พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
พระราชกฤษฎีกา
ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ใว้ ณ วันที่ ๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นปีที่ ๕๘ ในรัชกาลปัจจุกัน
------------
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรกำหนดหลกเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๒๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับ มาตรา ๓/๑ และมาตรา ๗๑/๑๐ (๕) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ จึงทรง พระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขั้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. ๒๕๔๖”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วีนถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ การปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกานี้ในเรื่องใด สมควรที่ส่วนราชการใด จะปฏิบัติเมื่อใด และจะต้องมีเงื่อนไขอย่างใด ให้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ตามข้อเสนอแนะของ ก.พ.ร.
มาตรา ๔ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“ส่วนราชการ” หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่อยู่ในกำกับของราชการฝ่ายบริหาร แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
“รัฐวิสาหกิจ” หมายความว่า รัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขั้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
“ข้าราชการ” หมายความรวมถึงพนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการ
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
----------------
มาตรา ๖ การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(๑) เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(๒) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(๓) มีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า ในเชิงภารกิจของรัฐ
(๔) ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
(๕) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ ให้ทันต่อสถานการณ์
(๖) ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และได้รับการตอบสนองความต้องการ
(๗) มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการ อย่างสม่ำเสมอ
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
------------
มาตรา ๗ การบริหารราชการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการ ที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุก และความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของ สังคมส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
มาตรา ๘ ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้องดำเนินการ โดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการบริหารราชการ ดังต่อไปนี้
(๑) การกำหนดภารกิจของรัฐ และส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา ๗ และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐ และนโยบายของคณะรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภา
- ตามหลักสูตร ก.พ. ใหม่
- มีแนวข้อสอบ มากกว่า 1,000 ข้อ
- มีเฉลยอย่างละเอียด มีคำอธิบายทุกข้อ
- มีสรุปและเทคนิคการทำข้อสอบ
- มีชุดข้อสอบให้ลองทำ พร้อมจับเวลา
(๒) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการ ต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้ และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระด้บประเทศ และท้องถิ่น
(๓) ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษา วิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้ครบถ้วน ทุกด้าน กำหนดขั้นตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการ ในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของ ประชาชน หรือชี้แจงทำความเข้าใจ เพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
(๔) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการ ที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็น และความพึงพอใจของสังคม โดยรวม และประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุง หรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุง วิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
