ตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ความสอดคล้อง และไม่สอดคล้อง สอบ ก.พ.
หลักการวิเคราะห์ความสอดคล้อง ไม่สอดคล้อง ในเชิงตรรกะ สำหรับ สอบ ก.พ.
ก่อนที่จะวิเคราะห์ประโยค จำเป็นต้องทบทวนพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ ประโยค หรือ statement ในเชิงตรรกศาสตร์ และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อจะได้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ ความสอดคล้อง หรือไม่สอดคล้องได้อย่างถูกต้อง
รูปแบบประโยค
ประโยคในเชิงตรรกะ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ประธาน (S หรือ subject) ตัวเชื่อม (Corpus) และ ส่วนขยาย (P หรือ predicate) เช่น
ในภาษาพูด เราอาจจะพูดสั้น ๆ เช่น แมวมี 4 ขา ในประโยคนี้ S = "แมว" ตัวเชื่อม = "เป็น" และ P = "สัตว์ที่มี 4 ขา" หรือ "แมวเป็นสัตว์ที่มี 4 ขา"
ตัวบอกปริมาณ (quantity)
ตัวบอกปริมาณ (quantity) มี 2 ตัว ได้แก่ ปริมาณสากล(universal) และ ปริมาณเฉพาะ(particular)
การแปลงประโยคธรรมดา ให้เป็นประโยคทางตรรกศาสตร์
การแปลงประโยคธรรมดา ให้เป็นประโยคทางตรรกศาสตร์ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน ข้อสำคัญคือ เมื่อเปลี่ยนประโยคแล้ว ความหมายต้องเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนไป
รูปแบบประโยคมาตรฐาน 4 รูปแบบ
รูปแบบ A: สากล-บอกเล่า (Universal Affirmative)
S ทุกตัวเป็น P หรือ All S are P.
เป็นประโยคที่ประธานของประโยค (S)มีความหมายรวมถึงจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมด (Universe) และเป็นประโยคบอกเล่า สังเกตได้คือ จะมีคำว่า "ทั้งหมด" "ทั้งมวล" "ทั้งสิ้น" "ทุกชนิด" "แต่ละอย่าง" "แต่ละชนิด" เป็นต้น อยู่ในประโยคด้วย
ตัวอย่างประโยค
หมายเหตุ
ไม่มี S ตัวใดที่เป็น P หรือ No S are P.
รูปแบบ I: ชี้เฉพาะ-บอกเล่า (Specific-Affirmative)
S บางตัวเป็น P หรือ Some S are P.
ตัวอย่างประโยค
รูปแบบ O: ชี้เฉพาะ-ปฎิเสธ (Specific-Negative)
S บางตัวไม่เป็น P หรือ Some S are not P.
ตัวอย่างประโยค
จตุรัสแห่งความขัดแย้ง (Square of opposition)
ประโยคทั้ง 4 รูปแบบ มีความสัมพันธ์กัน ตาม จตุรัสแห่งความขัดแย้ง (Square of opposition) ดังนี้
การเปลี่ยนประโยค
ประโยคมาตรฐานทั้ง 4 แบบข้างต้น คือ A, E, I และ O ก็สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่ง บางอย่างยังคงความหมายเดิม หรือ สอดคล้องกับความหมายเดิม แต่บางอย่างก็ ไม่สอดคล้องกับประโยคเดิม
วิธีการเปลี่ยนแปลงประโยค 3 วิธี ได้แก่ Conversion, Obvertion และ Contraposition
สรุป Conversion, Obversion และ Contraposition
A: All S are P
Some P are S
(Partial Conversion)
E: No S are P
No P are S
I : Some S are P
Some P are S
O: Some S are not P
ไม่มี
Obversion
A: All S are P
No S are non-P
E: No S are P
All S are non-P
I : Some S are P
Some S are not non-P
O: Some S are not P
Some S are non-P
Contraposition
A: All S are P
All non-P are non-S
E: No S are P
Some non-P are not non-S.
(Partial contraposition)
I : Some S are P
ไม่มี
O: Some S are not P
Some non-P are not non-S
ตัวอย่างประโยค
1. Conversion
2. Obversion (เปลี่ยนคุณภาพ หรือ Quality แล้ว เปลี่ยนส่วนขยายเป็นปฏิเสธ ประโยคใหม่ จะสอดคล้องกับประโยคเดิม ทุกกรณี)
3. Contraposition
DeMorgan's Laws:
ตามกฎของ DeMorgan's Laws เราสรุปได้ว่า
การนำ กฎของ DeMorgan's Laws ไปใช้วิเคราะห์ความสอดคล้อง
คำว่า "แต่" ไม่เป็นคำเชื่อมในทางตรรกศาตร์ (Logical connector) ถ้าพบในโจทย์ ให้เปลี่ยนเป็นคำว่า และ เช่น
นกกระจอกเทศมีปีกแต่บินไม่ได้ → นกกระจอกเทศเป็นสัตว์มีปีก และ นกกระจอกเทศเป็นสัตว์บินไม่ได้
ตัวอย่างการวิเคราะห์ความสอดคล้อง (อยู่บนเงื่อนไขว่า ประโยคที่ 1 เป็นจริง ทุกประโยค)
อ้างอิง
http://www.uky.edu/~rosdatte/phi120/lesson11a.htm
http://rintintin.colorado.edu/~vancecd/phil1440/notes.html
Logic for Dummies ของ Mark Zegarel
Introduction to Logic ของ Irving M. Copi และคณะ
https://www.slideshare.net/nicklykins/44-conversion-obversion-and-contraposition
http://www.thinkingshop.com/Clarion/logic/chap4.htm
http://academic.csuohio.edu/polen/LC9_Help/4/immediate.htm https://www.cs.rochester.edu/~nelson/courses/csc_173/proplogic/laws.html https://www.youtube.com/watch?v=lBcWHXpNy10&t=612s
