สอบ ก.พ. การใช้คำ ผ่อนผัน/ผ่อนปรน ให้แก่/ให้กับ
ใน ข้อสอบ ก.พ. วิชาภาษาไทย มักจะมีการนำคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน มาออกข้อสอบ คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันเหล่านี้ บางคำสามารถใช้แทนกันได้ บางคำก็ใช้แทนกันไม่ได้ ซึ่งมักจะนำมาใช้ออกข้อสอบอยู่เสมอ เพื่อวัดทักษะการใช้ภาษาของผู้เข้าสอบ แต่เป็นที่น่าเส่ียดายว่า เราไม่ค่อยมีการเขียนถึงเรื่องการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันมากนัก ตำราส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องการเขียนสะกดคำมากกว่าความหมายของคำหรือการใช้คำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน ทำให้ภาษามีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย มีการใช้ภาษาที่ผิดไปจากความหมายเดิมเดิม เพราะไม่มีหลักยึด
ให้แก่ หรือ ให้กับ
คำว่า "แก่" ที่ใช้เป็นคำบุพบท ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก
คำว่า "กับ" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นคำที่เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หรือมีความหมายที่เกี่ยวข้องกัน โดยเน้นกิริยานั้นให้ชัดเจนขึ้น เป็นต้นว่า คำหนึ่งบอกเครื่องมือที่กระทำ เช่น ได้ยินมากับหู หรือบอกสถานที่ เช่น นั่งกับพื้น หรือเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น เขาร้ายกับฉัน
ลองดูพจนานุกรม ของคุณมานิต มานิตเจริญ สำนักพิมพ์ รวมสาสน์ ให้ความหมาย ดังนี้
กับ เป็นคำสันธาน เชื่อมความให้ติดกัน โดยปกติใช้กับของสองอย่าง หรือสองคนหรือสองฝ่าย เช่น ผมกับคุณ เป็นต้น
แก่ เป็นบุพบท ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นผู้ถูก ใช้นำหน้านามเป็นผู้รับ เช่น ให้แก่นายแดง
ถ้ายึดตามความหมายตามที่ให้ไว้ในพจนานุกรมข้างต้น ต้องใช้คำว่า ให้แก่ เพราะคำว่า ให้ ต้องมีผู้รับ และ คำนำหน้าผู้รับ ก็คือ คำว่า "แก่" ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า ให้แก่
ตัวอย่างอื่น ๆ ที่ใช้คำว่า "แก่" นำหน้าผู้รับ เช่น
อย่างไรก็ตาม มีหลายครั้งที่เราใช้ "กับ" นำหน้าผู้รับ โดยเฉพาะมักจะพบในภาษาพูด เช่น
โดยสรุป ถ้าเป็นการทำข้อสอบ ก็ให้ยึดตามหลักความถูกต้องทางภาษาไว้ก่อน คือ ใช้คำว่า "แก่" นำหน้าผู้รับ ส่วนคำว่า "กับ" ใช้สำหรับการเชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน
ผ่อนผัน หรือ ผ่อนปรน หรือ ผัดผ่อน
ผ่อนผัน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ให้คำจำกัดความว่า ผ่อนผัน ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง ลดหย่อนตาม, ลดหย่อนให้
ส่วนคำว่า ผ่อนปรน หมายถึง แบ่งหนักให้เป็นเบา, เอาไปทีละน้อย, ขยับขยายให้เบาบางลง พจนานุกรมบางฉบับ ให้ความหมายเพิ่มเติม คือ หมายถึง ยอมอ่อนให้, ลดความเข้มงวด, แบ่งหนักให้เป็นเบา. เช่น ผ่อนปรนกฎระเบียบ
คำว่า ผัดผ่อน หมายถึง ผัดพอให้ทุเลาหรือหย่อนคลายลง ขอเลื่อน หรือขยายเวลาออกไปอีก ความหมายตามนัยนี้ จะมีความหมายค่อนข้างคล้ายกับคำว่า ผ่อนผัน เช่น ขอผัดผ่อนหนี้กับเจ้าหนี้