(๕) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรค จากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไข ปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้น เกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น หรือระเบียบ ข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการ แจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการ กำหนดวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับภารกิจแต่ละเรื่อง ทั้งนี้ ก.พ.ร. จะกำหนดแนวทางการดำเนินการทั่วไป ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ให้เป็นไปตามมาตรานี้ด้วย ก็ได้
การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
--------------
มาตรา ๙ การบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(๑) ก่อนจะดำเนินการตามภารกิจใด ส่วนราชการต้องจัดทำแผนปฏิบัติราชการ ไว้เป็นการล่วงหน้า
(๒) การกำหนดแผนปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการตาม (๑) ต้องมีรายละเอียดของขั้นตอน ระยะเวลา และงบประมาณ ที่จะต้องใช้ในการดำเนินการของแต่ละขั้นตอน เป้าหมายของภารกิจ ผลสัมฤทธิ์ ของภารกิจ และตัวชี้วัดความสำเร็จของภารกิจ
(๓) ส่วนราชการต้องจัดให้มีการติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ส่วนราชการกำหนดขึ้น ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐานที่ ก.พ.ร. กำหนด
(๔) ในกรณีที่การปฏิบัติภารกิจ หรือการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติราชการ เกิดผลกระทบต่อ ประชาชน ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการ ที่จะต้องดำเนินการแก้ไข หรือบรรเทาผลกระทบนั้น หรือเปลี่ยนแผนปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
มาตรา ๑๐ ในกรณีที่ภารกิจใด มีความเกี่ยวข้องกับหลายส่วนราชการ หรือเป็นภารกิจที่ใกล้เคียง หรือต่อเนื่องกัน ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนั้น กำหนดแนวทางการปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการบริหารราชการแบบบูรณาการร่วมกัน โดยมุ่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
ให้ส่วนราชการ มีหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติราชการของผู้ว่าราชการจังหวัด หรือหัวหน้าคณะผู้แทน ในต่างประเทศ เพื่อให้การบริหารราชการแบบบูรณาการ ในจังหวัดหรือในต่างประเทศ แล้วแต่กรณี สามารถ ใช้อำนาจตามกฎหมายได้ครบถ้วนตามความจำเป็น และบริหารราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๑๑ ส่วนราชการ มีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการ ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้ง ต้องส่งเสริม และพัฒนาความรู้ความสามารถ สร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติ ของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการให้สอดคล้องกับ การบริหารราชการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๑๒ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ก.พ.ร. อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดมาตรการ กำกับการปฏิบัติราชการ โดยวิธีการจัดทำความตกลง เป็นลายลักษณ์อักษร หรือโดยวิธีการอื่นใด เพื่อแสดงความรับผิดชอบ ในการปฏิบัติราชการ
มาตรา ๑๓ ให้คณะรัฐมนตรี จัดให้มีแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตลอดระยะเวลาการบริหารราชการของคณะรัฐมนตรี
เมื่อคณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงบประมาณ ร่วมกัน จัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ภายในเก้าสิบวัน นับแต่วันที่ คณะรัฐมนตรีแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ในแผนการบริหารราชการแผ่นดินตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้มี ผลผูกพันคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรี และส่วนราชการ ที่จะต้องดำเนินการจัดทำภารกิจให้เป็นไปตามแผน การบริหารราชการแผ่นดินนั้น
มาตรา ๑๔ ในการจัดทำแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๓ ให้จัดทำเป็นแผนสี่ปี โดยนำนโยบายของรัฐบาล ที่แถลงต่อรัฐสภา มาพิจารณาดำเนินการให้สอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐาน แห่งรัฐตามบทบัญญัติ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแผนพัฒนาประเทศด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ อย่างน้อยจะต้องมีสาระสำคัญ เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงาน ส่วนราชการ หรือบุคคลที่จะรับผิดชอบในแต่ละภารกิจ ประมาณการรายได้และรายจ่าย และทรัพยากรต่าง ๆ ที่จะต้องใช้ ระยะเวลาการดำเนินการ และการติดตามประเมินผล
