทำให้พัง เช่น กำแพงทลาย ทลายกำแพง |
ทะเลสาบ | ทะเลสาป | |
ทัณฑ์ | ฑัณฑ์ | โทษที่เนื่องด้วยความผิด เช่น ทัณฑสถาน ทำทัณฑ์บน |
ทีฆา ยุโก | ฑีฆา ยุโก | ทีฆายุ หมายถึง อายุยืนยาว |
ทุกรกิริยา | ทุกข์กิริยา | หมายถึง กิจที่ทำได้ยาก หรือ ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง |
ทุพภิกขภัย | ทุภิกขภัย | ทุส + ภิกขภัย, เปลี่ยน ส เป็น พ ตามหลักการสมาส |
ทูต | ฑูต | |
ทูนหัว | ทูลหัว | |
ทูลกระหม่อม | ทูนกระหม่อม | |
เท่ | เท่ห์ | |
เทเวศร์ | เทเวศ, เทเวศน์ | เทว + อิศร์ |
เท้าความ | ท้าวความ | เท้า (1) ตีน (ใช้ในความสุภาพ), เรียกขาโต๊ะหรือขาตู้ (2) ยัน เช่น ยืนเอามือเท้าโต๊ะ เอามือเท้าเอว (3) อ้างถึง เช่น เท้าความ |
เทิด | เทอด | เทิดทูน, ละครเทิดพระเกียรติ |
แท็กซี่ | แท๊กซี่, แท้กซี่ | |
แทรกแซง | แซกแซง | |
โทรทัศน์/โทรทรรศน์ | โทรทัศน์ - ทีวี เครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดหนึ่ง โทรทรรศน์ - กล้องส่องทางไกล |
|
โทรศัพท์ | โทรศัพย์ | ศัพท-, ศัพท์ (1) เสียง เช่น โทรศัพท์, คำ เช่น ศัพท์บัญญัติ (2) คำยากที่ต้องแปล (3) เรื่อง เช่น ฟังไม่ได้ศัพท์ จับไปกระเดียด |
หมวด ธ | ||
ธนบัตร | ธนาบัตร | |
ธนาณัติ | ธนานัติ, ธนาณัต | |
ธัญพืช | ธัญญพืช | |
ธำมรงค์ | ธำมรง, ทำมะรงค์ | แปลว่า "แหวน" |
ธำรง | ธำรงค์ | |
ธุรกิจ | ธุระกิจ | สมาสแล้ว ลบสระ อะ |
หมวด น | ||
นพปฎล | นพปดล | นพปฎลมหาเศวตฉัตร - ฉัตร 9 ชั้น เป็นฉัตรสูงสุดสำหรับพระมหากษัตริย์ |
นภดล | นพดล | นภดล = พื้นฟ้า |
นวัตกรรม | นวตกรรม | |
นอต | น็อต, น๊อต | ทับศัพท์จาก nut ในภาษาอังกฤษ การเขียนคําทับศัพท์ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ ยกเว้นในกรณีที่คํานั้นมีเสียงซ้ำกับคําไทย จนทําให้เกิดความสับสน อาจใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ได้ เช่น coke = โค้ก coma = โคม่า |
นะ | น๊ะ | น เป็นอักษรต่ำ คำตายเสียงสั้น พื้นเสียงเป็นเสียงตรีอยู่แล้ว ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ใด ๆ |
นะคะ | นะค่ะ, นะค๊ะ | คะ เป็นเสียงตรี ไม่ต้องใช้ไม้ตรี ในขณะที่ ค่ะ เป็นเสียงโท |
นัย | นัยยะ | |
นัยน์ตา | นัยตา | |
นานา | นา ๆ | คำมูลสองพยางค์ ต่าง ๆ นานา |
นิเทศ/นิเทศก์ | นิเทศน์ | นิเทศ = ชี้แจง, แสดง, จำแนก เช่น การนิเทศ นิเทศก์ = ผู้ชี้แจง เช่น ศึกษานิเทศก์ |
เนืองนิจ/เนืองนิตย์ | ใช้ได้ทั้ง 2 คำ | เนืองนิจ,เนืองนิตย์ - เสมอ ๆ เช่น ส่งข่าวถึงกันอยู่เนืองนิตย์ |
นานัปการ | นานับประการ | นานัปการ - มีหลายอย่าง, นานาประการ ก็ได้ |
น้ำแข็งไส | น้ำแข็งใส | น้ำแข็งไส หมายถึง การนำนํ้าแข็งไปไสบนกบ จนได้เกล็ดนํ้าแข็ง เป็นวิธีทำแบบดั้งเดิม ไม่ใช่น้ำแข็งมีลักษณะใสจนมองทะลุได้ |
แน่นหนา/หนาแน่น | มักสับสน | แน่นหนา- มั่นคง เช่น ใส่กุญแจแน่นหนา มีหลักฐาน มัดตัวแน่นหนา หนาแน่น - คับคั่ง, แออัด, เช่น ต้นไม้ขึ้นกันอย่างหนาแน่น |
โน้ต | โน๊ต | น เป็นอักษรต่ำ ซึ่งจะไม่มีการเติมไม้ตรีเด็ดขาด อักษรตํ่าคำเป็น ผันวรรณยุกต์ได้ 2 รูป 3 เสียง คา ค่า ค้า พื้นเสียงเป็นเสียงสามัญ ผันด้วยไม้เอก เป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี คำตาย สระเสียงยาว ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คาด ค้าด ค๋าด พื้นเสียงเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้โทเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้จัตวา เป็นเสียงจัตวา คำตาย สระเสียงสั้น ผันได้ 2 รูป 3 เสียง คะ ค่ะ ค๋ะ พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ผันด้วยไม้เอกเป็นเสียงโท ผันด้วยไม้จัตวาเป็นเสียงจัตวา |
หมวด บ | ||
บรรทัด | บันทัด | คำที่ใช้ บัน มีดังนี้ บันดาลลงบันได บันทึกให้จำจงดี รื่นเริงบันเทิงมี เสียงบันลือสนั่นดัง บันโดยบันโหยไห้ บันเหินไปจากรวงรัง บันทึงถึงความหลัง บันเดินนั่งนอนบันดล บันกวดเอาลวดรัด บันจวบจัดตกแต่งตน คำบันนั้นฉงน ระวังปนกับ ร หัน คำที่ใช้ รร เรียกว่า ร หัน ที่นิยมใช้ บรรจุอีกบรรดา บรรเทามาหาบรรยาย บรรลุไม่วุ่นวาย บรรลัยตาย บรรเจิดงาม บรรจบ บรรทมนอน บรรจงก่อน บรรหารตาม บรรทัด บรรทุกน้ำ บรรพต ข้าม บรรพชา |