ก่อนที่จะวิเคราะห์ประโยค จำเป็นต้องทบทวนพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับ ประโยค หรือ statement ในเชิงตรรกศาสตร์ และความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อจะได้สามารถนำไปใช้วิเคราะห์ ความสอดคล้อง หรือไม่สอดคล้องได้อย่างถูกต้อง
รูปแบบประโยค
ประโยคในเชิงตรรกะ มีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ ประธาน (S หรือ subject) ตัวเชื่อม (Corpus) และ ส่วนขยาย (P หรือ predicate) เช่น
ประธาน (S) | ตัวเชื่อม(Corpus) | ส่วนขยาย(P) |
---|---|---|
แมวทุกตัว | เป็น | สัตว์มีสี่ขา |
สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำส่วนใหญ่ | เป็น | สัตว์ที่ไม่มีพิษ |
ไม่มีแมวตัวใด | เป็น | สัตว์เลือดเย็น |
ตัวบอกปริมาณ (quantity) มี 2 ตัว ได้แก่ ปริมาณสากล(universal) และ ปริมาณเฉพาะ(particular)
- ปริมาณสากล(universal) ในภาษาปกติ จะมีการใช้คำหลายคำ เช่น ทั้งหมด แต่ละคน ทุก ๆ คน เป็นต้น
- ปริมาณเฉพาะ(particular) ในภาษาปกติ จะมีการใช้คำ ที่มีความหมายเดียวกันหลายคำ เช่น บางคน บางสิ่ง ส่วนน้อย ส่วนใหญ่ ส่วนมาก มีอย่างน้อย 1 อย่าง เป็นต้น
คำว่า บาง ในเชิงตรรกะ มีความหมายต่างไปจากภาษาปกติคือ ในทางตรรกะ คำว่าบาง หมายถึงมีอย่างน้อย 1 อย่าง เช่น
มีคนงานจำนวน 50 คน เป็นผู้ชาย 1 คน เป็นผู้หญิง 49 คน
ในทางตรรกะ จะพูดว่า "คนงานบางคนเป็นผู้หญิง"
แต่ในภาษาปกติ เราจะพูดว่า "คนงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง"
ดังนั้น ในทางตรรกะ ประโยคที่ว่า "คนงานบางคนเป็นผู้หญิง" และ "คนงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง" จึงมีความสอดคล้องกัน
การแปลงประโยคธรรมดา ให้เป็นประโยคทางตรรกศาสตร์
การแปลงประโยคธรรมดา ให้เป็นประโยคทางตรรกศาสตร์ ไม่มีหลักเกณฑ์แน่นอน ข้อสำคัญคือ เมื่อเปลี่ยนประโยคแล้ว ความหมายต้องเหมือนเดิม ไม่เปลี่ยนไป
ประโยคธรรมดา | ประโยคทางตรรกศาสตร์ |
---|---|
นกบินได้ | นกเป็นสัตว์ที่บินได้ |
คนขยันทุกคนสอบได้ | คนขยันทุกคนเป็นคนสอบได้ |
ครูบางคนใจดี | ครูบางคนเป็นคนใจดี |
แมวบางตัวอ้วน | แมวบางตัวเป็นสัตว์อ้วน |
พัดโบกเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง | พัดโบกทุกอัน เป็น เครื่องสูง |
คนทุกคนถ้ายึดมั่นในความซื่อสัตย์แล้วจะประสบความสำเร็จในชีวิต | คนทุกคนที่ยึดมั่นในความซื่อสัตย์ เป็น คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต |
คนที่ขยันอ่านหนังสือมีเพียงส่วนน้อยที่สอบตก | คนที่ขยันอ่านหนังสือบางคน เป็น คนที่สอบตก |
คนที่นับถือศาสนาบางคนยึดมั่นในหลักธรรมะแล้วจะมีความสุข | คนนับถือศาสนาที่ยึดมั่นในหลักธรรมะบางคน เป็น คนที่มีความสุข |
ใครก็ตามที่ทำดีจะได้รับคำชมเชย | ผู้ที่ทำดีทุกคน เป็น คนที่ได้รับคำชมเชย |
รูปแบบประโยคมาตรฐาน 4 รูปแบบ
รูปแบบ A: สากล-บอกเล่า (Universal Affirmative)
S ทุกตัวเป็น P หรือ All S are P.
เป็นประโยคที่ประธานของประโยค (S)มีความหมายรวมถึงจำนวนที่มีอยู่ทั้งหมด (Universe) และเป็นประโยคบอกเล่า สังเกตได้คือ จะมีคำว่า "ทั้งหมด" "ทั้งมวล" "ทั้งสิ้น" "ทุกชนิด" "แต่ละอย่าง" "แต่ละชนิด" เป็นต้น อยู่ในประโยคด้วย
ตัวอย่างประโยค
กล้วยทุกชนิดเป็นผลไม้ |
แมวทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
แมวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus Linn. ในวงศ์ Felidae หัวกลมและสั้น มีเขี้ยว ๒ คู่ ขนยาวนุ่ม ตีนหน้ามี ๕ นิ้ว ตีนหลังมี ๔ นิ้ว ซ่อนเล็บได้ หางยาว สั้น หรือขอด มีหลายสี เช่น ดำ ขาว นํ้าตาล หรืออาจมีลายต่าง ๆ ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ตามบ้าน |
- ประโยคที่ว่า All S are not P ไม่เป็นประโยคมาตรฐาน เพราะเป็นประโยคกำกวม อาจจะหมายถึง E หรือ O ก็ได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุการณ์แวดล้อม เช่น
กรณีประโยค Eครูให้นักเรียนทายสีของกระต่าย ครูว่า "กระต่ายทุกตัวไม่มีสีขาว" ครูหมายถึง "ไม่มีกระต่ายตัวใดที่มีสีขาว" กรณีนี้ จะหมายถึง ประโยค E (No S are P)กรณีประโยค Oครูพานักเรียนอนุบาลไปสวนสัตว์ เห็นกระต่ายหลายตัว ทุกตัวมีสีขาว ครูพูดว่า "กระต่ายทุกตัวไม่มีสีขาว" ครูต้องการบอกนักเรียนว่า ที่เห็นกระต่ายสีขาวนี้ ไม่ใช่ว่ากระต่ายทุกตัวในโลก จะมีสีขาวเหมือนกันหมด แต่ "มีกระต่ายบางตัวที่ไม่มีสีขาว" กรณีนี้ จะหมายถึง ประโยค O (Some S are not P) - ในภาษาไทย ส่วนใหญ่ เรามักจะใช้รูปแบบ All S are not P ในความหมายว่า No S are not P (ประโยค E) เช่น
ไม่มีกระต่ายตัวใดมีสีขาว → กระต่ายทุกตัวไม่มีสีขาว
ไม่มีคนไทยคนใดชอบการลักขโมย → คนไทยทุกคนไม่ชอบการลักขโมย
ไม่มี S ตัวใดที่เป็น P หรือ No S are P.