มาตรา ๑๕ เมื่อมีการประกาศใช้บังคับแผนการบริหารราชการแผ่นดินแล้ว ให้สำนักงาน คณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ร่วมกันพิจารณา จัดทำแผนนิติบัญญัติ โดยมี รายละเอียดเกี่ยวกับกฎหมาย ที่จะต้องจัดให้มีขึ้นใหม่ หรือกฎหมายที่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก ให้สอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ส่วนราชการผู้รับผิดชอบ และระยะเวลาที่ต้องดำเนินการ แผนนิติบัญญัตินั้น เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและสำนัก เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแล้ว ให้มีผลผูกพันส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไป ตามนั้น
ในกรณีที่เห็นสมควร สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนด หนักเกณฑ์การจัดทำแผนนิติบัญญัติ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงานก็ได้
มาตรา ๑๖ ให้ส่วนราชการ จัดทำแผนปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการนั้น โดยจัดทำเป็นแผน สี่ปี ซึ่งจะต้องสอดคล้อง กับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตามมาตรา ๑๓
ในแต่ละปีงบประมาณ ให้ส่วนราชการ จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี โดยให้ระบุสาระสำคัญ เกี่ยวกับนโยบาย การปฏิบัติราชการของส่วนราชการ เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของงาน รวมทั้งประมาณการ รายได้และรายจ่าย และทรัพยากรอื่นที่จะต้องใช้ เสนอต่อรัฐมนตรี เพื่อให้ความเห็นชอบ
เมื่อรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ แผนปฏิบัติราชการของส่วนราชการใด ตามวรรคสองแล้ว ให้ สำนักงบประมาณ ดำเนินการจัดสรรงบประมาณ เพื่อปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จ ในแต่ละภารกิจตามแผน ปฏิบัติราชการดังกล่าว
ในกรณีที่ส่วนราชการ มิได้เสนอแผนปฏิบัติราชการ ในภารกิจใด หรือภารกิจใดไม่ได้รับความเห็นชอบ จากรัฐมนตรี มิให้สำนักงบประมาณ จัดสรรงบประมาณ สำหรับภารกิจนั้น
เมื่อสิ้นปีงบประมาณให้ส่วนราชการจัดทำรายงาน แสดงผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการประจำปี เสนอต่อคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๑๗ ในกรณีที่กฎหมาย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผน ปฏิบัติราชการ เพื่อขอรับงบประมาณ ให้สำนักงบประมาณและ ก.พ.ร. ร่วมกันกำหนดแนวทางการจัดทำ แผนปฏิบัติราชการตามมาตรา ๑๖ ให้สามารถใช้ได้กับแผนปฏิบัติราชการ ที่ต้องจัดทำตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ทั้งนี้ เพื่อมิให้เพิ่มภาระงาน ในการจัดทำแผนจนเกินสมควร
มาตรา ๑๘ เมื่อมีการกำหนดงบประมาณรายจ่ายประจำปี ตามแผนปฏิบัติราชการของ ส่วนราชการใดแล้ว การโอนงบประมาณจากภารกิจหนึ่งตาม ที่กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ ไปดำเนินการอย่างอื่น ซึ่งมีผลทำให้ภารกิจเดิมไม่บรรลุเป้าหมาย หรือนำไปใช้ในภารกิจใหม่ ที่มิได้กำหนดในแผนปฏิบัติราชการ จะกระทำได้ ต่อเมื่อได้รับอนุมัติ จากคณะรัฐมนตรี ให้ปรับแผนปฏิบัติราชการ ให้สอดคล้องกันแล้ว
การปรับแผนปฏิบัติราชการตามวรรคหนึ่ง จะกระทำได้เฉพาะในกรณีที่ งานหรือภารกิจใด ไม่อาจ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปได้ หรือหมดความจำเป็น หรือไม่เป็นประโยชน์ หรือหากดำเนินการ ต่อไปจะต้องเสียค่าใช้จ่าย เกินความจำเป็น หรือมีความจำเป็นอย่างอื่น อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ที่จะต้อง เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของแผนปฏิบัติราชการ
เมื่อคณะรัฐมนตรี มีมติอนุมัติให้ปรับแผนปฏิบัติราชการแล้ว ให้ดำเนินการแก้ไข แผนการบริหารราชการแผ่นดิน ให้สอดคล้องกันด้วย
มาตรา ๑๙ เมื่อนายกรัฐมนตรี พ้นจากดำแหน่ง ให้หัวหน้าส่วนราชการ มีหน้าที่สรุปผลการปฏิบัติราชการ และให้ข้อมูลต่อนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามที่นายกรัฐมนตรีคนใหม่สั่งการ ทั้งนี้ เพื่อนายกรัฐมนตรี คนใหม่ จะได้ใช้เป็นข้อมูล ในการพิจารณากำหนดนโยบาย การบริหารราชการแผ่นดินต่อไป
การบริหารราชการอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
--------------