บรรทุก | บันทุก | |
บรรลุ | บันลุ | |
บรรเลง | บันเลง | |
บล็อก | บล็อค, บล๊อก | เป็นคำทับศัพท์ |
บ่วงบาศ | บ่วงบาศก์ | บ่วงบาศ - บ่วงสำหรับโยนไปคล้อง บาศก์ - ลูกเต๋า, ลูกสกา, ใช้ว่า ลูกบาศก์ |
บอระเพ็ด | บรเพ็ด, บอระเพชร | |
บังสุกุล | บังสกุล | |
บัญญัติไตรยางศ์ | บัญญัติไตรยางค์ | |
บัตรสนเท่ห์ | บัตรสนเท่ | |
บันเทิง | บรรเทิง | |
บันลือ | บรรลือ | |
บาดทะยัก | บาททะยัก, บาดทยัก | |
บาตร | บาต | ภาชนะชนิดหนึ่งสำหรับภิกษุสามเณรใช้รับอาหารบิณฑบาต บิณฑบาต - ไม่มีตัว ร ข้างท้าย |
บำเหน็จ | บ่าเน็จ | |
บิณฑบาต | บิณฑบาตร, บิณฑบาท | |
บิดพลิ้ว | บิดพริ้ว | |
บุคลากร | บุคคลากร | |
บุคลิกภาพ | บุคคลิกภาพ | |
บุปผชาติ | บุปผาชาติ | บุปผชาติ = ดอกไม้, พวกดอกไม้ |
บูรณปฏิสังขรณ์ | บูรณะปฏิสังขรณ์ | บูรณปฏิสังขรณ์ เป็นคำสมาส |
เบญจเพส | เบญจเพศ | เพส มาจากคำว่า วีสะ = 20 เบญจ = 5, เบญจเพส = 25 |
เบนซิน | เบ็นชิน, เบนซิล | น้ำมันเบนซิน |
เบรก | เบรค | เป็นคำทับศัพท์ - break = หยุด, พัก |
หมวด ป | ||
ปฏิกิริยา | ปฏิกริยา | |
ปฏิสันถาร | ปฏิสัณฐาน, ปฏิสันถาน | |
ปฏิพัทธ์ | ประติพัทธ์ | |
ปฏิสังขรณ์ | ปฏิสังฃร | |
ปฐมนิเทศ | ปฐมนิเทศก์, ปฐมนิเทศน์ | |
ปณิธาน, ประณิธาน | ปนิธาน, ประนิธาน | ตั้งใจไว้ |
ปรนนิบัติ | ปรณนิบัติ | |
ปรมาณู | ปรมณู | ปรม + อณู |
ประกายพรึก | ประกายพฤกษ์ | ประกายพรึก - ชื่อดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด เรียกว่า ดาวประกายพรึก พฤกษ์ - ต้นไม้ กัลปพฤกษ์ - ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสำเร็จตามความปรารถนา |
ประกาศิต | ประกาษิต | |
ประจัญบาน | ประจันบาน, ประจันบาล, ประจัญบาล | |
ประจันหน้า | ประจัญหน้า | |
ประจำการ | ประจำการณ์ | ประจำการ - อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ประจำ, ยังอยู่ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่, เช่น ทหารประจำการ ประจำการณ์ - ไม่มีคำนี้ในพจนานุกรม เขียนผิด รักษาการณ์ - เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น มีทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา |
ประนม/ประณม/ประณต | ประนม - ยกกระพุ่มมือ เช่น ประนมมือ ประณม - (คำนาม)การน้อมไหว้ ประณต - (คำกริยา) น้อมไหว้ |
|
ประณาม | ประนาม | ประณาม(1) ก. น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี ประณาม (2) (1) กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง (2) ขับไล่ |
ประณีต | ปราณีต | ประณีต - ละเอียดลออ, เรียบร้อยงดงาม, เช่น ฝีมือประณีต |
ประดิดประดอย | ประดิษฐ์ประดอย | |
ประณาม | ประนาม | ประณาม (1) - น้อมไหว้ เช่น ขอประณามบาทบงสุ์พระทรงศรี. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม) ประณาม (2) - กล่าวร้ายให้เขาเสียหาย เช่น ถูกประณามว่าเป็นคนโกง (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม) - ขับไล่. (ส. ปฺรณาม; ป. ปณาม) |
ประนีประนอม | ปรานีปรานอม, ประณีประณอม | |
ประเมิน | ประเมิณ | อย่าสับสนกับ "ประมาณ" |
ประสบการณ์ | ประสพการณ์ | ประสบ - พบ, พบปะ, พบเห็น - ประสบการณ์ ประสพ - การเกิดผล |
ประสูติ | ประสูต, ประสูตร | |
ประสูติการ | ประสูติกาล | การคลอด |
ประสูติกาล | ประสูติการ | เวลาที่คลอด |
ประหัตประหาร | ประหัดประหาร, ประหัตถ์ประหาร | |
ปรัมปรา | ปรำปรา, ปะรำปะรา | อ่านว่า ปะ-รำ-ปะ-รา |
ปรัศนี | ปรัศนีย์ | ปรัศนี - เครื่องหมายคำถาม ปรัศนี - สิ่งที่เป็นเงื่อนงำต้องหาคำตอบ |
ปรากฏ | ปรากฎ | ใช้ ฏ ปฏัก |
ปรานี/ปราณี | ปรานี - เอ็นดูด้วยความสงสาร. ปราณี - ผู้มีชีวิต, สัตว์, คน |
|
ปรานีปราศรัย | ปราณีปราศัย | |
ปล้นสะดม | ปล้นสดมภ์ | สะดม - ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิทไม่รู้สึกตัว, ใช้เข้าคู่กับคำ ปล้น เป็น ปล้นสะดม สดมภ์ - เสา, หลัก, ช่องในแนวตั้งสำหรับกรอกรายการต่าง ๆ |
ปวารณา | ปวารนา | |
ปักษิน | ปักษิณ | ปักษิน, ปักษี - สัตว์มีปีก คือ นก ทักษิณ - ทิศใต้ ใช้ว่า ทิศทักษิณ, ข้างขวา |
