การวิเคราะห์ ตาราง กราฟ แผนภูมิ เตรียมสอบ ก.พ. ท้องถิ่น

การวิเคราะห์ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ
ข้อสอบ ก.พ. การวิเคราะห์ ตาราง แผนภูมิ และกราฟ มักจะถามให้วิเคราะห์เป็นค่าร้อยละ ซึ่งสามารถใช้การเทียบบัญญัติไตรยางศ์ ได้ในทุกกรณี เช่น

จากแผนภูมิ ปริมาณน้ำฝน ในเดือน กรกฎาคม 2559 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละเท่าไร
วิธีทำแบบเทียบบัญญัติไตรยางศ์
เดือน มิถุนายน 2559 ปริมาณน้ำฝน = 350 ม.ม.
เดือน กรกฎาคม 2559 ปริมาณน้ำฝน = 200 ม.ม.
∴ ปริมาณน้ำฝน ลดลง = 350-200 = 150 ม.ม.
เทียบบัญญัติไตรยางศ์
ปริมาณน้ำฝน 350 ม.ม. ลดลง = 150 ม.ม.
ปริมาณน้ำฝน 100 ม.ม. ลดลง = (150/350)(100)
= 42.86

วิธีลัด ควรใช้สูตรเพื่อย่นระยะเวลาการคิดให้เร็วขึ้น ดังนี้
  1. ถ้าถามร้อยละการเปลี่ยนแปลง(△%) เช่น ถามว่า มากขึ้น หรือ ลดลงร้อยละเท่าไร ให้ใช้สูตร

    ((new_value/original_value)-1)(100)

    ตัวอย่าง
    จากแผนภูมิ ปริมาณน้ำฝน ในเดือน กรกฎาคม 2559 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละเท่าไร
    จำนวนใหม่ หรือ new_value (เดือน กรกฎาคม 2559) = 200
    จำนวนเดิม หรือ original_value (เดือน มิถุนายน 2559) = 350
    เข้าสูตร
    ∴ คิดเป็นร้อยละ = ((200/350)-1)(100) = -42.86%
    (ติดเครื่องหมายลบ แสดงว่า ปริมาณลดลง ถ้าเป็นบวก แสดงว่า ปริมาณเพิ่มขึ้น)

    อีกสูตรหนึ่ง คือ
    (จำนวนปัจจุบัน)-(จำนวนก่อนหน้า)/(จำนวนก่อนหน้า)
    x 100

    ตัวอย่าง
    จากแผนภูมิ ปริมาณน้ำฝน ในเดือน กรกฎาคม 2559 ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละเท่าไร
    จำนวนปัจจุบัน (เดือน กรกฎาคม 2559) = 200
    จำนวนก่อนหน้า (เดือน มิถุนายน 2559) = 350
    เข้าสูตร
    200-350/350
    x 100
    = -42.86%
    (ติดเครื่องหมายลบ แสดงว่า ปริมาณลดลง ถ้าเป็นบวก แสดงว่า ปริมาณเพิ่มขึ้น)

  2. ถ้าให้หาความแตกต่าง ระหว่าง 2 จำนวน ให้ใช้สูตร
    ต้องเปรียบเทียบหาความแตกต่างระหว่างจำนวน 2 จำนวน ต้องเปรียบเทียบ กับ ค่าเฉลี่ยของผลรวมของทั้งสองจำนวน

    (จำนวนที่ 1)-(จำนวนที่ 2)/((จำนวนที่ 1)+(จำนวนที่ 2))/2
    x 100

    ตัวอย่าง
    จากแผนภูมิ ปริมาณน้ำฝน ในเดือน พฤษภาคม 2554 และ 2556 ต่างกัน ร้อยละเท่าไร
    จำนวนที่ 1 (เดือน พฤษภาคม 2554) = 350
    จำนวนก่อนหน้า (เดือน พฤษภาคม 2556) = 150
    เข้าสูตร
    350-150/(350+150)/2
    x 100
    = 80%
    (กรณีหาค่าความแตกต่าง จะไม่คิดเครื่องหมายใด ๆ ไม่ว่าจะติดลบ หรือไม่ติดลบ ก็ตาม ใช้เฉพาะค่าตัวเลขเท่านั้น โดยไม่คิดเครื่องหมาย)

  3. ในกรณีที่เปรียบเทียบกับค่าคงที่ ให้ใช้สูตร

    (จำนวนที่นำไปเปรียบเทียบ)-(ค่าคงที่)/(ค่าคงที่)
    x 100


ตัวอย่างที่ 1

จากแผนภูมิ ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในปี 2559 คือ 200 ม.ม. ปริมาณน้ำฝนในเดือน มิถุนายน 2559 มากกว่าหรือน้อยกว่า เกณฑ์เฉลี่ย ร้อยละเท่าไร

วิธีคิด
เข้าสูตร
350-200/200
x 100
= 75%
ได้ค่า เป็นบวก แสดงว่า ฝนมากกว่าเกณฑ์เฉลี่ย คิดเป็นร้อยละ 75


ใช้ข้อมูลนี้ สำหรับ ตัวอย่างที่ 2-3
มูลค่าการส่งออกข้าวไทย 4 เดือนแรก ปี 2560
หน่วย: ล้านบาท
ชนิดม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.
ข้าวขาว5,1755,6035,8985,388
ข้าวหอมมะลิ3,1173,5563,3552,469
ข้าวหัก1,5111,6101,7651,688
ข้าวเหนียว502432373221
ข้าวนึ่ง1,8872,4382,5943,347
Total12,19213,63913,98513,113



ตัวอย่างที่ 2

มูลค่าการส่งออกข้าวขาว เดือน เมษายน ลดลงจากเดือน มีนาคม ร้อยละเท่าไร

วิธีคิด
มี.ค. มูลค่าส่งออก = 5,898 บาท
เม.ย. มูลค่าส่งออก = 5,388 บาท

สูตรการหาการเปลี่ยนแปลง(△%) คือ
((new_value/original_value)-1)(100)

เพื่อให้คำนวนได้เร็วขึ้น ควรตัดตัวเลขออก 2 หลัก
แทนค่าในสูตร
=((53/58)-1)(100)
= -8.62

ได้ค่าติดลบ แสดงว่า มูลค่าการส่งออกลดลง

ตัวอย่างที่ 3

จากตารางข้างต้น มูลค่าการส่งออกข้าวขาว และข้าวหอมมะลิ ในเดือน มกราคม ต่างกันร้อยละเท่าไร

วิธีคิด
มูลค่าส่งออกข้าวขาว = 5,175 บาท
มูลค่าส่งออกข้าวหอมมะลิ = 3,117 บาท

สูตรการหาความต่าง คือ
(จำนวนที่ 1)-(จำนวนที่ 2)/((จำนวนที่ 1)+(จำนวนที่ 2))/2 x 100

เพื่อให้คำนวนได้เร็วขึ้น ควรตัดตัวเลขออก 2 หลัก
แทนค่าในสูตร
=(51)-(31)/((51)+(31))/2 x 100
= 48.7%

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์