มาตรา ๒๐ เพื่อให้การปฏิบัติราชการ ภายในส่วนราชการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ให้ส่วน ราชการกำหนดเป้าหมาย แผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานหรือโครงการ และงบประมาณ ที่จะต้องใช้ในแต่ละงานหรือโครงการ และต้องเผยแพร่ ให้ข้าราชการ และประชาชนทราบทั่วกันด้วย
มาตรา ๒๑ ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีต้นทุน ในงานบริการสาธารณะแต่ละประเภทขึ้น ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กรมบัญชีกลางกำหนด
ให้ส่วนราชการคำนวณรายจ่ายต่อหน่วย ของงานบริการสาธารณะ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ ส่วนราชการนั้น ตามระยะเวลาที่กรมบัญชีกลางกำหนด และรายงานให้สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ
ในกรณีที่รายจ่ายต่อหน่วย ของงานบริการสาธารณะใด ของส่วนราชการใดสูงกว่ารายจ่ายต่อหน่วย ของงานบริการสาธารณะ ประเภทและคุณภาพเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันของส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการนั้น จัดทำแผนการลดรายจ่าย ต่อหน่วยของงานบริการสาธารณะ ดังกล่าวเสนอสำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และ ก.พ.ร. ทราบ และถ้ามิได้มีข้อทักท้วงประการใด ภายในสิบห้าวัน ก็ให้ส่วนราชการดังกล่าวถือปฏิบัติ ตามแผนการลดรายจ่ายนั้นต่อไปได้
มาตรา ๒๒ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ และสำนัก งบประมาณ ร่วมกันจัดให้มีการประเมินความคุ้มค่า ในการปฏิบัติภารกิจของรัฐ ที่ส่วนราชการดำเนินการอยู่ เพื่อรายงานคณะรัฐมนตรี สำหรับเป็นแนวทางในการพิจารณาว่า ภารกิจใดสมควรจะได้ดำเนินการต่อไปหรือ ยุบเลิก และเพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งงบประมาณ ของส่วนราชการในปีต่อไป ทั้งนี้ ตามระยะเวลาที่ คณะรัฐมนตรีกำหนด
ในการประเมินความคุ้มค่าตามวรรคหนึ่ง ให้คำนึงถึงประเภท และสภาพของแต่ละภารกิจ ความเป็นไปได้ของภารกิจ หรือโครงการที่ดำเนินการ ประโยชน์ที่รัฐและประชาชนจะพึงได้ และรายจ่ายที่ต้อง เสียไปก่อนและหลังที่ส่วนราชการ ดำเนินการด้วย
ความคุ้มค่าตามมาตรานี้ ให้หมายความถึง ประโยชน์หรือผลเสียทางสังคม และประโยชน์ หรือผลเสียอื่น ซึ่งไม่อาจคำนวณเป็นตัวเงินได้ด้วย
มาตรา ๒๓ ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง ให้ส่วนราชการดำเนินการ โดยเปิดเผยและเที่ยงธรรม โดยพิจารณาถึงประโยชน์ และผลเสียทางสังคม ภาระต่อประชาชน คุณภาพ วัตถุประสงค์ที่จะใช้ ราคา และประโยชน์ระยะยาว ของส่วนราชการที่จะได้รับประกอบกัน
ในกรณีทั่วัตถุประสงค์ในการใช้ เป็นเหตุให้ต้องคำนึงถึงคุณภาพ และการดูแลรักษาเป็นสำคัญ ให้สามารถกระทำได้ โดยไม่ต้องถือราคาตํ่าสุดในการเสนอซื้อ หรือจ้างเสมอไป
ให้ส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลระเบียบ เกี่ยวกับการพัสดุ ปรับปรุงระเบียบที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ส่วนราชการ ดำเนินการตามวรรคหนึ่ง และวรรคสองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มาตรา ๒๔ ในการปฏิบัติภารกิจใด หากส่วนราชการ จำเป็นต้องได้รับอนุญาต อนุมัติ หรือ ความเห็นชอบจากส่วนราชการอื่น ตามที่มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะ รัฐมนตรีกำหนด ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบดังกล่าว แจ้งผล การพิจารณาให้ส่วนราชการ ที่ยื่นคำขอทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ในกรณีที่เรื่องใดมีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือมติคณะรัฐมนตรี กำหนดขั้นตอนการปฏิบัติไว้ และขั้นตอนการปฏิบัตินั้น ต้องใช้ระยะเวลาเกินสิบห้าวัน ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ ประกาศกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้ให้ส่วนราชการอื่นทราบ
ส่วนราชการใด ที่มีอำนาจ อนุญาต อนุมัติ หรือให้ความเห็นชอบ มิได้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หากเกิดความเสียหายใดขึ้น ให้ถือว่าข้าราชการซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้อง และ หัวหน้าส่วนราชการนั้น ประมาทเลินเล่อ อย่างร้ายแรง เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่า ความล่าข้านั้นมิได้เกิดขึ้น จากความผิดของตน