ปาฏิหาริย์ | ปาฏิหาร, ปาฏิหารย์ | |
ปิกนิก | ปิคนิค | คำทับศัพท์ |
ปุโรหิต | ปุโลหิต | |
เปอร์เซ็นต์ | เปอร์เซนต์ | คำทับศัพท์ อย่าสับสนกับ ลายเซ็น ลายมือชื่อ |
หมวด ผ | ||
ผรุสวาท | ผรุสวาส | วาท - คำพูด, ถ้อยคำ อย่าสับสนกับคำว่า พิศวาส |
ผลลัพธ์ | ผลลัพท์ | |
ผลัด/ผัด | มักใช้สับสน | ผลัด หมายถึง เปลี่ยนแทนที่ เช่น ผลัดเสื้อผ้า, ผลัดเวร, ผลัดใบ, ผลัดขน, ผลัดเปลี่ยน ผัด มีความหมายหลายอย่าง เช่น ขอเลื่อนเวลา ย้ายไปย้ายมา หมุนไปมา ล่อให้ไล่ เช่น ผัดวันประกันพรุ่ง, ผัดผ่อน (ขอเลื่อนไปก่อน พอให้ทุเลา), ข้าวผัด, ขอผัดไปก่อน (ขอเลื่อนไปก่อน) |
ผลานิสงส์ | ผลานิสงฆ์ | |
ผอบ | ผะอบ | |
ผัดผ่อน | ผลัดผ่อน | |
ผัดวันประกันพรุ่ง | ผลัดวันประกันพรุ่ง | |
ผัดหนี้ | ผลัดหนี้ | |
ผาสุก | ผาสุข | |
ผุดลุกผุดนั่ง | ผลุดลุกผลุดนั่ง | |
ผูกพัน | ผูกพันธ์ | |
ผู้เยาว์ | ผู้เยา | เยาว-, เยาว์ หมายถคง อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์. (แผลงมาจาก ยุว) เยา แปลว่า เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา. |
เผลอไผล | เผอไผ | |
เผอเรอ | เผลอเรอ | เผอเรอ - ขาดความเอาใจใส่ในสิ่งที่ต้องทำ เผลอ - หลงลืมไปชั่วขณะ เช่น เผลอตัว เผลอสติ, เลินเล่อ, ไม่ระวังตัว, เช่น เผลอไปแผล็บเดียว แมวคาบปลาไปกินเสียแล้ว |
เผอิญ | ผเอิญ, ผะเอิญ | |
เผ่าพันธุ์ | เผ่าพันธ์ | เผ่าพันธุ์ - เชื้อสาย |
แผนการ | แผนการณ์ | |
ไผท | ผไท, ผะไท | |
หมวด ฝ | ||
ฝรั่งเศส | ฝรั่งเศษ | |
ฝักฝ่าย/ฝักใฝ่ | ฝักฝ่าย - พวก, ข้าง. หรือ เข้าพวก, เข้าข้าง. ฝักใฝ่ - เอาใจใส่, ผูกพัน. |
|
ฝีดาษ | ฝีดาด | ฝีดาษ - ไข้ทรพิษ |
หมวด พ | ||
พงศ์พันธุ์ | พงพันธุ์, พงศ์พันธ์ | |
ฯพณฯ | พณฯ | อ่านว่า "พะ-นะ-ท่าน" (ย่อมาจากคำ พณหัว พณหัวเจ้า พณหัวเจ้าท่าน). |
พยัก | พะยัก | |
พยักพเยิด | พะยักพะเยิด, พยักเพยิด | |
พยัคฆ์ | พยัค, พยัฆ | เสือ |
พยาน | พะยาน | |
พยาบาท | พญาบาท, พยาบาตร | |
พรรณนา | พรรณา | อ่านว่า พัน-นะ-นา |
พรหมจรรย์ | พรมจรรย์ | |
พรํ่าพลอด | พรํ่าพรอด | พร่ำพลอด - พูดออดอ้อนออเซาะ พรอด - เสียงดังอย่างเสียงของเหลวปนกับลมไหลออกจากช่องเล็ก ๆ หรือขึ้นมาจากเลนตม |
พลศึกษา | พละศึกษา | คำสมาส |
พลาสติก | พลาสติค | |
พหูสูต | พหูสูตร | |
พะแนง | พแนง, แพนง | |
พะยอม | พยอม | ชื่อต้นไม้ มีดอกสีขาว |
พะวักพะวน | พวักพวน | |
พังทลาย | พังทะลาย | ทลาย - อาการที่สิ่งซึ่งเป็นกลุ่มก้อนแตกหัก หรือพังกระจัดกระจาย ทะลาย - ช่อผลของหมากหรือมะพร้าว ที่ออกเป็นกลุ่มรวมกัน เช่น ทะลายหมาก ทะลายมะพร้าว |
พันทาง | พันธุ์ทาง | พันทาง - เรียกไก่ที่พ่อเป็นอู แม่เป็นแจ้ ว่า ไก่พันทาง, ภายหลังเรียกเลยไปถึง สัตว์ที่พ่อแม่ต่างพันธุ์กัน (ยกเว้นปลากัด) จนถึงสิ่งต่างชนิดบางอย่าง ที่แกมกันหรือไม่เข้าชุดกัน เช่น สุนัขพันทาง เครื่องลายครามพันทาง |
พัศดี | พัสดี | พัศดี มาจากภาษาสันสันสฤษ - ผู้บังคับการเรือนจำ, ผู้ปกครองนักโทษ สัสดี - ผู้รวบรวมบัญชีคน, เจ้าหน้าที่บัญชีทหาร |
พัสดุ | พัศดุ | |
พากย์ | พากษ์ | พากย์หนัง |
พาณิชย์ | พานิชย์ | |
พาหุรัด | พาหุรัต | |
พิณพาทย์ | พิณภาทย์ | |
พิธีรีตอง | พิธีรีตรอง | อย่าสับสนกับคำว่า ไตร่ตรอง |
พิบูล | พิบูลย์ | พิบูล - กว้างขวาง, มาก ไพบูลย์ - เต็มเปี่ยม, เต็มที่ |
พิพิธภัณฑ์ | พิพิทธภัณฑ์ | |
พิราบ | พิราป | นกพิราบ |
พิลาป | พิราป | พิลาป - ครํ่าครวญ, ร้องไห้ เช่น รำพันพิลาป |
พิศวง | พิสวง | |
พิศวาส | พิสวาส | |
พิสดาร | พิศดาร | |
พิสมัย | พิศมัย | พิสมัย (1)ความรัก, ความปลื้มใจ, ความชื่นชม (2)รักใคร่หลงใหล เช่น ฉันไม่เห็นจะพิสมัยเธอเลย (3)ควรชม |
พึมพำ | พึมพัม | |
พุดตาน | พุดตาล | อย่าสับสนกับคำว่า น้ำตาล |
พุทธชาด | พุทธชาติ | ดอกพุทธชาด |
พู่กัน | ภู่กัน | |
พู่ระหง | ภู่ระหง | |
เพชฌฆาต | เพชรฆาต | |
เพชร | เพ็ชร, เพ็ชร์ | |
เพนียด | พเนียด, พะเนียด | |
เพริศพริ้ง | เพริดพริ้ง | |
เพิ่มพูน | เพิ่มพูล | |
เพียบพร้อม | เพรียบพร้อม | |
