ทบทวนเรื่อง เลขยกกำลัง
เลขยกกำลัง มักจะมีออกในข้อสอบ ก.พ. เรื่องสดมภ์ อยู่เสมอ ถ้ามีการทบทวน ทำความเข้าใจเสียก่อน น่าจะทำให้ทำข้อสอบได้อย่างถูกต้อง และใช้เวลาไม่มากนัก
ทบทวนกฎของเลขยกกำลัง
การแก้ปัญหาโจทย์เลขยกกำลัง ด้วยตัวเลขหลายหลัก
หลักการคือ ต้องพยายามทำฐาน หรือ ตัวเลขยกกำลังให้เท่ากัน จึงจะเปรียบเทียบกันได้
วิธีการ คือ หาตัวหารที่มากที่สุด ที่มาหารตัวเลขยกกำลัง หรือ พูดง่าย ๆ ว่า หา ห.ร.ม ของตัวเลขยกำลัง เช่น
จงเปรียบเทียบค่า ระหว่าง 428 และ 621
พิจารณาดูเลขยกกำลัง คือ 28 และ 21 จะเห็นว่ามีตัว ห.ร.ม. (ตัวเลขที่มากที่สุดที่หารทั้งสองตัว ลงตัวพอดี) คือ 7 น่าจะทำเป็นเลขยกกำลัง 7 ได้ โดยอาศัย Power Rule คือ
428 = 4(4x7) = (44)7 = 2567
621 = 6(3x7) = (63)7 = 2167
∴ 428 มากกว่า 621
ตัวอย่างข้อสอบ สดมภ์
แนวคิด
เราต้องหาว่า อะไร มากกว่าอะไร เป็น อสมการ เสียก่อน แล้วจึงเอามาบวกกันอีกที เพื่อดูว่า สดมภ์ไหน มีค่ามากกว่ากัน
จะเห็นว่า มีตัวเลขยกกำลัง เป็นตัวเลขที่มีค่ามาก ไม่สามารถที่จะเอาตัวเลขจริงมาคูณกันได้ ดังนั้น จึงต้องทำตัวเลขยกกำลัง ให้เท่ากัน หรือ ให้เป็นเลขเดียวกัน แล้วจึงจะเปรียบเทียบกันได้
ต้องหา ห.ร.ม ของเลขยกกำลัง เพื่อให้ได้ตัวร่วม สูงสุดที่จะมายกกำลัง เพื่อให้ได้เลขยกกำลังตัวเดียวกัน
90 = 5x2x3x3
180= 5x3x3x2
225 = 5x5x3x3
315 = 5x3x3x7
∴ ห.ร.ม. คือ 5x3x3 = 45
a = 590 = (52)45 = 2545
b = 4180 = (44)45 = 25645
c = 3225 = (35)45 = 24345
d = 2315 = (27)45 = 12845
เรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย ได้ ดังนี้
b > c > d > a
∴ b+c > d+a
สดมภ์ ก. มากกว่า สดมภ์ ข.
ทบทวนกฎของเลขยกกำลัง
Rule | กฎ | ตัวอย่าง |
---|---|---|
Zero-Exponent Rule: | a0 = 1 | 30 = 1 |
Power Rule: | (am)n = amn | (x5)4 = 520 |
Negative Exponent Rule: | a-n = 1/an | 5-2 = 1/52 = 1/25 |
Product Rule: | am.an = am+n | x.x5 = x6 |
Quotient Rule: | am/an = am-n | x5/x2 = x3 |
การแก้ปัญหาโจทย์เลขยกกำลัง ด้วยตัวเลขหลายหลัก
หลักการคือ ต้องพยายามทำฐาน หรือ ตัวเลขยกกำลังให้เท่ากัน จึงจะเปรียบเทียบกันได้
วิธีการ คือ หาตัวหารที่มากที่สุด ที่มาหารตัวเลขยกกำลัง หรือ พูดง่าย ๆ ว่า หา ห.ร.ม ของตัวเลขยกำลัง เช่น
จงเปรียบเทียบค่า ระหว่าง 428 และ 621
พิจารณาดูเลขยกกำลัง คือ 28 และ 21 จะเห็นว่ามีตัว ห.ร.ม. (ตัวเลขที่มากที่สุดที่หารทั้งสองตัว ลงตัวพอดี) คือ 7 น่าจะทำเป็นเลขยกกำลัง 7 ได้ โดยอาศัย Power Rule คือ
428 = 4(4x7) = (44)7 = 2567
621 = 6(3x7) = (63)7 = 2167
∴ 428 มากกว่า 621
ตัวอย่างข้อสอบ สดมภ์
สดมภ์ ก. | สดมภ์ ข. | สดมภ์ ค. |
---|---|---|
b+c | d+a | a=590, b=4180, c=3225, d=2315 |
เราต้องหาว่า อะไร มากกว่าอะไร เป็น อสมการ เสียก่อน แล้วจึงเอามาบวกกันอีกที เพื่อดูว่า สดมภ์ไหน มีค่ามากกว่ากัน
จะเห็นว่า มีตัวเลขยกกำลัง เป็นตัวเลขที่มีค่ามาก ไม่สามารถที่จะเอาตัวเลขจริงมาคูณกันได้ ดังนั้น จึงต้องทำตัวเลขยกกำลัง ให้เท่ากัน หรือ ให้เป็นเลขเดียวกัน แล้วจึงจะเปรียบเทียบกันได้
ต้องหา ห.ร.ม ของเลขยกกำลัง เพื่อให้ได้ตัวร่วม สูงสุดที่จะมายกกำลัง เพื่อให้ได้เลขยกกำลังตัวเดียวกัน
90 = 5x2x3x3
180= 5x3x3x2
225 = 5x5x3x3
315 = 5x3x3x7
∴ ห.ร.ม. คือ 5x3x3 = 45
a = 590 = (52)45 = 2545
b = 4180 = (44)45 = 25645
c = 3225 = (35)45 = 24345
d = 2315 = (27)45 = 12845
เรียงลำดับ จากมากไปหาน้อย ได้ ดังนี้
b > c > d > a
∴ b+c > d+a
สดมภ์ ก. มากกว่า สดมภ์ ข.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น