มาตรา ๒๕ ในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาใด ๆ ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการที่รับผิดชอบ ในปัญหานั้นๆ จะต้องพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยเร็ว การตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาวินิจฉัย ให้ ดำเนินการได้ เท่าที่จำเป็น อันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
ในการพิจารณาเรื่องใด ๆ โดยคณะกรรมการ เมื่อคณะกรรมการมีมติเป็นประการใดแล้ว ให้มติ ของคณะกรรมการผูกพันส่วนราชการ ซึ่งมีผู้แทนร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย แม้ว่าในการพิจารณาวินิจฉัย เรื่องนั้น ผู้แทนของส่วนราชการ ที่เป็นกรรมการ จะมิได้เข้าร่วมพิจารณาวินิจฉัยก็ตาม ถ้ามีความเห็น แตกต่างกันสองฝ่าย ให้บันทึกความเห็นของกรรมการ ฝ่ายข้างน้อยไว้ ให้ปรากฎในเรื่องนั้นด้วย
ความผูกพันที่กำหนดไว้ในวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการวินิจฉัยในปัญหาด้านกฎหมาย
มาตรา ๒๖ การสั่งราชการโดยปกติ ให้กระทำเป็นลายฉักษณ์อักษร เว้นแต่ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชา มีความจำเป็นที่ไม่อาจสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรในขณะนั้น จะสั่งราชการด้วยวาจาก็ได้ แต่ให้ผู้รับคำสั่งนั้น บันทึกคำสั่งด้วยวาจาไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และเมื่อได้ปฏิมัติราชการตามคำสั่งดังกล่าวแล้ว ให้บันทึก รายงานให้ผู้สั่งราชการทราบ ในบันทึกให้อ้างอิงคำสั่งด้วยวาจาไว้ด้วย
การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
--------------
ให้ส่วนราชการจัดให้มีการกระจายอำนาจ การจัดสินใจเกี่ยวกับ การสั่ง การอนุญาต การอนุมัติ การปฏิบัติราชการ หรือการดำเนินการอื่นใด ของผู้ดำรงตำแหน่งใด ให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งที่มี หน้าที่รับผิดชอบ ในการดำเนินการในเรื่องนั้นโดยตรง เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว และลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ ทั้งนี้ ในการกระจายอำนาจการจัดสินใจดังกล่าว ต้องมุ่งผล ให้เกิดความสะดวก และรวดเร็ว ในการบริการประชาชน
เมื่อได้มีการกระจายอำนาจ การจัดสินใจตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ส่วนราชการกำหนดหลักเกณฑ์ การควบคุม ติดตาม และกำกับดูแลการใช้อำนาจ และความรับผิดชอบ ของผู้รับมอบอำนาจและผู้มอบอำนาจไว้ด้วย หลักเกณฑ์ดังกล่าว ต้องไม่สร้างขั้นตอน หรือการกลั่นกรองงาน ที่ไม่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการ ในการนี้ หากสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือโทรคมนาคม แล้วจะเป็นการลดขั้นตอน เพิ่มประสิทธิภาพ และประหยัดค่าใช้จ่าย รวมทั้งไม่เกิดผลเสียหายแก่ราชการ ให้ส่วนราชการดำเนินการ ให้ข้าราชการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือโทรคมนาคม ตามความเหมาะสมและกำลังเงินงบประมาณ
เมื่อส่วนราชการใดได้มีการกระจายอำนาจการจัดสินใจตามวรรคหนึ่ง หรือได้มีการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศหรือโทรคมนาคมตามวรรคสองแล้ว ให้ส่วนราชการนั้น เผยแพร่ให้ประชาชนทราบ เป็นการทั่วไป
มาตรา ๒๘ เพื่อประโยชน์ในการกระจายอำนาจการจัดสินใจ ตามมาตรา ๒๗ ก.พ.ร. ด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ หรือแนวทางในการกระจายอำนาจ การจัดสินใจ ความรับผิดชอบ ระหว่างผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ และการลดขั้นตอนในการปฎิบัติ ราชการ ให้ส่วนราชการถือปฎิบัติก็ได้
มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติงาน ที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชน หรือการติดต่อประสานงาน ระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการ แต่ละแห่งจัดทำแผนภูมิ ขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการ รวมทั้งรายละเอียดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอน เปิดเผยไว้ ณ ที่ทำการของส่วนราชการ และในระบบ เครือข่ายสารสนเทศ ของส่วนราชการ เพื่อให้ประชาชน หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าตรวจดูได้
มาตรา ๓๐ ในกระทรวงหนึ่ง ให้เป็นหน้าที่ของปลัดกระทรวง ที่จะต้องจัดให้ส่วนราชการภายในกระทรวง ที่รับผิดชอบ ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการบริการประชาชน ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วม เพื่ออำนวยความ สะดวกแก่ประชาชน ในการที่จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย หรือกฎอื่นใด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถติดต่อ สอบถาม ขอทราบข้อมูล ขออนุญาต หรือขออนุมัติในเรื่องใด ๆ ที่เป็นอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ ในกระทรวงเดียวกัน โดยติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ศูนย์บริการร่วมเพียงแห่งเดียว