แพทยศาสตร์ | แพทย์ศาสตร์ | แพทยศาสตร์ เป็นคำสมาส |
โพชฌงค์ | โพชงค์ | โพชฌงค์ - องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ |
โพ/โพธิ์ | โพธิ์ทะเล | โพ - ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ต้นโพ โพทะเล - ชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดพิจิตร, ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ต้นโพทะเล โพธิ์ - ชื่อต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, ความตรัสรู้ เช่น พระพุทธเจ้า ทรงประทับตรัสรู้ พระสัมมาสัมโพธิญาณ ใต้ต้นโพธิ์ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ |
โพนทะนา | โพนทนา | โพนทะนา - กล่าวโทษ, ติเตียน, พูดกล่าวโทษท่านต่อหน้าผู้อื่น |
ไพฑูรย์ | ไพทูรย์ | |
หมวด ฟ | ||
ฟังก์ชัน | ฟังก์ชั่น | เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษ มาจากคำว่า function ตัว ก ไม่ออกเสียงจึงมีเครื่องหมายการันต์ และ ไม่มีการใส่วรรณยุกต์ |
ฟั่น | ฝั้น | ฟั่น - คลึงสิ่งเป็นเส้นหลายเส้นให้เข้าเกลียวกัน เช่น ฟั่นด้าย |
ฟิวส์ | ฟิว | |
ฟุลสแก๊ป | ฟูลสแก็ป | เป็นคำทับศัพท์ มาจากคำว่า foolscap |
เฟิน/เฟิร์น | เฟิน - ชื่อพืชไร้ดอกพวกผักกูด, ใช้ว่า เฟิร์น ก็มี มาจากคำภาษาอังกฤษว่า fern | |
แฟชั่น | แฟชัน | เป็นคำทับศัพท์ มาจากคำว่า fashion แต่เวลาเขียนต้องมีไม้เอก |
ไฟแช็ก | ไฟแช็ค, ไฟแชค | ไฟแช็ก - อุปกรณ์จุดไฟชนิดหนึ่ง เวลาใช้ต้องทำให้จักรโลหะครูดกับหินถ่านไฟ เกิดประกายไฟติดไส้ที่ชุ่มด้วยนํ้ามันหรือแก๊สที่บรรจุอยู่ ลุกเป็นเปลวไฟขึ้น เมื่อจุดไฟจะเสียงดัง แช็ก จึงเรียกว่าไฟแช็ก |
หมวด ภ | ||
ภคินี | ภคิณี | ภคินี - พี่หญิง, น้องหญิง |
ภวังค์ | พวังค์ | ภวังค์ - ความเป็นอยู่โดยไม่รู้สึกตัว |
ภาคทัณฑ์ | ภาคฑัณฑ์ | |
ภาคภูมิ | พากพูม | ภาคภูมิ - มาจากภาษาบาลี ความหมายเดิมหมายถึง "ส่วนแห่งแผ่นดิน" แต่เรานำมาใช้ หมายถึง มีสง่า, ผึ่งผาย คำว่า "ภูมิ" แปลว่า "แผ่นดิน, ที่ดิน" แต่เรานำมาใช้หมายความว่า "สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย" เป็นการนำคำมาใช้ในความหมายที่ต่างไปจากความหมายเดิม |
ภาพยนตร์ | ภาพยนต์ | อย่าสับสนกับ รถยนต์ เครื่องยนต์ ยานยนต์ |
ภาวการณ์ | ภาวะการณ์, ภาวะการ | |
ภุชงค์ | พุชงค์ | ภุชงค์ - งู นาค นาคา |
ภูตผี | ภูติผี | |
ภูมิใจ | พูมใจ | |
หมวด ม | ||
มกุฎราชกุมาร | มงกุฏราชกุมาร, มกุฏราชกุมาร | มกุฎราชกุมาร - ตำแหน่งรัชทายาท ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงสถาปนา |
มงกุฎ | มงกุฏ | ใช้ ฎ ชฎา |
มณฑป | มนฑป, มณทป | อ่านว่า มน-ดบ |
มนเทียร/มณเฑียร | มนเฑียร | มนเทียร - เรือนหลวงซึ่งใช้เป็นที่ประทับประจำของพระมหากษัตริย์ ใช้ว่า พระราชมนเทียร, โบราณใช้ว่า พระราชมณเฑียร |
มรณภาพ | มรณะภาพ | |
มลทิน | มนทิน | มลทิน - ความมัวหมอง, ความด่างพร้อย, ความไม่บริสุทธิ์ มล - ความมัวหมอง, ความสกปรก, ความไม่บริสุทธิ์ มน (1)กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน (2)ใจ เช่น มโน มนัส (3)สนิม, เหงื่อไคล |
มหรรณพ | มหรรนพ, มหันนพ | มหรรณพ - ทะเลใหญ่, ห้วงนํ้าใหญ่ |
มหรสพ | มหรศพ | อ่านว่า มะ-หอ-ระ-สบ มหรสพ - การเล่นรื่นเริง เช่น โขน ละคร เป็นต้น |
มหัศจรรย์ | มหรรศจรรย์ | |
มหาหิงคุ์ | มหาหิงค์ | มหาหิงคุ์ - ยางของไม้ล้มลุกหลายชนิดหนึ่ง มีกลิ่นร้อนฉุนและเหม็น นิยมใช้เป็นยาทาภายนอก |
มไหศวรรย์ | มไหสวรรค์ | |
ม่อหัอม/ม่อฮ่อม/หม้อห้อม | หม้อฮ่อม | เสื้อม่อฮ่อม |
มัคคุเทศก์ | มัคคุเทศ, มัคคุเทศน์ | |
มัคนายก, มรรคนายก | มัคทายก, มรรคทายก | (บาลี) มคฺค + นายก (สันสกฤต) มารฺค + นายก หมายถึง ผู้นำทาง ได้แก่ ผู้จัดการทางกุศล หรือผู้ชี้แจง ทางบุญกุศล และป่าวประกาศ ให้ประชาชน มาทำบุญที่วัด |
มัณฑนศิลป์ | มันทนศิลป์, มันฑณศิลป์ | มัณฑนศิลป์ - ศิลปะการออกแบบ และตกแต่งผลิตกรรม หรืองานช่างต่าง ๆ |
มัธยัสถ์ | มัธยัสถุ์ | อย่าสับสนกับ ยานัตถุ์ |
มัศยา, มัตสยา | มัสยา | มัศยา - ปลา |
มัสมั่น | มัสหมั่น | อ่านว่า มัด-สะ-หมั่น แกงมัสมั่น |
มาตรฐาน | มาตราฐาน | |
