การจับใจความสำคัญ: ประโยคความรวม

ข้อสอบ ก.พ. /ท้องถิ่น (ภาค ก.) วิชาภาษาไทย มักจะมีข้อสอบให้หาความหมาย ตีความ หรือจับใจความสำคัญ จากข้อความ หรือประโยคที่กำหนดให้ เช่น

ข้อความนี้สรุปว่าอย่างไร
"แม้ว่าผงซักฟอกที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีผลทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว เพราะว่ามีสารอาหารที่เป็นปุ๋ยของพืช แต่จะมีผลทำให้น้ำเสียได้  เพราะว่าพืชจะดึงออกซิเจนในน้ำมาใช้ในการหายใจ"

1.  ผงซักฟอกทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว
2. ผงซักฟอกทำให้น้ำเสีย
3. ผงซักฟอกมีสารอาหารของพืช
4. ผงซักฟอกช่วยให้พืชดึงออกซิเจนในน้ำ

ก่อนอื่น ต้องดูใจความสำคัญของข้อความนี้เสียก่อน โดยตัดส่วนขยายอื่น ๆ ออก เพราะไม่ใช่ใจความสำคัญ ซึ่งจะได้ว่า

"แม้ว่าผงซักฟอกทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว แต่จะมีผลทำให้น้ำเสียได้"

ประโยคนี้ เป็นประโยคความรวม หรือ อเนกรรถประโยค ซึ่งประกอบด้วย 2 ประโยค รวมเข้าด้วยกัน โดยมีสันธานเป็นตัวเชื่อม


ประเด็นคือ ระหว่าง ผงซักฟอกทำให้พืชเจริญเติบโตเร็ว กับ ผงซักฟอกมีผลทำให้น้ำเสีย ประโยคใด เป็นประโยคที่ต้องการเน้น หรือมีน้ำหนักมากกว่ากัน

ประโยคที่เชื่อมด้วยคำว่า "แม้ว่า .... แต่" มักจะเน้นที่ส่วนหลัง ที่ต่อจากคำว่าแต่ เช่น

แม้ว่าเขาจะเรียนเก่ง แต่นิสัยไม่ดี
ผู้พูดไม่ได้ชมว่าเขาเรียนเก่ง แต่ต้องการตำหนิที่เขามีนิสัยไม่ดี

แม้ว่าเขาจะพยายามมาก แต่ก็ไม่สำเร็จ
ผู้พูดต้องการเน้น ความไม่สำเร็จของเขา มากกว่าความพยายามของเขา

แม้ว่าการใช้จอบแบบดั้งเดิมจะผสมปูนได้เช่นเดียวกัน แต่เนื้อปูนจะเข้ากันได้ดีกว่า หากเราใช้เครื่องมือผสม  เพราะการตีเนื้อปูนด้วยเครื่องมือ จะทำให้เนื้อปูนเข้ากันได้ดีกว่า
ผู้พูดต้องการให้ใช้เครื่องมือผสมปูน มากกว่าใช้จอบผสมปูน

ดาวน์โหลด App สอบ ก.พ. สำหรับ Android ฟรี ที่ Play Store
  • ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่
  • มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ
  • มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ
  • มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ
  • มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา
ดาวน์โหลด ที่ Play Store คลิกที่นี่
ในทำนองเดียวกัน
 "แม้ว่าผงซักฟอกทำให้พืชน้ำเจริญเติบโตเร็ว แต่จะมีผลทำให้น้ำเสียได้"
แสดงว่า ผู้พูดต้องการเน้นที่ผลเสียของผงซักฟอก มากกว่าที่จะพูดถึงผลดีของผงซักฟอก

ดังนั้น ข้อที่ถูกคือ ข้อ  2


มีข้อสังเกตในการทำข้อสอบคือ ข้อความที่ผู้เขียนต้องการเน้น หรือเป็นใจความสำคัญ มักจะอยู่ต่อจากคำเชื่อมที่เป็นการสรุป หรือข้อเสนอแนะ เช่น ดังนั้น ดังนั้นจึง จึงควร เป็นต้น เช่น

เงินทองเป็นของหายาก ต้องตรากตรำลำบากในการทำงาน กว่าที่จะได้เงินสักบาทหรือสองบาท ก็เป็นเรื่องยาก ดังนั้น จึงควรใช้จ่ายอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย

ข้อความนี้ ต้องการให้ใช้เงินอย่างประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่ได้ต้องการบอกว่า เงินทองเป็นของหายาก แต่เป็นการยกขึ้นมาเพื่อประกอบใจความสำคัญ

มาทบทวนเรื่องโครงสร้างประโยคในภาษาไทยกันหน่อย นะครับ

ประโยคในภาษาไทยแบ่งเป็น 3 ชนิด ตามโครงสร้างการสื่อสารดังนี้

1. ประโยคความเดียว
ประโยคความเดียว คือ ประโยคที่มีข้อความหรือใจความเดียว ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เอกรรถประโยค เป็นประโยคที่มีภาคประโยคเพียงบทเดียว และมีภาคแสดงหรือกริยาสำคัญเพียงบทเดียว หากภาคประธานและภาคแสดงเพิ่มบทขยายเข้าไป ประโยคความเดียวนั้นก็จะเป็นประโยคความเดียวที่ซับซ้อนยิ่งขึ้น