ไม่มีกล้วยชนิดใดเป็นผลไม้ |
ไม่มีแมวตัวใดเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
ไม่มีแมวตัวใดเป็นสัตว์เลือดเย็น |
ไม่มีสารเคมีฆ่าแมลงชนิดใด ที่นำไปสู่เกษตรกรรมที่ยั่งยืน |
รูปแบบ I: ชี้เฉพาะ-บอกเล่า (Specific-Affirmative)
S บางตัวเป็น P หรือ Some S are P.
ตัวอย่างประโยค
กล้วยบางชนิดเป็นผลไม้ |
แมวบางตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
แมวบางตัวเป็นสัตว์มีขนสีขาว |
เปลือกเมล็ดบางชนิดของพืช เปลี่ยนสภาพไปหลายรูปแบบ เช่น เป็นใยสีขาวทำให้เมล็ดปลิวไปตามลมได้ |
รูปแบบ O: ชี้เฉพาะ-ปฎิเสธ (Specific-Negative)
S บางตัวไม่เป็น P หรือ Some S are not P.
ตัวอย่างประโยค
กล้วยสุกบางชนิดไม่มีสีเหลือง |
แมวบางตัวไม่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม |
แมวบางตัวไม่เป็นสัตว์เลี้ยง |
ปฏิกิริยารับอาหารบางชนิดไม่ได้เกิดขึ้นช้ากว่าปฏิกิริยาภูมิแพ้และไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งยังมักไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต |
จตุรัสแห่งความขัดแย้ง (Square of opposition)
ประโยคทั้ง 4 รูปแบบ มีความสัมพันธ์กัน ตาม จตุรัสแห่งความขัดแย้ง (Square of opposition) ดังนี้
-
แบบขัดแย้งกัน (contradictories)
เป็นความสัมพันธ์ ระหว่าง A กับ O และ E กับ I
เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สอดคล้องกันระหว่างประโยค 2 ประโยค ที่มีประธาน(S) ตัวเดียวกัน และมีส่วนขยาย(P) ตัวเดียวกัน เช่น
ถ้า A เป็นจริง O ต้องเป็นเท็จ หรือ ถ้า O เป็นจริง A ต้องเป็นเท็จ
- ผู้พิพากษาทุกคนเป็นนักกฎหมาย (A)ถ้า E เป็นจริง I ต้องเป็นเท็จ หรือ ถ้า I เป็นจริง O ต้องเป็นเท็จ
- ผู้พิพากษาบางคนไม่เป็นนักกฎหมาย (O)
- ไม่มีนักการเมืองคนใดเป็นนักอุดมคติ (E)
- นักการเมืองบางคนเป็นนักอุดมคติ (I) -
แบบตรงข้าม (contraries)
เป็นความสัมพันธ์ ระหว่าง A กับ E
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประโยค 2 ประโยค ที่มีประธาน(S) ตัวเดียวกัน และมีส่วนขยาย(P) ตัวเดียวกัน โดยที่จะเป็นจริงพร้อม ๆ กันไม่ได้ แต่สามารถเป็นเท็จพร้อม ๆ กันทั้งสองประโยคได้ ดังนั้น ถ้าประโยคใดประโยคหนึ่งเป็นจริง อีกประโยคจะเป็นเท็จ (ไม่สอดคล้องกัน) แต่ถ้าประโยคใด ประโยคหนึ่งเป็นเท็จ เราสรุปไม่ได้ว่า อีกประโยคจะเป็นจริงหรือเท็จ เพราะอาจจะเป็นเท็จทั้งสองประโยค ก็ได้
กรณีเป็นจริง(ไม่สอดคล้อง)
ถ้า A เป็นจริง E เป็นเท็จ
ถ้า E เป็นจริง A เป็นเท็จ
-แมวของฉันทุกตัวชอบอาหารเม็ด(A)
-ไม่มีแมวของฉันตัวใดชอบอาหารเม็ด (E)
สมมุติว่า ฉันมีแมว 5 ตัว แมวทั้ง 5 ตัวชอบกินอาหารเม็ด จะทำให้ประโยค (A) เป็นจริง และ ประโยค (E) เป็นเท็จ
แต่ถ้าแมวทั้ง 5 ตัว ไม่ชอบอาหารเม็ด จะทำให้ประโยค (E) เป็นจริง และ ประโยค (A) เป็นเท็จ
กรณีเป็นเท็จ(สรุปไม่ได้)
ถ้า A เป็นเท็จ สรุปไม่ได้ว่า E เป็นจริงหรือเท็จ
ถ้า E เป็นเท็จ สรุปไม่ได้ว่า A เป็นจริงหรือเท็จ
-แมวของฉันทุกตัวชอบอาหารเม็ด(A)
-ไม่มีแมวของฉันตัวใดชอบอาหารเม็ด (E)
สมมุติว่า ฉันมีแมว 5 ตัว ประโยค A จะเป็นเท็จ ได้ เช่น (1)แมวทั้ง 5 ตัวของฉันไม่ชอบกินอาหารเม็ด หรือ (2) แมวของฉัน 3 ตัวชอบอาหารเม็ด แต่อีก 2 ตัวไม่ชอบอาหารเม็ด
ดังนั้น ถ้าเป็นกรณี (1) ประโยคที่ว่า "ไม่มีแมวของฉันตัวใดชอบอาหารเม็ด" ก็จะเป็นจริง
แต่ถ้าเป็นกรณี (2) ประโยคที่ว่า "ไม่มีแมวของฉันตัวใดชอบอาหารเม็ด" ก็จะเป็นเท็จ
ดังนั้น ในกรณีที่ประโยค A เป็นเท็จ จึงสรุปไม่ได้ว่า E จะเป็นจริงหรือเท็จ
ทำนองเดียวกัน ถ้า E เป็นเท็จ ก็สรุปเกี่ยวกับประโยค A ไม่ได้ เช่นกัน
สรุป
ถ้า A เป็นจริง E เป็นเท็จ ประโยคทั้งสอง ไม่สอดคล้องกัน
ถ้า A เป็นเท็จ E สรุปไม่ได้
ถ้า E เป็นจริง A เป็นเท็จ ประโยคทั้งสอง ไม่สอดคล้องกัน
ถ้า E เป็นเท็จ A สรุปไม่ได้