มานุษยวิทยา | มนุษยวิทยา | มานุษยวิทยา - วิชาว่าด้วยเรื่องตัวคน และสิ่งที่คนสร้างขึ้น |
มืดมน | มืดมนต์, มืดมล | |
มุกตลก | มุขตลก | มุกตลก - วิธีทำให้ขบขัน |
แมงมุม | แมลงมุม | แมงมุม มี 8 ขา แมงมุมไม่ใช่แมลง |
แมงดา/แมลงดา | ใช้ได้ทั้งสองคำ | แมงดา (1) ชื่อสัตว์ทะเลในวงศ์ Xiphosuridae รูปร่างคล้ายจานควํ่า หางยาวเป็นแท่ง ในน่านนํ้าไทยพบ ๒ ชนิด คือ แมงดาจานหรือแมงดาทะเลหางเหลี่ยม บนสันหางเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย หน้าตัดของหางมีรูปคล้ายสามเหลี่ยม และ แมงดาทะเลหางกลม แมงดาถ้วย เหรา หรือ แมงดาไฟ ขนาดเล็กกว่าแมงดาจาน สันหางเรียบ หน้าตัดของหางค่อนข้างกลม ในบางฤดูกาล ไข่และอวัยวะภายในอาจเป็นพิษได้, แมงดาทะเล ก็เรียก (2) ชื่อตะเกียงอย่างโบราณ รูปคล้ายแมงดาทะเล ใช้แขวนจุดตามโรงหนังโรงโขน (3) ชื่อนาฬิกาแขวนมีรูปเป็น ๒ ตอนคล้ายกับรูปแมงดาทะเล (4) (ภาษาพูด) ชายที่อาศัยนํ้าพักนํ้าแรงของผู้หญิงโสเภณีดำรงชีวิต แมลงดา หมายถึงแมงดา ตามความหมาย (1) แมลงดานา แมลงดาขี้ควาย แมลงดาสวน แมลงดาโป้งเป้ง |
แมลงภู่ | แมลงพู | หอยแมลงภู่ |
แมลงสาบ | แมลงสาป | |
ไมยราบ/ไมยราพ | มักสับสน | ไมยราบ - ชื่อพืชชนิดหนึ่ง ต้นไมยราบ ไมยราพ - เป็นตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ มีเวทมนตร์สะกดทัพ |
มหัศจรรย์ | มหรรศจรรย์ | |
หมวด ย | ||
ย่อมเยา/เยาว์วัย | มักสับสน | เยา - เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา ราคาย่อมเยา เยาว์ - อ่อนวัย, รุ่นหนุ่ม, รุ่นสาว, เช่น เยาว์วัย วัยเยาว์ (แผลงมาจาก ยุว) |
ยาเกร็ด | ยาเกล็ด | ยาเกร็ด - ยาที่ไม่ใช่ยาตำราหลวง เกร็ด - ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด เช่น เกร็ดพงศาวดาร เกล็ด - ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด เช่น เกล็ดปลา เกล็ดมังกร |
ยานัตถุ์ | ยานัตถ์, ยานัด | |
ยีราฟ | อีราฟ | |
เยาว์วัย | เยาวัย | |
เยื่อใย | เยื่อไย | ใย ใช้ไม้ม้วน |
ใย/ไย | ใย (1)สิ่งที่เป็นเส้นเล็ก ๆ บาง ๆ เช่น ใยบัว ใยแมงมุม. (2)นวลบาง, บาง ๆ, ละเอียดอ่อน เช่น นวลใย ไย ไฉน, อะไร, ทำไม, เช่น จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา | |
ใยแมงมุม | ไยแมงมุม | ใย ใช้ไม้ม้วน |
ไยดี | ใยดี | ไยดี - พอใจ, ยินดี, เอื้อ, มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ไยดี อย่าไปไยดี |
หมวด ร | ||
รกชัฏ | รกชัฎ | ชัฏ (ใช้ ฏ ปฏัก) - ป่าทึบ, ป่ารก |
รถยนต์ | รถยนตร์ | |
รมณีย์ | รมนีย์, รมณี | |
รสชาติ | รสชาด | |
ร้องไห้ | ร้องให้ | |
ระบบนิเวศ | ระบบนิเวศน์ | |
ระเบ็งเซ็งแซ่ | ระเบงเซ็งแซ่ | ระเบ็ง - ดัง, ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด, มักใช้เข้าคู่กับคำ เซ็งแซ่ เป็น ระเบ็งเซ็งแซ่ เซ็งแซ่ - ดังอื้ออึงแซ่ไปหมด ระเบง - ตี เช่น ระเบงฆ้องกลอง |
ระเห็จ | รเห็จ, เรห็จ | ระเห็จ - ไปอยู่ในที่ที่ไม่สมควร เช่น ระเห็จขึ้นไปอยู่บนยอดไม้ |
รักษาการ/รักษาการณ์ | รักษาการ - ปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราว เช่น รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการ รักษาการณ์ - เฝ้าดูแลเหตุการณ์ เช่น มีทหารรักษาการณ์อยู่ตลอดเวลา ... |
|
รังควาน | รังควาญ | รังควาน - รบกวนทำให้รำคาญหรือเดือดร้อน เช่น คนพาลชอบรังควานคนอื่น |
รังสี | รังษี | |
รัญจวน | รัญจวญ, รัญจวณ | |
รากเหง้า | รากเง่า | เหง้า - ลำต้นที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เช่น ขิง กระวาน ที่จมอยู่ใต้ดิน หรือหมายถึง ต้นเดิม, ต้นวงศ์. เง่า - โง่, มักใช้พูดเข้าคู่กับคำ โง่ เป็น โง่เง่า |
ราชภัฏ | ราชภัฎ | ใช้ ฏ ปฏัก |
ราชัน/ราชันย์ | ราชัน - พระราชา ราชันย์ - เชื้อกษัตริย์. |
|
ราดหน้า | ลาดหน้า | ราดก. เทของเหลว ๆ เช่นนํ้าให้กระจายแผ่ไปหรือให้เรี่ยรายไปทั่ว เช่น ราดนํ้า ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ข้าวราดแกง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวราด ขี้ราด ลาด (1) ก. ปูแผ่ออกไป เช่น ลาดพรม ปูลาดอาสนะ, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ถนนลาดยาง (2) ว. เทตํ่าหรือเอียงขึ้นน้อย ๆ เช่น ที่ลาด |