ตัวอย่าง
ผ่อนผันเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร ผ่อนผันการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ ผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร ไม่ใช้ คำว่า "ผ่อนปรน"การเกณฑ์ทหาร การผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร คือการเลื่อนกำหนดการเข้ารับการเกณฑ์ทหารออกไป แต่ต้องมาเข้ารับการเกณฑ์ทหารเมื่อพ้นกำหนดที่ขอเลื่อน ไม่ใช่ขอลดความเข้มงวด หรือ ขั้นตอน หรือ กฎระเบียบ ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร
ผ่อนผันการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ ผ่อนปรนการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา การผ่อนผันการชำระหนี้ เป็นการลดหย่อนตามเงื่อนไขของผู้ขอผ่อนผันการชำระ เช่น เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือรายได้น้อยกว่าที่กำหนด หรือ ประสบภัยพิบัติ เป็นต้น
ผ่อนผันการชำระหนี้ธนาคาร ไม่ใช่ ผ่อนปรนการชำระหนี้ธนาคาร
จุดผ่อนปรนทางการค้า ไม่ใช่ จุดผ่อนผันทางการค้า จุดผ่อนปรนทางการค้า จุดที่เปิดเพื่อให้ประชาชนบริเวณชายแดนสามารถติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนผลผลิตของตนและสินค้าอุปโภค บริโภคเล็กๆ น้อยๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นคำศัพท์ทีใช้เกี่ยวกับการซื้อ-ขายสินค้าตามชายแดน มีการผ่อนปรน จากการที่ประชาชนไม่สามารถดำเนินการซื้อขายระหว่างกันได้ ให้สามารถดำเนินการซื้อ-ขายกันได้ แต่ทำได้อย่างจำกัด จุดผ่อนปรนทางการค้า ถ้าจะยกระดับให้สูงขึ้น จะกลายเป็นจุดผ่านแดนถาวร ซึ่ง จะทำให้ประชาขนสามารถทำกิจกรรมข้ามพรมแดนได้มากกว่า จุดผ่อนปรนทางการค้า
ให้แก่ หรือ ให้กับ
คำว่า "แก่" ที่ใช้เป็นคำบุพบท ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน กำหนดให้ใช้นำหน้านามฝ่ายรับ เช่น ให้เงินแก่เด็ก
คำว่า "กับ" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เป็นคำที่เชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน มีความหมายว่า รวมกัน เช่น ฟ้ากับดิน กินกับนอน หรือมีความหมายที่เกี่ยวข้องกัน โดยเน้นกิริยานั้นให้ชัดเจนขึ้น เป็นต้นว่า คำหนึ่งบอกเครื่องมือที่กระทำ เช่น ได้ยินมากับหู หรือบอกสถานที่ เช่น นั่งกับพื้น หรือเป็นผู้ถูกกระทำ เช่น เขาร้ายกับฉัน
ลองดูพจนานุกรม ของคุณมานิต มานิตเจริญ สำนักพิมพ์ รวมสาสน์ ให้ความหมาย ดังนี้
กับ เป็นคำสันธาน เชื่อมความให้ติดกัน โดยปกติใช้กับของสองอย่าง หรือสองคนหรือสองฝ่าย เช่น ผมกับคุณ เป็นต้น
แก่ เป็นบุพบท ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นผู้ถูก ใช้นำหน้านามเป็นผู้รับ เช่น ให้แก่นายแดง
ถ้ายึดตามความหมายตามที่ให้ไว้ในพจนานุกรมข้างต้น ต้องใช้คำว่า ให้แก่ เพราะคำว่า ให้ ต้องมีผู้รับ และ คำนำหน้าผู้รับ ก็คือ คำว่า "แก่" ดังนั้นจึงต้องใช้คำว่า ให้แก่
ตัวอย่างอื่น ๆ ที่ใช้คำว่า "แก่" นำหน้าผู้รับ เช่น
-การให้ส่วนลดราคาแก่ลูกค้า ดีจริงหรือ?!!