อย่างไรก็ตาม ในการทำข้อสอบ เราจะถือว่า ประโยคที่กำหนดให้ เป็นจริงตามที่กำหนด ดังนั้น เราจึงจะใช้กรณีเป็นจริง ในการวิเคราะห์ความสอดคล้อง นอกจากว่า โจทย์จะบอกชัดเจนว่า สิ่งที่กำหนดให้เป็นเท็จ เช่น ไม่เป็นความจริงที่แมวทุกตัวของฉันชอบอาหารเม็ด เป็นต้น -
แบบกึ่งตรงข้าม (subcontraries)
เป็นความสัมพันธ์ของประโยค I กับประโยค O
เป็นความสัมพันธ์ระหว่างประโยค 2 ประโยค ที่มีประธาน(S) ตัวเดียวกัน และมีส่วนขยาย(P) ตัวเดียวกัน โดยที่จะเป็นเท็จพร้อม ๆ กันไม่ได้ แต่สามารถเป็นจริงพร้อม ๆ กันทั้งสองประโยคได้ ดังนั้น ถ้าประโยคใดประโยคหนึ่งเป็นเท็จ อีกประโยคจะเป็นจริง (ไม่สอดคล้องกัน) แต่ถ้าประโยคใดประโยคหนึ่งเป็นจริง เราสรุปไม่ได้ว่า อีกประโยคจะเป็นจริงหรือเท็จ เพราะอาจจะเป็นจริง ทั้งสองประโยค ก็ได้
กรณีเป็นจริง (สรุปไม่ได้)
ถ้า I เป็นจริง สรุปไม่ได้ว่า O เป็นจริงหรือเท็จ
ถ้า O เป็นจริง สรุปไม่ได้ว่า I เป็นจริงหรือเท็จ
-แมวของฉันบางตัวชอบกินปลาทู(I)
-แมวของฉันบางตัวไม่ชอบกินปลาทู(O)
ถ้าแมว 5 ตัวของฉัน มีแมว 3 ตัวชอบกินปลาทู อีก 2 ตัวไม่ชอบกินปลาทู จะทำให้ประโยคแรกเป็นจริง และประโยคที่ 2 ก็เป็นจริง
แต่ถ้าแมวทั้ง 5 ตัวของฉันชอบกินปลาทู จะทำให้ประโยคแรกเป็นจริงเพราะบางตัวคือตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป แต่จะทำให้ประโยคที่ 2 เป็นเท็จ เพราะแมวทั้งหมดชอบกินปลาทู
ดังนั้น ถ้าประโยค I เป็นจริง ก็จะสรุปเกี่ยวกับประโยค O ไม่ได้
ทำนองเดียวกัน ถ้าประโยค O เป็นจริง ก็จะสรุปเกี่ยวกับประโยค I ไม่ได้ เช่นกัน
กรณีเป็นเท็จ (ไม่สอดคล้อง)
ถ้า I เป็นเท็จ O เป็นจริง
ถ้า O เป็นเท็จ I เป็นจริง
-แมวของฉันบางตัวชอบกินปลาทู(I)
-แมวของฉันบางตัวไม่ชอบกินปลาทู(O)
ถ้าแมวของฉันทั้ง 5 ตัว ไม่ชอบกินปลาทู ก็จะทำให้ประโยคแรก (I) เป็นเท็จ และประโยคหลัง(O) เป็นจริง ซึ่งจะทำให้ประโยคทั้งสอง ไม่สอดคล้องกัน
ทำนองเดียวกัน ถ้าประโยค O เป็นเท็จ ก็จะทำให้ประโยค I เป็นจริง -
แบบส่วนย่อย (subalternates)
เป็นความสัมพันธ์ระหว่าง A → O และ E → I
กรณีที่เป็นจริงถ้า A เป็นจริง เราสรุปได้ว่า I เป็นจริง (สอดคล้อง) เช่น
-แมวทุกตัว เป็นสัตว์ที่มี 4 ขา(A)
-แมวบางตัว เป็นสัตว์ที่มี 4 ขา(I)
ประโยคหลัง (I) เป็นจริง เพราะ แมวบางตัว หมายถึง แมวตั้งแต่ 1 ตัว ขึ้นไป
ถ้า E เป็นจริง เราสรุปได้ว่า O เป็นจริง (สอดคล้อง) เช่น
-ไม่มีแมวตัวใด ชอบอาบน้ำ(E)
-แมวบางตัว ไม่ชอบอาบน้ำ(O)
ประโยคหลัง (O) เป็นจริง เพราะ แมวบางตัว หมายถึง แมวตั้งแต่ 1 ตัว ขึ้นไป
ถ้า I เป็นจริง เราสรุปไม่ได้ว่า A เป็นจริงหรือไม่ เช่น
-แมวบางตัวของฉัน มีสีขาวปลอด(I)
-แมวทุกตัวของฉัน มีสีขาวปลอด(A)
ถ้าแมวของฉัน 2 ตัวมีสีขาวปลอด อีก 3 ตัวที่เหลือมีสี ขาว-ดำ จะทำให้ประโยคแรก (I) เป็นจริง แต่ ประโยคหลัง (A) เป็นเท็จ เพราะมีแมวบางตัวที่ไม่มีสีขาวปลอด
แต่ถ้าแมวทั้ง 5 ตัวของฉัน มีสีขาวปลอดทั้งหมด ก็จะทำให้ ประโยคแรก (I) เป็นจริง เพราะ แมวบางตัว หมายถึง แมวตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป และ จะทำให้ประโยคหลัง (A) เป็นจริง
ดังนั้น ถ้า I เป็นจริง เราสรุปไม่ได้ว่า A เป็นจริงหรือไม่
ทำนองเดียวกัน ถ้า O เป็นจริง เราสรุปไม่ได้ว่า E จะเป็นจริงหรือไม่
กรณีที่เป็นเท็จ
ถ้า I เป็นเท็จ เราสรุปได้ว่า A เป็นเท็จด้วย(สอดคล้อง) เช่น
- แมวบางตัวของฉันชอบกินอาหารเม็ด (I)
- แมวทุกตัวของฉันชอบกินอาหารเม็ด (A)
ถ้าแมวของฉันทั้ง 5 ตัว ไม่ชอบอาหารเม็ดเลย จะทำให้ประโยคแรก (I) เป็นเท็จ และประโยคหลัง (A) เป็นเท็จด้วย
ทำนองเดียวกัน ถ้า O เป็นเท็จ เราสรุปได้ว่า E เป็นเท็จด้วย
ถ้า A เป็นเท็จ เราสรุปไม่ได้ว่า I เป็นจริงหรือเท็จ เช่น
- แมวทุกตัวของฉันชอบกินปลาทู (A)
- แมวบางตัวของฉันชอบกินปลาทู (I)
ถ้าแมวทั้ง 5 ตัวของฉัน ไม่ชอบกินปลาทู ประโยคแรก (A) ก็จะเป็นเท็จ และประโยคหลัง (I) ก็เป็นเท็จเหมือนกัน