ราพณาสูร | ราพนาสูร | |
ริบบิ้น | ริ้บบิ้น | ริบ - อักษรต่ำ คำตาย พื้นเสียงเป็นเสียงตรี ไม่ต้องใส่วรรณยุกต์ |
รื่นรมย์ | รื่นรมณ์ | |
เรี่ยไร/เรี่ยราย | เรี่ยไร - ขอร้องให้ช่วยออกเงินทำบุญเป็นต้นตามสมัครใจ เรี่ยราย - กระจายเกลื่อนไป เช่น กินข้าวหกเรี่ยรายไปทั่ว หมาคุ้ยขยะตกเรี่ยราย |
|
โรมันคาทอลิก | โรมันคาธอลิค | |
หมวด ฤ | ||
ฤกษ์พานาที | ฤกษ์ผานาที | ฤกษ์พานาที - ระยะเวลาที่เป็นฤกษ์ เลขผานาที - เลข (โดยมากใช้ในทางโหราศาสตร์) |
ฤทธิ์ | ฤทธ,ฤทธิ, ฤทธ์ | |
ฤๅษี, ฤษี | ฤาษี | |
หมวด ล | ||
ลดาวัลย์ | ลัดดาวัลย์, ลดาวัณย์ | ลดาวัลย์ - ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมเย็น |
ลมปราณ | ลมปราน | ปราณ - ลมหายใจ, สัตว์มีชีวิต, ชีวิต, ใจ. ปราน - โคตร, วงศ์. |
ลมหวน | ลมหวล | หวน - เวียนกลับ เช่น ลมหวน ลมหวน - ลมที่พัดกลับไปกลับมาขณะฝนตก หอมหวน - หอมตลบ |
ล็อกเกต | ล็อคเก็ต | |
ละเอียดลออ | ละเอียดละออ | |
ลักเพศ | ลักเพท, ลักเพส | |
ลังถึง | รังถึง | |
ลาดตระเวน | ลาดตระเวณ | มักสับสนกับ "บริเวณ" |
ลาดยาง | ราดยาง | เรียกถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้น ว่า ถนนลาดยาง |
ลายเซ็น | ลายเซ็นต์ | |
ลำไย | ลำใย | |
ลิดรอนสิทธิ์ | ริดรอนสิทธิ์ | ลิดรอน - ตัดทอน เช่น ลิดรอนอำนาจ ลิดรอนสิทธิ์ ลิด - เด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง เช่น ลิดกิ่ง ลิดใบ ริด มีใช้คำเดียวคือ ริดสีดวง |
ลิปสติก | ลิปสติค | |
ลิฟต์ | ลิปต์, ลิฟ , ลิฟท์ | มาจากคำภาษาอังกฤษ lift |
ลือชา/ฦๅชา | ฦๅชา เป็นคำโบราณ หมายถึง ลือชา | |
ลุกลี้ลุกลน | รุกรี้รุกรน, ลุกลี้ลุกรน | |
ลูกนิมิต | ลูกนิมิตร | |
ลูกบาศก์ | ลูกบาศ | |
เล่นพิเรนทร์ | เล่นพิเรนท์ | พิเรนทร์ - อุตรินอกลู่นอกทาง เช่น เล่นพิเรนทร์ คนพิเรนทร์ |
เล่ห์กระเท่ห์ | เล่กระเท่ | เล่ห์กระเท่ห์ - กลอุบาย, กลมารยา, อุบายล่อลวง |
โล่ | โล่ห์ | |
โลกาภิวัตน์ | โลกาภิวัฒน์ | |
โลหิต | โรหิต | |
หมวด ว | ||
วงศ์วาน | วงษ์วาน | วงศ์วาน - ลูกหลานเหลนในตระกูล, มักใช้เข้าคู่กับคำ ว่านเครือ เป็น วงศ์วานว่านเครือ |
วัคซีน | วักซีน | |
วัณโรค | วันโรค | |
วันทยหัตถ์ | วันทยาหัตถ์ | วันทยหัตถ์(คำสมาส) - ท่าเคารพด้วยมือของทหาร ตำรวจ ลูกเสือ เป็นต้น วันทย- ควรไหว้, ควรนอบนบ |
วันทยาวุธ | วันทยวุธ | คำสนธิ |
วางก้าม | วางกล้าม | วางก้าม - ทำท่าใหญ่โต, ทำท่าเป็นนักเลงโต กล้าม - มัดเนื้อที่รวมกันเป็นก้อน ๆ ในกายคนและสัตว์ เรียกว่า กล้ามเนื้อ |
วารดิถี | วาระดิถี | |
วิ่งเปี้ยว | วิ่งเปรี้ยว | วิ่งเปี้ยว - การเล่นวิ่งแข่งชนิดหนึ่ง เปรี้ยว - มีรสอย่างหนึ่งอย่างรสมะนาวเป็นต้น |
วิ่งผลัด | วิ่งผัด | |
วิตถาร | วิตรถาร, วิตถาน, วิตถาล | วิตถาร - กว้างขวาง, มากเกินไป, พิสดาร, นอกแบบ, นอกทาง |
วิตามิน | ไวตามิน | คำว่า ไวตามิน ไม่พบคำนี้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 |
วินาที | วินาฑี | |
วิหารคด | วิหารคต | วิหารคด - วิหารที่ประดิษฐานพระพุทธรูป มีลักษณะหักเป็นข้อศอก โดยมากตั้งอยู่ ๔ มุม ของเขตพุทธาวาส |
เวทมนตร์ | เวทย์มนตร์, เวทมนต์ | |
เวนคืน | เวรคืน | เวนคืนที่ดิน, เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ |
เวียดนาม | เวียตนาม | ประเทศเวียดนาม |
ไวยากรณ์ | ไวยกรณ์ | |
หมวด ต | ||
ศักย์/ศักดิ์ | ศักย์ - พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์ ศักดิ์ (1) อำนาจ, ความสามารถ, เช่น มีศักดิ์สูง ถือศักดิ์ (2) กำลัง (3) ฐานะ เช่น มีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญานี้ทุกประการ (4) หอก, หลาว |
|
ศัพท์ | ศัพย์ | |
ศิลปะ | ศิลป | คำต่อไปนี้ มีสระ อะ -ศิลปะ -ศิลปะปฏิบัติ - วิชาว่าด้วยการปฏิบัติทางศิลปะ เช่น วาดเขียน ปั้นดิน จักสาน เย็บปักถักร้อย -ศิลปะประยุกต์ - กรรมวิธีในการนำทฤษฎีและหลักการทางศิลปะไปใช้ในภาคปฏิบัติ -ศิลปะพื้นบ้าน - ศิลปะแขนงต่าง ๆ เช่น วรรณกรรม ประติมากรรม นาฏศิลป์ หัตถกรรม ที่ชาวบ้านได้สร้างสรรค์ขึ้นจากการเรียนรู้และฝึกปรือในครอบครัวหรือในหมู่บ้าน -ศิลปะสถาปัตยกรรม - ศิลปะลักษณะด้านสถาปัตยกรรม ที่ปรากฏในอาคาร ที่ได้รับการออกแบบ และสร้างขึ้นอย่างวิจิตรงดงาม เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม |
ศิลปกรรม | ศิลปะกรรม | คำสมาส |
ศิลปวัฒนธรรม | ศิลปะวัฒนธรรม | ศิลปวัฒนธรรม เป็นคำสมาส หากต้องการแยกคำควรใช้ "ศิลปะและวัฒนธรรม" |
ศิลปวัตถุ | ศิลปะวัตถุ | ศิลปวัตถุ เป็นคำสมาส |
ศีรษะ | ศรีษะ | |
ศึกษานิเทศก์ | ศึกษานิเทศ, ศึกษานิเทศน์ | นิเทศก์ - ผู้ชี้แจง เช่น ศึกษานิเทศก์ ธรรมนิเทศก์ นิเทศ (1)คำแสดง, คำจำแนกออก เช่น การนิเทศ (2)ชี้แจง, แสดง, จำแนก เช่น เดินทางไปนิเทศ |
หมวด ส | ||
สกัด | สะกัด | |
สกาว | สะกาว | |
สแกน | แสกน | |
สดับ | สะดับ | |
สถานการณ์ | สถานการ, สถานะการณ์ | |
สถิต | สถิตย์ | |
สบง | สะบง | |
สไบ | สะไบ, ไสบ | |
สมดุล | สมดุลย์ | |
สรรเพชญ | สรรเพชร | |
สรรแสร้ง | สรรค์แสร้ง | |
สรรหา | สรรค์หา | สรรค์ หมายถึง สร้าง, ทำให้เกิดขึ้น |
สร้างสรรค์ | สร้างสรร | |
สวรรคต | สวรรณคต | |
สอบเชาวน์ | สอบเชาว์ | |
สะกด | สกด | |
สะกิด | สกิด | |
สะคราญ | สคราญ | |
สะดวก | สดวก | สะดวกสบาย |
สะพรึงกลัว | สะพึงกลัว | |
สะพาน | สพาน | |
สะเหล่อ | สะเหร่อ, เสร่อ, เสล่อ | สะเหล่อ - ทั้งเซ่อและเล่อ, ทั้งเซ่อซ่าและเล่อล่า |
สะอาด | สอาด | |
สักการบูชา | สักการะบูชา | คำสมาส |
สังเกต | สังเกตุ | |
สังเขป | สังเขบ | สังเขป - ใจความย่อ, เค้าความย่อ, เช่น เขียนมาพอเป็นสังเขป |
สังวร | สังวรณ์ | สังวร -ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน, สำรวม, เหนี่ยวรั้ง อาวรณ์ - ห่วงใย, อาลัย, คิดกังวลถึง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาลัย เป็น อาลัยอาวรณ์ |
สังวาล | สังวาลย์ | ยกเว้นชื่อเฉพาะ "สังวาลย์" |
สังสรรค์ | สังสรร | สังสรรค์ - พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราว สร้างสรรค์ - สร้างให้มีให้เป็นขึ้น, มีลักษณะริเริ่มในทางดี สีสัน - สีต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้าร้านนี้มีสีสันสดใสดี จัดสรร - แบ่งส่วนไว้โดยเฉพาะ เช่น หมู่บ้านจัดสรร เลือกสรร - พิจารณาคัดเอาแต่ที่ดี ๆ |
สัญลักษณ์ | สัญญลักษณ์ | |
สัณฐาน | สันฐาน, สัณฐาณ | รูปพรรณสัณฐาน |
สันโดษ | สัญโดษ | |
สับปลับ | สับปรับ | สับปลับ - กลับกลอกเชื่อไม่ได้ ปรับ - บอก, เล่า, เทียบ, ทำให้เสมอ, ลงโทษ |
สับปะรด | สัปรด, สับปะรส | |
สัปเหร่อ | สับปะเหร่อ | |
สัพยอก | สรรพยอก | |
สัมมนา | สัมนา, สำมะนา | |
สาธารณชน | สาธารณะชน | คำสมาส |
สาธารณประโยชน์ | สาธารณะประโยชน์ | คำสมาส |
สาธารณสถาน | สาธารณะสถาน | คำสมาส |
สาธารณสุข | สาธารณะสุข | คำสมาส |
สาบสูญ | สาปสูญ | สาป - คำแช่งให้เป็นไปต่าง ๆ |
สาบาน | สาบาญ | |
สาปแช่ง | สาบแช่ง | |
สายสิญจน์ | สายสิญจ์ | |
สารบัญ/สารบาญ | สารบัญ/สารบาญ - บัญชีเรื่อง, รายชื่อเรื่อง (ใช้ได้ทั้งสองคำ) | |
สารประโยชน์ | สาระประโยชน์ | คำสมาส |
สารภี/สารพี | ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง ดอกสีขาวกลิ่นหอม สารพี - ภาษาพูด หมายถึง ทัพพี |
|
สาระสำคัญ | สารสำคัญ | ไม่ใช่คำสมาส |
สารัตถประโยชน์ | สารัตถะประโยชน์ | คำสมาส |
สารัตถะสำคัญ | สารัตถสำคัญ | มิใช่คำสมาส |
สำอาง | สำอางค์ | เครื่องสำอาง |
สิงโต | สิงห์โต | สิงห์ - สัตว์ในนิยาย |
สิทธิ/สิทธิ์ | สิทธิ (อ่านว่า สิด-ทิ), สิทธิ์ - อำนาจอันชอบธรรม (ใช้ได้ทั้งสองคำ) | |
สีสัน | สีสรร, สีสรรค์ | |
สุญญากาศ | สูญญากาศ | |
สูจิบัตร/สูติบัตร | สูจิบัตร - ใบแจ้งกำหนดการต่าง ๆ สูติบัตร - เอกสารที่แสดงถึงสัญชาติ, ใบเกิด |
|
เสบียง | สะเบียง, สเบียง | |
เสื้อเชิ้ต | เสื้อเชิ๊ต | |
หมวด ห | ||
หงส์ | หงษ์ | |
หน็อยแน่ | หนอยแน่ | |
หน้าปัดนาฬิกา | หน้าปัทม์นาฬิกา | หน้าปัด - แผ่นที่มีตัวเลขหรือสัญลักษณ์แสดงเวลาหรือปริมาณเป็นต้น เช่น หน้าปัดนาฬิกา หน้าปัดวิทยุ หน้าปัดมาตรวัดนํ้า |
หม้อห้อม/ม่อห้อม/ม่อฮ่อม | หม้อฮ่อม | |
หมาใน | หมาไน | |