2. ประโยคความรวม
ประโยคความรวม คือ ประโยคที่รวมเอาโครงสร้างประโยคความเดียวตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปเข้าไว้ในประโยคเดียวกัน โดยมีคำเชื่อมหรือสันธานทำหน้าที่เชื่อมประโยคเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ประโยคความรวมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อเนกกรรถประโยค ประโยคความรวมแบ่งใจความออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

2.1 ประโยคที่มีความคล้อยตามกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็กตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป มีเนื้อความคล้อยตามกันในแง่ของความเป็นอยู่ เวลา และการกระทำ
ตัวอย่าง
• ทรัพย์ และ สินเป็นลูกชายของพ่อค้าร้านสรรพพาณิชย์
• ทั้ง ทรัพย์ และ สินเป็นนักเรียนโรงเรียนอาทรพิทยาคม
• ทรัพย์เรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ไปเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศึกษา
• พอ สินเรียนจบโรงเรียนมัธยม แล้ว ก็ มาช่วยพ่อค้าขาย
สันธานที่ใช้ใน 4 ประโยค ได้แก่ และ, ทั้ง – และ, แล้วก็, พอ – แล้วก็
หมายเหตุ : คำ “แล้ว” เป็นคำช่วยกริยา มิใช่สันธานโดยตรง

2.2 ประโยคที่มีความขัดแย้งกัน ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค มีเนื้อความที่แย้งกันหรือแตกต่างกันในการกระทำ หรือผลที่เกิดขึ้น
ตัวอย่าง
• พี่ตีฆ้อง แต่ น้องตีตะโพน
• ฉันเตือนเขาแล้ว แต่ เขาไม่เชื่อ

2.3 ประโยคที่มีความให้เลือก ประโยคความรวมชนิดนี้ ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยคและกำหนดให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่าง
• ไปบอกนายกิจ หรือ นายก้องให้มานี่คนหนึ่ง
• คุณชอบดนตรีไทย หรือ ดนตรีสากล

2.4 ประโยคที่มีความเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน ประโยคความรวมชนิดนี้ประกอบด้วยประโยคเล็ก 2 ประโยค ประโยคแรกเป็นเหตุประโยคหลังเป็นผล
ตัวอย่าง
• เขามีความเพียรมาก เพราะฉะนั้น เขา จึง ประสบความสำเร็จ
• คุณสุดาไม่อิจฉาใคร เธอ จึง มีความสุขเสมอ

3. ประโยคความซ้อน
ประโยคความซ้อน คือ ประโยคที่มีใจความสำคัญเพียงใจความเดียว ประกอบด้วยประโยคความเดียวที่มีใจความสำคัญ เป็นประโยคหลัก (มุขยประโยค) และมีประโยคความเดียวที่มีใจความเป็นส่วนขยายส่วนใดส่วนหนึ่งของประโยคหลัก เป็นประโยคย่อยซ้อนอยู่ในประโยคหลัก (อนุประโยค) โดยทำหน้าที่แต่งหรือประกอบประโยคหลัก ประโยคความซ้อนนี้เดิม เรียกว่า สังกรประโยค
อนุประโยคหรือประโยคย่อยมี 3 ชนิด ทำหน้าที่ต่างกัน ดังต่อไปนี้

3.1 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่แทนนาม (นามานุประโยค) อาจใช้เป็นบทประธานหรือบทกรรม หรือส่วนเติมเต็มก็ได้ ประโยคย่อยนี้เป็นประโยคความเดียวซ้อนอยู่ในประโยคหลักไม่ต้องอาศัยบทเชื่อม หรือคำเชื่อม
ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่เป็นประโยคย่อยทำหน้าที่แทนนาม
3.2 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายประธานหรือบทขยายกรรมหรือบทขยายส่วนเติม เต็ม (คุณานุประโยค) แล้วแต่กรณี มีประพันธสรรพนาม (ที่ ซึ่ง อัน ผู้) เชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย
ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทขยาย
3.3 ประโยคย่อยที่ทำหน้าที่เป็นบทขยายคำกริยา หรือบทขยายคำวิเศษณ์ในประโยคหลัก (วิเศษณานุประโยค) มีคำเชื่อม (เช่น เมื่อ จน เพราะ ตาม ให้ ฯลฯ) ซึ่งเชื่อมระหว่างประโยคหลักกับประโยคย่อย
ตัวอย่างประโยคความซ้อนที่ประโยคย่อยทำหน้าที่เป็นบทกริยาหรือบทขยายวิเศษณ์






อ้างอิง
https://thailearning55.wordpress.com/2013/01/01/ ประโยค/





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

อุปมา อุปไมย สำนวนการเปรียบเทียบ ของไทย

ความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล การหาความสัมพันธ์จาก ภาพ สัญลักษณ์

แนวข้อสอบ เงื่อนไขสัญลักษณ์