แต่ถ้าแมวของฉัน 3 ตัว ไม่ชอบกินปลาทู แต่อีก 2 ตัวชอบกินปลาทู จะทำให้ประโยคแรก (A) เป็นเท็จ แต่จะทำให้ ประโยคหลัง (I) เป็นจริง เพราะบางตัว หมายถึง ตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป
ดังนั้น ถ้า A เป็นเท็จ เราสรุปไม่ได้ว่า I เป็นจริงหรือเท็จ
ทำนองเดียวกัน ถ้า E เป็นเท็จ เราสรุปไม่ได้ว่า O เป็นจริงหรือเท็จ
สรุป
ถ้า A เป็นจริง I เป็นจริง ประโยคทั้งสอง สอดคล้องกัน
ถ้า A เป็นเท็จ สรุปเกี่ยวกับ I ไม่ได้
ถ้า E เป็นจริง O เป็นจริง ประโยคทั้งสอง สอดคล้องกัน
ถ้า E เป็นเท็จ สรุปเกี่ยวกับ O ไม่ได้
การเปลี่ยนประโยค
ประโยคมาตรฐานทั้ง 4 แบบข้างต้น คือ A, E, I และ O ก็สามารถนำมาเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ ซึ่ง บางอย่างยังคงความหมายเดิม หรือ สอดคล้องกับความหมายเดิม แต่บางอย่างก็ ไม่สอดคล้องกับประโยคเดิม
วิธีการเปลี่ยนแปลงประโยค 3 วิธี ได้แก่ Conversion, Obvertion และ Contraposition
- Conversion (การสลับที่)
Conversion มี 2 แบบ คือ Simple Conversion(อย่างง่าย) และ Partial Conversion หรือ by limitation (การสลับที่บางส่วน)-
Simple Conversion (การสลับที่อย่างง่าย)
เป็นการสลับตำแหน่งของประธาน (S) และส่วนขยาย(P) โดยที่ส่วนอื่น ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง
วิธีการนี้ ใช้กับประโยค E (No S are P)และ I (Some S are P) จะได้ประโยคใหม่ ที่มีความหมาย สอดคล้อง กับประโยคเดิม
ตัวอย่างประโยครูปแบบ ประโยคเดิม ประโยคใหม่ ความสอดคล้อง A All S are P
แมวทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมAll P are S
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกตัวเป็นแมวไม่สอดคล้อง E No S are P
ไม่มีแมวตัวใดเป็นนกNo P are S
ไม่มีนกตัวใดเป็นแมวสอดคล้อง I Some S are P
ครูบางคนใจดีSome P are S
คนใจดีบางคนเป็นครูสอดคล้อง O Some S are not P
คนขยันบางคนไม่ใช่คนสอบได้Some P are not S
คนสอบได้บางคนไม่ใช่คนขยันไม่สอดคล้อง -
Partial Conversion(การสลับที่บางส่วน)
การสลับที่บางส่วน ทำได้เฉพาะประโยครูปแบบ A เท่านั้น เป็นการสลับที่ระหว่างประธานและส่วนขยาย และมีการเปลี่ยน Quantity จาก สากล(Universal) เป็นชี้เฉพาะ(Particular) คือ เปลี่ยนคำแสดงจำนวน จากทั้งหมด → บางส่วน (ส่วนน้อย ส่วนใหญ่ ส่วนมาก เกือบทั้งหมด ฯลฯ) หรือ เป็นการเปลี่ยนประโยคจาก A → I นั่นเอง เพียงแต่ต้องมีการสลับที่ประธานด้วย ประโยคใหม่ ที่ได้ จะมีความสอดคล้องกับประโยคเดิม เช่นรูปประโยค ประโยคเดิม ประโยคใหม่ ความสอดคล้อง A → I ผู้พิพากษาทุกคน เป็นนักกฎหมาย นักกฎหมายบางคน เป็นผู้พิพากษา สอดคล้อง A → I นักเรียนทุกคนง่วงนอน ผู้ที่ง่วงนอนบางคนเป็นนักเรียน สอดคล้อง A → I คนขยันทุกคนสอบได้ ผู้ที่สอบได้บางคนเป็นคนขยัน สอดคล้อง - ประโยคเงื่อนไข(Conditional Statement)
ประโยคเงื่อนไข เมื่อนำมาสลับที่กัน เช่น if P then Q เป็น if Q then P ประโยคใหม่ จะไม่สอดคล้อง กับประโยคเดิมรูปประโยค ประโยคเดิม ประโยคใหม่ ความสอดคล้อง เงื่อนไข P → Q
ถ้าฝนไม่ตก ฉันจะไปตลาดQ → P
ถ้าฉันไปตลาด ฝนจะตกไม่สอดคล้อง เงื่อนไข P → Q
ถ้าฝนไม่ตก ฉันจะไปตลาด~Q → ~P
ฉันไม่ไปตลาด ฝนไม่ตกสอดคล้อง
-
Simple Conversion (การสลับที่อย่างง่าย)
- Obversion (เปลี่ยนคุณภาพและส่วนขยาย)
เป็นการเปลี่ยน 2 อย่าง คือ- เปลี่ยนคุณภาพ(Quality) เป็นตรงข้าม
จากประโยค A → ประโยค E
จากประโยค E → ประโยค A
จากประโยค I → ประโยค O
จากประโยค O → ประโยค I
- เปลี่ยนส่วนขยายเป็นตรงข้าม เช่น
นก → สัตว์ที่ไม่ใช่นก
ขยัน → ไม่ขยัน, เกียจคร้าน
ตัวอย่างการเปลี่ยนประโยค
ประโยค (A) เยาวชนอายุครบ 18 ปี ทุกคน เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 1. เปลี่ยนคุณภาพ(Quality)
A → E