มาตรา ๓๑ ในศูนย์บริการร่วมตามมาตรา ๓๐ ให้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ รับเรื่องราวต่างๆ และ ดำเนินการส่งต่อให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการต่อไป โดยให้มีข้อมูลและเอกสาร ที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของทุกส่วนราชการในกระทรวง รวมทั้งแบบคำขอต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมที่จะบริการประชาชนได้ ณ ศูนย์บริการร่วม
ให้เป็นหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่จะต้องจัดพิมพ์รายละเอียด ของเอกสารหลักฐาน ที่ประชาชน จะต้องจัดหามา ในการขออนุมัติหรือขออนุญาต ในแต่ละเรื่อง มอบให้แก่เจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการร่วม และให้เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการร่วม ที่จะต้องแจ้งให้ประชาชนที่มาติดต่อ ได้ทราบในครั้งแรกที่มาติดต่อ และตรวจสอบว่า เอกสารหลักฐานที่จำเป็นดังกล่าวนั้น ประชาชนได้ยื่นมาครบถ้วนหรือไม่ พร้อมทั้งแจ้ง ให้ทราบถึงระยะเวลา ที่จะต้องใช้ดำเนินการ ในเรื่องนั้น
ในการยื่นคำร้อง หรือคำขอ ต่อศูนย์บริการร่วม ตามมาตรา ๓๐ ให้ถือว่าเป็นการยื่นต่อส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ตามที่ระบุไว่ในกฎหมายหรือกฎแล้ว
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง หากมีปัญหาหรืออุปสรรค ในการปฏิบัติราชการ ให้เป็นไปตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมาย หรือกฎในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง แจ้งให้ ก.พ.ร. ทราบ เพื่อดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี ให้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการตามกฎหมาย หรือกฎนั้นต่อไป
มาตรา ๓๒ ให้ผู้ว่าราชการจังหจัด นายอำเภอ และปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ จัดให้ส่วนราชการ ที่รับผิดชอบ ดำเนินการเกี่ยวกับการบริการประชาชน ในเรื่องเดียวกัน หรือต่อเนื่องกันในจังหจัด อำเภอ หรือกิ่งอำเภอนั้น ร่วมกันจัดตั้งศูนย์บริการร่วมไว้ ณ ศาลากลางจังหจัด ทั่ว่าการอำเภอ หรือทั่ว่าการกิ่งอำเภอ หรือสถานที่อื่นตามที่เห็นสมควร โดยประกาศให้ประชาชนทราบ และให้นำความในมาตรา ๓๐ และมาตรา ๓๑ มาใช้บังคับด้วย โดยอนุโลม
การปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการ
--------------
มาตรา ๓๓ ให้ส่วนราชการ จัดให้มีการทบทวนภารกิจของตน ว่าภารกิจใดมีความจำเป็น หรือสมควรที่จะได้ดำเนินการต่อไป หรือไม่ โดยคำนึงถึงแผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายของ คณะรัฐมนตรี กำลังเงินงบประมาณของประเทศ ความคุ้มค่าของภารกิจ และสถานการณ์อื่นประกอบกัน
กำหนดเวลา ในการจัดให้มีการทบทวน ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามที่ ก.พ.ร. กำหนด
ในกรณีที่ส่วนราชการเห็นควรยกเลิก ปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงภารกิจ ให้ส่วนราชการดำเนินการ ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และอัตรากำลัง ของส่วนราชการให้สอดคล้องกัน และเสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อดำเนินการต่อไป
ในกรณีที่ ก.พ.ร. พิจารณาแล้วเห็นว่า ภารกิจของรัฐ ที่ส่วนราชการใดรับผิดชอบดำเนินการอยู่ สมควรเปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติม ให้เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณา เมื่อคณะรัฐมนตรี เห็นชอบแล้ว ให้ส่วนราชการนั้น ดำเนินการปรับปรุงภารกิจ อำนาจหน้าที่ โครงสร้างและอัตรากำลัง ของส่วนราชการนั้นให้สอดคล้องกัน
มาตรา ๓๔ ในกรณีที่มีการยุบเลิก โอน หรือรวมส่วนราชการใด ทั้งหมดหรือบางส่วน ห้ามมิให้ จัดตั้งส่วนราชการ ที่มีภารกิจหรืออำนาจหน้าที่ ที่มีลักษณะเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกันกับส่วนราชการ ดังกล่าวขึ้นอีก เว้นแต่มีการเปลี่ยนแปลง แผนการบริหารราชการแผ่นดิน และมีเหตุผลจำเป็นเพื่อรักษา ความมั่นคงของรัฐ หรือเศรษฐกิจของประเทศ หรือรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม ของประชาชน และโดย ได้รับความเห็นชอบจาก ก.พ.ร.