หมามุ่ย/หมามุ้ย | หมาหมุ้ย | |
หมูหย็อง | หมูหยอง | |
หยากไย่/หยักไย่ | หยากใย่, หยักใย่ | |
หย่าร้าง | อย่าร้าง | |
หลงใหล | หลงไหล | ไหล - ปลาไหล, ส่วนของพืช เช่น หางไหล, เหล็กไหล ใหล - หลงใหล, หลับใหล |
หลับใหล | หลับไหล | |
ห่วงใย | ห่วงไย | |
หัวมังกุท้ายมังกร | หัวมงกุฎท้ายมังกร | หัวมังกุท้ายมังกร - ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลายอย่างปนกัน |
เหม็นสาบ | เหม็นสาป | -สาบ บ ใบไม้ สะกด มีความหมายหลายอย่าง เป็นต้นว่า กลิ่นเหม็น เช่น เหม็นสาบ. ชื่อแมลงชนิดหนึ่ง คือ แมลงสาบ. หมายความว่า จืด เช่น ทะเลสาบ คือ ทะเลน้ำจืด. หมายความว่า หมดไป สูญไป เช่น สาบสูญ. นอกจากนี้ ยังใช้ในความหมายว่า ผ้าทาบที่อกเสื้อสำหรับติดกระดุมหรือเจาะรังดุม เรียกว่า สาบเสื้อ -สาป ที่ใช้ ป ปลา สะกด มีความหมายว่า กล่าวให้ร้ายให้มีอันเป็นไปต่าง ๆ เช่น สาปแช่ง. สาปส่ง. ถูกสาปให้เป็นหิน |
เหล็กใน | เหล็กไน | เหล็กใน - เดือยแหลมที่มีในก้นหรือปลายหางสัตว์บางชนิด มีผึ้ง แมงป่อง เป็นต้น (ให้จำว่า เหล็กอยู่ข้างใน) |
แหลกลาญ | แหลกราญ | |
โหยหวน | โหยหวล | หวน - เวียนกลับ เช่น ลมหวน หวล - ไม่พบคำนี้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 |
โหระพา | โหรพา, โหระภา | |
หมวด อ | ||
องคชาต | องคชาติ | |
อธิษฐาน | อธิฐาน | |
อนาจาร | อนาจาน, อนาจารณ์ | |
อนาถ | อนาจ | |
อนาทร | อนาธร | |
อนุกาชาด | อนุกาชาติ | |
อนุญาต | อนุญาติ | ญาติ เขียนมีสระ อิ |
อนุสาวรีย์ | อนุเสาวรีย์ | |
อเนก | เอนก | เช่น อเนกประสงค์ |
อเนจอนาถ | อเน็จอนาถ | |
อภิรมย์ | อภิรมณ์ | |
อภิเษก | อภิเสก | |
อมรินทร์ | อัมรินทร์ | อมรินทร์ - พระอินทร์ |
อลักเอลื่อ | อะหลักอะเหลื่อ | อลักเอลื่อ - อึดอัดใจ, ลำบากใจ |
อลังการ | อลังการ์,อลังการณ์ | อลังการ - การตกแต่ง, การประดับ |
อวสาน | อวสานต์ | |
อหังการ | อหังการ์ | อหังการ - การยึดว่าเป็นตัวเรา, ความเย่อหยิ่งจองหอง, ความทะนงตัว, ความก้าวร้าวด้วยการถือว่าตนเองสำคัญ, หยิ่ง, จองหอง, อวดดี อหังการ์ - ไม่พบคำนี้ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 |
อะลุ่มอล่วย/อะลุ้มอล่วย | อลุ่มอล่วย | อะลุ่มอล่วย, อะลุ้มอล่วย - ปรองดองกัน, ผ่อนหนักผ่อนเบาให้แก่กัน. |
อะไหล่ | อะหลั่ย | |
อัญชัน | อัญชัญ | ดอกอัญชัน |
อัฒจันทร์ | อัธจันทร์ | |
อัตคัด | อัตคัต | อัตคัด - ขัดสน, ฝืดเคือง, ยากจน, เช่น เขาเป็นคนอัตคัด |
อัมพาต | อัมพาส | |
อานิสงส์ | อานิสงฆ์ | อานิสงส์ - ผลแห่งกุศลกรรม สงฆ์ - พระสงฆ์ |
อาเพศ | อาเพส | |
อาสน์สงฆ์ | อาสสงฆ์ | อาสน์สงฆ์ - ที่ยกพื้นสำหรับพระสงฆ์นั่ง. |
อำนาจบาตรใหญ่ | อำนาจบาทใหญ่ | อำนาจบาตรใหญ่ - อำนาจที่ใช้ในทางข่มขี่ |
อำมหิต | อัมหิต | |
อิริยาบถ | อิริยาบท | |
อิสรภาพ | อิสระภาพ | คำสมาส |
อุดมการณ์ | อุดมการ | การณ์ - เหตุ, เค้า, มูล, เช่น รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สังเกตการณ์ การ - งาน, สิ่งที่ทำ, เรื่อง, ธุระ, หน้าที่ เช่น การงาน การครัว หรือหมายถึง ผู้ทำ เช่น กรรมการ นักการ เป็นต้น |
อุทธรณ์ | อุธรณ์ | |
อุทาหรณ์ | อุธาหรณ์ | |
อุบาทว์ | อุบาท | |
อุปการคุณ | อุปการะคุณ | |
อุปโลกน์ | อุปโลก, อุปโหลก | อุปโลกน์ - ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า |
อุปัชฌาย์ | อุปัชฌา, อุปัชชา | |
อุโมงค์ | อุโมง | |
เอกเขนก | เอกขเนก | มักจะสับสน นำไปเทียบกับคำว่า อเนก อเนก - มาก, หลาย, เช่น อเนกประการ อเนกประสงค์ |
เอกฉันท์ | เอกฉัน | เอกฉันท์ (เอก-กะ-ฉัน) - มีความเห็นเป็นอย่างเดียวกันหมด |
โอกาส | โอกาศ | มักจะสับสนกับ คำว่า อากาศ ประกาศ |
ไอศกรีม | ไอศครีม | |
หมวด ฮ | ||
ฮ่อยจ๊อ | ฮ่อนจ๊อ, หอยจ๊อ,ห้อยจ๊อ, | ฮ่อยจ๊อ - ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้เนื้อปู มันหมูแข็งต้มสุก ผสมกับแป้งมันและเครื่องปรุงรส บดหรือโขลกจนเหนียวแล้วห่อด้วยฟองเต้าหู้เป็นท่อน กลม ๆ ยาว ๆ มัดเป็นเปลาะ ๆ นึ่งแล้วทอดให้สุก กินกับน้ำจิ้ม |
เฮโลสาระพา | เฮโลโหระพา |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น