All S are P → No S are Pไม่มีเยาวชนอายุครบ18ปีคนใด เป็นผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 2. เปลี่ยนส่วนขยายเป็นตรงข้าม ไม่มีเยาวชนอายุครบ18ปีคนใด เป็นผู้ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง
รูปประโยค ประโยคเดิม ประโยคใหม่ ความสอดคล้อง A All S are P
แมวทุกตัวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมNo S are non-P
ไม่มีแมวตัวใดเป็นสัตว์ไม่เลี้ยงลูกด้วยนมสอดคล้อง E No S are P
ไม่มีแมวตัวใดเป็นนกAll S are non-P
แมวทุกตัวเป็นสัตว์ที่ไม่ใช่นก หรือ
แมวทุกตัวไม่ใช่นกสอดคล้อง I Some S are P
ครูบางคนเป็นคนใจดีSome S are not non-P
ครูบางคนไม่เป็นคนไม่ใจดี
ครูบางคนไม่เป็นคนใจร้ายสอดคล้อง O Some S are not P
สุนัขบางตัวไม่เป็นสัตว์อ้วน
สุนัขบางตัวไม่อ้วนSome S are non-P
สุนัขบางตัวเป็นสัตว์ที่ไม่อ้วน
สุนัขบางตัวไม่อ้วน
สุนัขบางตัวผอมสอดคล้อง
- เปลี่ยนคุณภาพ(Quality) เป็นตรงข้าม
- Contraposition (สลับที่แล้วเปลี่ยนเป็นตรงข้าม)
-
Full Contraposition เป็นการสลับตำแหน่งระหว่าง ประธานและส่วนขยาย จากนั้นเปลี่ยน ประธานและส่วนขยาย ให้เป็นตรงข้าม
วิธีการนี้ ใช้กับประโยค A (All S are P)และ O (Some S are not P) จะได้ประโยคใหม่ ที่มีความหมาย สอดคล้อง กับประโยคเดิม
ตัวอย่าง
รูปแบบ ประโยคเดิม ประโยคใหม่ ความสอดคล้อง A All S are P
สัตว์บินได้ทุกตัว เป็นสัตว์มีปีกAll non-P are non-S
สัตว์ไม่มีปีกทุกตัว เป็นสัตว์ที่บินไม่ได้สอดคล้อง O Some S are not P
คนขยันบางคนไม่ใช่เศรษฐีSome non-P are not non-S
คนที่ไม่ใช่เศรษฐีบางคนไม่ใช่ ไม่ใช่คนขยัน
คนที่ไม่ใช่เศรษฐีบางคนไม่ใช่คนเกียจคร้าน
คนจนบางคนไม่ใช่คนเกียจคร้านสอดคล้อง -
Partial Contraposition
Partial Contraposition ทำได้เฉพาะประโยครูปแบบ E (No S are P)เท่านั้น
วิธีการ มี 2 ขั้นตอน คือ1. ทำ Contraposition คือ สลับตำแหน่งระหว่าง ประธานและส่วนขยาย จากนั้นเปลี่ยน ประธานและส่วนขยาย ให้เป็นตรงข้าม เช่น
ไม่มีชาวนาคนไหนตื่นสาย → ไม่มีคนที่ไม่ตื่นสายเป็นคนที่มีอาชีพอื่นที่ไม่ใช่ชาวนา2. ปรับเป็น subalternate คือเปลี่ยนจาก No S are P เป็น Some S are not Pตัวอย่าง
ไม่มีคนที่ไม่ตื่นสาย เป็น คนมีอาชีพอื่นที่ไม่ใช่ชาวนา → คนที่ไม่ตื่นสายบางคน ไม่เป็น คนที่มีอาชีพอื่นที่ไม่ใช่ชาวนา ซึ่งถ้าตัดปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ ก็จะได้ว่า คนตื่นสายบางคน ไม่ใช่ชาวนา
รูปแบบ ประโยคเดิม ประโยคใหม่ ความสอดคล้อง E No S are P
ไม่มีชาวนาตื่นสายSome non-P are not non-S
คนตื่นไม่สายบางคนไม่เป็นไม่ใช่ชาวนา
คนตื่นสายบางคน ไม่ใช่ชาวนาสอดคล้อง E No S are P
ไม่มีชาวนาตื่นสายSome non-P are not non-S
คนตื่นไม่สายบางคนไม่เป็นไม่ใช่ชาวนา
คนตื่นเช้าบางคน เป็น ชาวนาสอดคล้อง - ประโยคเงื่อนไข(Conditional Statement)
ประโยคเงื่อนไข เมื่อนำมาใช้กับ Contraposition เช่น if P then Q เป็น if ~Q then ~P ประโยคใหม่ จะสอดคล้อง กับประโยคเดิมรูปประโยค ประโยคเดิม ประโยคใหม่ ความสอดคล้อง เงื่อนไข P → Q
ถ้าฝนไม่ตก ฉันจะไปตลาด~Q → ~P
ฉันไม่ไปตลาด ฝนไม่ตกสอดคล้อง
-
Full Contraposition เป็นการสลับตำแหน่งระหว่าง ประธานและส่วนขยาย จากนั้นเปลี่ยน ประธานและส่วนขยาย ให้เป็นตรงข้าม
สรุป Conversion, Obversion และ Contraposition
ประโยคเดิม | ประโยคใหม่ |
---|---|
Conversion |
A: All S are P
Some P are S
(Partial Conversion)
E: No S are P
No P are S
I : Some S are P
Some P are S
O: Some S are not P
ไม่มี
Obversion
A: All S are P
No S are non-P
E: No S are P
All S are non-P
I : Some S are P
Some S are not non-P
O: Some S are not P
Some S are non-P
Contraposition
A: All S are P
All non-P are non-S
E: No S are P
Some non-P are not non-S.
