เทคนิค การทำ ข้อสอบ ก.พ. ภาค ก. วิชาภาษาไทย ข้อบกพร่องทางภาษา
ข้อสอบ ภาค ก. วิชาภาษาไทย ของ ก.พ. จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
ถ้าเราทราบขอบข่ายเนื้อหาของข้อสอบ ก็จะทำให้การเตรียมตัวสอบ เป็นไปอย่างตรงประเด็น และมีโอกาสสอบผ่านได้มาก
เท่าที่ผ่านมา ข้อสอบเกี่ยวกับการใช้ภาษา หรือ ข้อบกพร่องทางภาษา มักจะออกตามประเด็นการใช้ภาษาไทยที่มักจะเป็นปัญหา เช่น
ตัวอย่าง
การใช้คำ/สำนวนผิดความหมาย
ข้อสอบมักจะนำ คำ สำนวน ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น กระจัดกระจาย-กระจุยกระจาย, กะรุงกะรัง-พะรุงพะรัง รวมทั้งการใช้ลักษณะนามไม่ถูกต้อง เป็นต้น
ใช้ภาษากำกวม
ภาษากำกวม คือ สามารถตีความได้มากกว่า 1 อย่าง
ใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง
คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำหรือกลุ่มคำหรือคือคำที่โยงคำหน้าหรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่น หรือกลุ่มคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ เหตุผล ลักษณะ เวลา อาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ใน แก่ ของ ด้วย โดย กับ แต่ ต่อ ใกล้ ไกล เป็นต้น
ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง
- การใช้ภาษา
- และความเข้าใจภาษา
ถ้าเราทราบขอบข่ายเนื้อหาของข้อสอบ ก็จะทำให้การเตรียมตัวสอบ เป็นไปอย่างตรงประเด็น และมีโอกาสสอบผ่านได้มาก
- ใช้คำ/สำนวนผิดความหมาย
- ใช้ภาษากำกวม
- ใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง
- ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง
- เรียงประโยคผิด
- ใช้สำนวนต่างประเทศ
- ใช้ภาษาไม่เหมาะกับระดับ
- เขียนสะกดคำผิด
ตัวอย่าง
การใช้คำ/สำนวนผิดความหมาย
ข้อสอบมักจะนำ คำ สำนวน ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น กระจัดกระจาย-กระจุยกระจาย, กะรุงกะรัง-พะรุงพะรัง รวมทั้งการใช้ลักษณะนามไม่ถูกต้อง เป็นต้น
ประโยคบกพร่อง | ประโยคถูก |
ประสาทเป็นคนน้ำนิ่งไหลลึก พูดตรงไปตรงมาไม่เกรงใจใคร ทำให้หลายคนไม่ชอบ | ประสาทเป็นคนขวานผ่าซาก พูดตรงไปตรงมาไม่เกรงใจใคร ทำให้หลายคนไม่ชอบ
-ขวานผ่าซาก = โผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้กับการพูด)
-น้ำนิ่งไหลลึก = คนที่มีท่าหงิมๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง
|
บ้านแต่ละหลังใหญ่โตรโหฐาน สนามหน้าบ้านจัดสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกและไม้ประดับอย่างสวยงาม แสดงถึงความมีฐานะของเจ้าของบ้านแต่ละหลัง | บ้านแต่ละหลังใหญ่โตมโหฬาร สนามหน้าบ้านจัดสวนตกแต่งด้วยไม้ดอกและไม้ประดับอย่างสวยงาม แสดงถึงความมีฐานะของเจ้าของบ้านแต่ละหลัง
-มโหฬาร = ใหญ่โต
-รโหฐาน = ที่เฉพาะส่วนตัว ที่ลับ ที่สงัด
|