-การสร้างประสบการณ์ให้แก่ลูกค้า
-มีทางเลือกเสนอให้แก่ลูกค้า
-รัฐบาลจัดสรรที่ดินให้แก่ราษฎร
อย่างไรก็ตาม มีหลายครั้งที่เราใช้ "กับ" นำหน้าผู้รับ โดยเฉพาะมักจะพบในภาษาพูด เช่น
-ลดราคาให้กับลูกค้า
-ทำงานให้กับบริษัท
-ขอแสดงความยินดีกับคู่บ่าวสาว
-พูดกับครูต้องพูดอย่างมีสัมมาคารวะ
-ทำไมถึงทำกับฉันได้
โดยสรุป ถ้าเป็นการทำข้อสอบ ก็ให้ยึดตามหลักความถูกต้องทางภาษาไว้ก่อน คือ ใช้คำว่า "แก่" นำหน้าผู้รับ ส่วนคำว่า "กับ" ใช้สำหรับการเชื่อมคำหรือความเข้าด้วยกัน
ผ่อนผัน หรือ ผ่อนปรน หรือ ผัดผ่อน
ผ่อนผัน ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิต ให้คำจำกัดความว่า ผ่อนผัน ว่า เป็นคำกริยา หมายถึง ลดหย่อนตาม, ลดหย่อนให้
ส่วนคำว่า ผ่อนปรน หมายถึง แบ่งหนักให้เป็นเบา, เอาไปทีละน้อย, ขยับขยายให้เบาบางลง พจนานุกรมบางฉบับ ให้ความหมายเพิ่มเติม คือ หมายถึง ยอมอ่อนให้, ลดความเข้มงวด, แบ่งหนักให้เป็นเบา. เช่น ผ่อนปรนกฎระเบียบ
คำว่า ผัดผ่อน หมายถึง ผัดพอให้ทุเลาหรือหย่อนคลายลง ขอเลื่อน หรือขยายเวลาออกไปอีก ความหมายตามนัยนี้ จะมีความหมายค่อนข้างคล้ายกับคำว่า ผ่อนผัน เช่น ขอผัดผ่อนหนี้กับเจ้าหนี้
ตัวอย่าง
ผ่อนผันเข้ารับการตรวจเลือกเข้ารับราชการทหาร ผ่อนผันการตรวจเลือกเข้าเป็นทหารกองประจำการ ผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร ไม่ใช้ คำว่า "ผ่อนปรน"การเกณฑ์ทหาร การผ่อนผันการเกณฑ์ทหาร คือการเลื่อนกำหนดการเข้ารับการเกณฑ์ทหารออกไป แต่ต้องมาเข้ารับการเกณฑ์ทหารเมื่อพ้นกำหนดที่ขอเลื่อน ไม่ใช่ขอลดความเข้มงวด หรือ ขั้นตอน หรือ กฎระเบียบ ใด ๆ ที่เกี่ยวกับการเกณฑ์ทหาร
ผ่อนผันการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ไม่ใช่ ผ่อนปรนการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา การผ่อนผันการชำระหนี้ เป็นการลดหย่อนตามเงื่อนไขของผู้ขอผ่อนผันการชำระ เช่น เป็นผู้ไม่มีรายได้ หรือรายได้น้อยกว่าที่กำหนด หรือ ประสบภัยพิบัติ เป็นต้น
ผ่อนผันการชำระหนี้ธนาคาร ไม่ใช่ ผ่อนปรนการชำระหนี้ธนาคาร
จุดผ่อนปรนทางการค้า ไม่ใช่ จุดผ่อนผันทางการค้า จุดผ่อนปรนทางการค้า จุดที่เปิดเพื่อให้ประชาชนบริเวณชายแดนสามารถติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนผลผลิตของตนและสินค้าอุปโภค บริโภคเล็กๆ น้อยๆ ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน เป็นคำศัพท์ทีใช้เกี่ยวกับการซื้อ-ขายสินค้าตามชายแดน มีการผ่อนปรน จากการที่ประชาชนไม่สามารถดำเนินการซื้อขายระหว่างกันได้ ให้สามารถดำเนินการซื้อ-ขายกันได้ แต่ทำได้อย่างจำกัด จุดผ่อนปรนทางการค้า ถ้าจะยกระดับให้สูงขึ้น จะกลายเป็นจุดผ่านแดนถาวร ซึ่ง จะทำให้ประชาขนสามารถทำกิจกรรมข้ามพรมแดนได้มากกว่า จุดผ่อนปรนทางการค้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น