(Partial contraposition)
I : Some S are P
ไม่มี
O: Some S are not P
Some non-P are not non-S
ตัวอย่างประโยค
1. Conversion
1.1 Simple Conversion (สลับที่ประธานและส่วนขยาย นอกนั้นเหมือนเดิม)
ใช้กับ ประโยค E และ I จะได้ประโยคใหม่ที่สอดคล้องกับประโยคเดิม
รูปประโยค | ประโยคเดิม | ประโยคใหม่ | ความสอดคล้อง |
---|---|---|---|
A | All S are P คนขยันทุกคนสอบได้ | All P are S คนสอบได้ทุกคนเป็นคนขยัน | ไม่สอดคล้อง |
E | No S are P ไม่มีคนขยันคนใดสอบได้ | No P are S ไม่มีคนสอบได้คนใดเป็นคนขยัน | สอดคล้อง |
I | Some S are P คนขยันบางคนสอบได้ | Some P are S คนสอบได้บางคนเป็นคนขยัน | สอดคล้อง |
O | Some S are not P คนขยันบางคนไม่เป็นคนสอบได้ | Some P are not S คนสอบได้บางคนไม่เป็นคนขยัน | ไม่สอดคล้อง |
1.2 Partial Conversion (สลับที่ S และ P แล้วเปลี่ยนคำบอกจำนวน จาก มาก ไปสู่น้อย เช่น จาก"ทั้งหมด" เปลี่ยนเป็น "บางส่วน" หรือทำเป็น subalternate นั่นเอง -- มีเฉพาะประโยค A เท่านั้น)
รูปประโยค | ประโยคเดิม | ประโยคใหม่ | ความสอดคล้อง |
---|---|---|---|
A | All S are P คนขยันทุกคนสอบได้ | Some P are S คนสอบได้บางคนเป็นคนขยัน | สอดคล้อง |
2. Obversion (เปลี่ยนคุณภาพ หรือ Quality แล้ว เปลี่ยนส่วนขยายเป็นปฏิเสธ ประโยคใหม่ จะสอดคล้องกับประโยคเดิม ทุกกรณี)
รูปประโยค | ประโยคเดิม | ประโยคใหม่ | ความสอดคล้อง |
---|---|---|---|
A | All S are P คนขยันทุกคนสอบได้ | No S are non-P ไม่มีคนขยันคนใดสอบไม่ได้ | สอดคล้อง |
E | No S are P ไม่มีคนขยันคนใดสอบได้ | All S are non-P คนขยันทุกคนสอบไม่ได้ | สอดคล้อง |
I | Some S are P คนขยันบางคนสอบได้ | Some S are not non-P คนขยันบางคนไม่เป็นคนสอบไม่ได้ คนขยันบางคนไม่เป็นคนสอบตก | สอดคล้อง |
O | Some S are not P คนขยันบางคนไม่เป็นคนสอบได้ | Some S are non-P คนขยันบางคนเป็นคนสอบไม่ได้ | สอดคล้อง |
3. Contraposition
3.1 Full Contraposition (สลับที่ ระหว่าง S และ P พร้อมทั้งเปลี่ยน S และ P เป็นตรงข้าม นอกนั้นเหมือนเดิม)
ประโยค A และ ประโยค O เท่านั้น ที่ยังคงความหมายเดิม หรือสอดคล้องกับประโยคเดิม
ประโยค A และ ประโยค O เท่านั้น ที่ยังคงความหมายเดิม หรือสอดคล้องกับประโยคเดิม
รูปประโยค | ประโยคเดิม | ประโยคใหม่ | ความสอดคล้อง |
---|---|---|---|
A | All S are P คนขยันทุกคนสอบได้ | All non-P are non-S คนสอบไม่ได้ทุกคนเป็นคนไม่ขยัน | สอดคล้อง |
E | No S are P ไม่มีคนขยันคนใดสอบได้ | No non-P are non-S ไม่มีคนสอบไม่ได้เป็นคนไม่ขยัน | ไม่สอดคล้อง |
I | Some S are P คนขยันบางคนสอบได้ | Some non-P are non-S คนสอบไม่ได้บางคนเป็นคนไม่ขยัน | ไม่สอดคล้อง |
O | Some S are not P คนขยันบางคนไม่เป็นคนสอบได้ | Some non-P are not non-S คนสอบไม่ได้บางคนไม่เป็นคนไม่ขยัน | สอดคล้อง |
3.2 Partial Contraposition (ทำ Contraposition แล้วปรับเป็น subalternate ใช้ได้กับประโยค E เท่านั้น)
รูปประโยค | ประโยคเดิม | ประโยคใหม่ | ความสอดคล้อง |
---|---|---|---|
E | No S are P ไม่มีคนขยันคนใดสอบได้ | Some non-P are not non-S คนสอบไม่ได้บางคนไม่ใช่คนไม่ขยัน คนสอบไม่ได้บางคนไม่ใช่คนเกียจคร้าน คนสอบตกบางคนไม่ใช่คนเกียจคร้าน | สอดคล้อง |
DeMorgan's Laws:
ตามกฎของ DeMorgan's Laws เราสรุปได้ว่า
1. NOT (p AND q) == (NOT p) OR (NOT q)
2. NOT (p OR q) == (NOT p) AND (NOT q)
2. NOT (p OR q) == (NOT p) AND (NOT q)
การนำ กฎของ DeMorgan's Laws ไปใช้วิเคราะห์ความสอดคล้อง
บางครั้ง มีการกำหนดประโยคที่เป็นประโยคความรวม และให้หา ประโยคตรงข้ามหรือ ไม่ความสอดคล้อง เช่น
คนไทยทุกคนไม่เป็นคนดี หรือ ไม่เป็นคนสุภาพ
หมายเหตุ
คนไทยบางคนดีและสุภาพ
เราต้องกระจายประโยคออกเป็น 2 ประโยค คือ "คนไทยบางคนเป็นคนดี และ คนไทยบางคนเป็นคนสุภาพ" ซึ่งเป็นประโยค I ทั้งสองประโยค
จาก จตุรัสแห่งความขัดแย้ง เราทราบว่า ประโยค I จะขัดแย้งกับประโยค E อย่างแน่นอน