ช้างฝูงนั้นที่เข้ามาบุกไร่สับปะรดของชาวบ้าน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีมากกว่า 20 ตัว | ช้างโขลงนั้นที่เข้ามาบุกไร่สับปะรดของชาวบ้าน อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีมากกว่า 20 ตัว
-ลักษณะนามของช้างที่อยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม คือ โขลง
|
ใช้ภาษากำกวม
ภาษากำกวม คือ สามารถตีความได้มากกว่า 1 อย่าง
ประโยคกำกวม | ความหมาย |
พรุ่งนี้ ฉันจะไปเยี่ยมคุณย่ากับแม่ |
-ฉันและแม่จะไปเยี่ยมคุณย่า หรือ
-ฉันจะไปเยี่ยมคุณย่าและคุณแม่
|
ตำรวจนครบาลระดมกำลังล้อมจับคนร้ายนับร้อย |
-ตำรวจนครบาลระดมกำลัง ล้อมจับคนร้ายซึ่งมีนับร้อยคน หรือ
-ตำรวจนครบาลระดมกำลังตำรวจนับร้อยคน ล้อมจับคนร้าย
|
หนังสือพิมพ์ที่คุรุสภาขายดี |
-หนังสือพิมพ์(ที่วางจำหน่าย)ที่คุรุสภาขายดี หรือ
-หนังสือ ซึ่งพิมพ์ที่โรงพิมพ์คุรุสภาขายดี
|
ใช้คำบุพบทไม่ถูกต้อง
คำบุพบท คือ คำที่ใช้นำหน้าคำหรือกลุ่มคำหรือคือคำที่โยงคำหน้าหรือกลุ่มคำหนึ่งให้สัมพันธ์กับคำอื่น หรือกลุ่มคำอื่นเพื่อบอกสถานที่ เหตุผล ลักษณะ เวลา อาการ หรือแสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ ใน แก่ ของ ด้วย โดย กับ แต่ ต่อ ใกล้ ไกล เป็นต้น
ประโยคบกพร่อง | ประโยคถูก |
สุดาถวายอาหารและบิณฑบาตต่อพระสงฆ์ | สุดาถวายอาหารและบิณฑบาตแด่พระสงฆ์
-ต่อ ใช้นำหน้าคำอื่นที่เป็นผู้รับ เช่น ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ยื่นคำร้องต่อศาล เป็นต้น
-แด่ ใช้กับบุคคลหรือสิ่งที่เคารพ เช่น พระสงฆ์
|
คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมดีใจต่อความสำเร็จของลูก | คนเป็นพ่อเป็นแม่ย่อมดีใจกับความสำเร็จของลูก |
เขานำเงินมาบริจาคกับเด็กยากจน | เขานำเงินมาบริจาคแก่เด็กยากจน
-แก่ ใช้กับผู้รับที่มีฐานะต่ำกว่า เช่น แม่ให้เงินแก่ลูก ครูให้คะแนนแก่นักเรียน เป็นต้น
|
ใช้คำเชื่อมไม่ถูกต้อง
ประโยคบกพร่อง | ประโยคถูก |
ตำรวจรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว และยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ | ตำรวจรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว แต่ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอ
-ใช้คำว่า "แต่" เพื่อเชื่อมประโยคที่มีความหมายขัดแย้งกัน
|
เธอจะคอยฉันที่นี่ แต่จะไปด้วยกันก็ได้ | เธอจะคอยฉันที่นี่ หรือจะไปด้วยกันก็ได้
-ประโยคใจความให้เลือก ใช้ สันธาน คำว่า หรือ เป็นตัวเชื่อม
|
จุดประสงค์ประการหนึ่งของ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ คือ การแสวงหาทางปรองดองให้การทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้มีผลดียิ่งขึ้น | จุดประสงค์ประการหนึ่งของ พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ คือ การแสวงหาทางปรองดองให้การทำงานร่วมกันระหว่างนายจ้างและลูกจ้างให้มีผลดียิ่งขึ้น
-คำเชื่อม ระหว่าง ...... กับ ..... ไม่ใช่ ระหว่าง ...... และ .....
|
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น