มาตรา ๓๕ ส่วนราชการมีหน้าที่สำรวจ ตรวจสอบ และทบทวนกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อดำเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศขึ้นใหม่ ให้ทันสมัย และเหมาะสมกับสภาวการณ์ หรือสอดคล้อง กับความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความสะดวก รวดเร็ว และลดภาระ ของประชาชนเป็นสำคัญ
ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้ส่วนราชการนำความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะ ของประชาชน มาประกอบการพิจารณาด้วย
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่ากฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของส่วนราชการใด ไม่สอดคล้อง หรือเหมาะสมกับสถานการณ์ ในปัจจุบัน ไม่เอื้ออำนวย ต่อการพัฒนาประเทศ เป็นอุปสรรค ต่อการประกอบกิจการ หรือการดำรงชีวิตของประชาชน หรือก่อให้เกิดภาวะ หรือความยุ่งยาก ต่อประชาชนเกินสมควร ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เสนอแนะต่อส่วนราชการนั้น เพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุง หรือยกเลิกโดยเร็วต่อไป
ในกรณีที่ส่วนราชการที่ได้รับการเสนอแนะ ไม่เห็นชอบด้วย กับคำเสนอแนะของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เสนอเรื่อง ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาวินิจฉัย
การอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน
--------------
มาตรา ๓๗ ในการปฏิบัติราชการ ที่เกี่ยวข้องกับการบริการประชาชน หรือติดต่อประสานงาน ระหว่างส่วนราชการด้วยกัน ให้ส่วนราชการ กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จของงาน แต่ละงาน และประกาศ ให้ประชาชน และข้าราชการทราบเป็นการทั่วไป ส่วนราชการใด มิได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ ของงานใด และ ก.พ.ร. พิจารณาเห็นว่างานนั้น มีลักษณะที่สามารถกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จได้ หรือส่วนราชการ ได้กำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จไว้ แต่ ก.พ.ร. เห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ล่าช้าเกินสมควร ก.พ.ร. จะกำหนด เวลาแล้วเสร็จให้ส่วนราชการนั้นต้องปฏิบัติก็ได้
ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชา ที่จะต้องตรวจสอบ ให้ข้าราชการปฏิบัติงาน ให้แล้วเสร็จตาม กำหนดเวลาตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๓๘ เมื่อส่วนราชการใด ได้รับการติดต่อสอบถามเป็นหนังสือ จากประชาชนหรือจาก ส่วนราชการต้วยกัน เกี่ยวกับงานที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ที่จะต้องตอบคำถาม หรือแจ้งการดำเนินการ ให้ทราบภายในสิบห้าวัน หรือภายในกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ ตามมาตรา ๓๗
มาตรา ๓๙ ให้ส่วนราชการ จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของส่วนราชการเพื่ออำนวยความสะดวก ให้แก่ประชาชน ที่จะสามารถติดต่อสอบถาม หรือขอข้อมูล หรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ การปฏิบัติราชการ ของส่วนราชการ
ระบบเครือข่ายสารสนเทศตามวรรคหนึ่ง ต้องจัดทำในระบบเดียว กับที่กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร จัดให้มีขึ้นตามมาตรา ๔๐
มาตรา ๔๐ เพื่ออำนวยความสะดวก และความรวดเร็ว แก่ประชาชนในการติดต่อกับส่วนราชการทุกแห่ง ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือสาร จัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศกลางขึ้น
ในกรณีที่ส่วนราชการใด ไม่อาจจัดให้มีระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของส่วนราชการได้ อาจร้องขอ ให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ดำเนินการจัดทำระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของส่วนราชการดังกล่าว ก็ได้ ในการนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะขอให้ส่วนราชการ ให้ความช่วยเหลือด้านบุคลากร ค่าใช้จ่าย และข้อมูลในการดำเนินการก็ได้
มาตรา ๔๑ ในกรณีที่ส่วนราชการ ได้รับคำร้องเรียน เสนอแนะ หรือความคิดเห็น เกี่ยวกับวิธีปฏิบัติราชการ อุปสรรค ความยุ่งยาก หรือปัญหาอื่นใด จากบุคคลใด โดยมีข้อมูลและสาระตามสมควร ให้เป็นหน้าที่ของส่วนราชการนั้น ที่จะต้องพิจารณาดำเนินการให้ลุล่วงไป และในกรณีที่มีที่อยู่ของบุคคลนั้น ให้แจ้งให้บุคคลนั้น ทราบผลการดำเนินการด้วย ทั้งนี้ อาจแจ้งให้ทราบ ผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของส่วนราชการด้วยก็ได้