ดังนั้น เราจะได้ว่า "คนไทยทุกคนไม่เป็นคนดี และ คนไทยทุกคนไม่เป็นคนสุภาพ"
กฎของ DeMorgan's Laws ข้อ 1 ทำให้เราสรุปได้ว่าคนไทยทุกคนไม่เป็นคนดี หรือ ไม่เป็นคนสุภาพ
คำว่า "แต่" ไม่เป็นคำเชื่อมในทางตรรกศาตร์ (Logical connector) ถ้าพบในโจทย์ ให้เปลี่ยนเป็นคำว่า และ เช่น
นกกระจอกเทศมีปีกแต่บินไม่ได้ → นกกระจอกเทศเป็นสัตว์มีปีก และ นกกระจอกเทศเป็นสัตว์บินไม่ได้
ตัวอย่างการวิเคราะห์ความสอดคล้อง (อยู่บนเงื่อนไขว่า ประโยคที่ 1 เป็นจริง ทุกประโยค)
ประโยคที่ 1 | ประโยคที่ 2 | ความสอดคล้อง | เหตุผล |
---|---|---|---|
คนไทยทุกคนต้องไปเลือกตั้ง | คนไทยบางคนต้องไปเลือกตั้ง | ✔ | A-I สอดคล้องแบบ subalternates |
คนไทยทุกคนต้องไปเลือกตั้ง | คนไทยทุกคนไม่ต้องไปเลือกตั้ง | ✘ | คนไทยทุกคนไม่ต้องไปเลือกตั้ง เป็นประโยคกำกวม All S are not P |
แมวทุกตัวกำลังนอนหลับ | แมวแต่ละตัวกำลังนอนหลับ | ✔ | "ทุกตัว" = "แต่ละตัว" หมายถึงทั้งหมด |
แมวทุกตัวกำลังนอนหลับ | แมวบางตัวไม่ได้กำลังนอนหลับ | ✘ | A-O ไม่สอดคล้องลักษณะ Contradictories |
คนบางคนไม่เป็นคนซื่อสัตย์ | คนบางคนเป็นคนคดโกง | ✔ | เป็น Obversion ของประโยค O |
ครูบางคนใจดี | ครูบางคนไม่ใช่คนใจร้าย | ✔ | เป็นการ Obversion ประโยค I |
สัตว์ทุกตัวที่บินได้ เป็นสัตว์มีปีก | สัตว์ไม่มีปีกทุกตัว เป็นสัตว์ที่บินไม่ได้ | ✔ | Contraposition ของประโยค A |
ชาวท่ายางทุกคนเป็นคนประหยัด | คนประหยัดทุกคนเป็นชาวท่ายาง | ✘ | ประโยค A จะทำการ Full conversion ไม่ได้ เพราะจะไม่สอดคล้องกับประโยคเดิม ถ้าจะ converse ต้องเป็น Partial conversion คือ พูดว่า คนประหยัดบางคนเป็นชาวท่ายาง |
ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วย่อมดีเสมอ | บางสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ดีเสมอไป | ✘ | A-O ไม่สอดคล้อง แบบ Contradictories |
คนขยันทุกคน จะประสบความสำเร็จในชีวิต | คนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตทุกคน เป็นคนขยัน | ✘ | เป็น conversion ของประโยค A |
ผู้สอบผ่านทุกคนต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ | ผู้สอบผ่านบางคนไม่ต้องเข้ารับการปฐมนิเทศ | ✘ | A-O ไม่สอดคล้อง แบบ Contradictories |
คนบางคนทั้งใจดีและสุภาพ | คนทุกคนไม่เป็นคนใจดีหรือสุภาพ | ✔ | ประโยค I และ E ขัดแย้งกัน และรวมกันตามกฎของ DeMorgan's Laws |
การรับประทานอาหารที่หลากหลายทำให้ได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน | ผู้ที่ขาดสารอาหาร คือผู้ที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย | ✔ | เป็น Contraposition ของ A (All non-P are non-S) |
ถ้าฉันอยู่ที่สนามหลวง ฉันจะอยู่ที่กรุงเทพ | ฉันไม่ได้อยู่ที่สนามหลวง ฉันไม่ได้อยู่ที่กรุงเทพ | ✘ | P → Q, ~P สรุปไม่ได้ ไม่อยู่สนามหลวง อาจจะอยู่ที่อื่น เช่น หัวลำโพง ก็ได้ |
ถ้าฉันอยู่ที่สนามหลวง ฉันจะอยู่ที่กรุงเทพ | ฉันอยู่ที่กรุงเทพ ฉันอยู่ที่สนามหลวง | ✘ | P → Q, P สรุปไม่ได้ อยู่กรุงเทพ อาจจะอยู่ที่อื่น เช่น พระโขนง ก็ได้ |
ถ้าฉันอยู่ที่สนามหลวง ฉันจะอยู่ที่กรุงเทพ | ฉันไม่ได้อยู่ที่กรุงเทพ ฉันไม่ได้อยู่ที่สนามหลวง | ✔ | P → Q, ~Q สรุปว่า ~P |
อ้างอิง
http://www.uky.edu/~rosdatte/phi120/lesson11a.htm
http://rintintin.colorado.edu/~vancecd/phil1440/notes.html
Logic for Dummies ของ Mark Zegarel
Introduction to Logic ของ Irving M. Copi และคณะ
https://www.slideshare.net/nicklykins/44-conversion-obversion-and-contraposition
http://www.thinkingshop.com/Clarion/logic/chap4.htm
http://academic.csuohio.edu/polen/LC9_Help/4/immediate.htm https://www.cs.rochester.edu/~nelson/courses/csc_173/proplogic/laws.html https://www.youtube.com/watch?v=lBcWHXpNy10&t=612s
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น