ในกรณีการแจ้งผ่านทางระบบเครือข่ายสารสนเทศ มิให้เปิดเผย ชื่อหรือที่อยู่ ของผู้ร้องเรียน เสนอแนะ หรือแสดงความคิดเห็น
มาตรา ๔๒ เพื่อให้การปฏิบัติราชการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความสะดวกรวดเร็ว ให้ส่วนราชการที่มีอำนาจ ออกกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ เพื่อใช้บังคับกับส่วนราชการอื่น มีหน้าที่ตรวจสอบว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้น เป็นอุปสรรค หรือก่อให้เกิดความยุ่งยาก ซ้ำซ้อน หรือความล่าข้า ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ของส่วนราชการอื่นหรือไม่ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข ให้เหมาะสมโดยเร็วต่อไป
ในกรณีที่ได้รับการร้องเรียน หรือเสนอแนะจากข้าราชการ หรือส่วนราชการอื่นในเรื่องใด ให้ส่วนราชการที่ออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้น พิจารณาโดยทันที และในกรณีที่เห็นว่า การร้องเรียน หรือเสนอแนะนั้น เกิดจากความเข้าใจผิด หรือความไม่เข้าใจในกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศ ให้ชี้แจงให้ผู้ร้องเรียน หรือเสนอแนะทราบ ภายในสิบห้าวัน
การร้องเรียนหรือเสนอแนะตามวรรคสอง จะแจ้งผ่าน ก.พ.ร. ก็ได้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่า กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศใดมีลักษณะตามวรรคหนึ่ง ให้ ก.พ.ร. แจ้งให้ส่วนราชการที่ออก กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศนั้นทราบ เพื่อดำเนินการ ปรับปรุงแก้ไข หรือยกเลิก ต่อไปโดยเร็ว
มาตรา ๔๓ การปฏิบัติราชการในเรื่องใดๆ โดยปกติให้ถือว่าเป็นเรื่องเปิดเผย เว้นแต่กรณีมี ความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อประโยชน์ในการรักษา ความมั่นคงของประเทศ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การรักษา ความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล จึงให้กำหนดเป็นความลับได้เท่าที่จำเป็น
มาตรา ๔๔ ส่วนราชการ ต้องจัดให้มีการเปิดเผยข้อมูล เกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายแต่ละปี รายการเกี่ยวกับ การจัดซื้อหรือจัดจ้าง ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณนั้น และปัญญาใด ๆ ที่ได้มีการอนุมัติให้จัดซื้อหรือจัดจ้างแล้ว ให้ประชาชนสามารถ ขอดูหรือตรวจสอบได้ ณ สถานที่ทำการของ ส่วนราชการ และระบบเครือข่ายสารสนเทศ ของส่วนราชการ ทั้งนี้ การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว ต้องไม่ก่อให้เกิดความได้เปรียบ หรือเสียเปรียบ หรือความเสียหายแก่บุคคลใด ในการจัดซื้อหรือจัดจ้าง
ในการจัดทำสัญญาจัดซื้อหรือจัดจ้าง ห้ามมิให้มีข้อความ หรือข้อตก ลงห้ามมิให้เปิดเผยข้อความ หรือข้อตกลงในสัญญาดังกล่าว เว้นแต่ข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่อยู่ภายใต้บังคับกฎหมาย กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับการคุ้มครองความลับทางราชการ หรือในส่วนที่เป็นความลับทางการค้า
การประเมินผลการปฏิบัติราชการ
--------------
มาตรา ๔๕ นอกจากการจัดให้มีการประเมินผลตามมาตรา ๙ (๓) แล้ว ให้ส่วนราชการจัดให้มี คณะผู้ประเมินอิสระ ดำเนินการประเมินผลการปฎิบํติราชการ ของส่วนราชการเกี่ยวกับผลสัมฤทธิ์ของภารกิจ คุณภาพการให้บริการ ความพึงพอใจของประชาชนผู้รับบริการ ความคุ้มค่าในภารกิจ ทั้งนี้ ตามหสักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่ ก.พ.ร. กำหนด
มาตรา ๔๖ ส่วนราชการ อาจจัดให้มีการประเมินภาพรวมของผู้บังคับบัญชาแต่ละระดับ หรือหน่วยงานในส่วนราชการก็ไค้ ทั้งนี้ การประเมินดังกล่าว ต้องกระทำเป็นความลับ และเป็นไปเพื่อ ประโยชน์แห่งความสามัคคี ของข้าราชการ
มาตรา ๔๗ ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ของข้าราชการ เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคล ให้ส่วนราชการ ประเมินโดยคำนึงถึงผลการปฏิบัติงาน เฉพาะตัวของข้าราชการผู้นั้น ในตำแหน่งที่ปฏิบัติ ประโยชน์ และผลสัมฤทธิ์ ที่หน่วยงานที่ข้าราชการผู้นั้นสังสัด ได้รับจากการปฏิบัติงานของ ข้าราชการผู้นั้น
มาตรา ๔๘ ในกรณีที่ส่วนราชการใด ดำเนินการให้บริการที่มีคุณภาพ และเป็นไปตามเป้าหมาย ที่กำหนด รวมทั้งเป็นที่พึงพอใจแก่ประชาชน ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรี จัดสรรเงินเพิ่มพิเศษ เป็นบำเหน็จความชอบ แก่ส่วนราชการ หรือให้ส่วนราชการใช้เงินงบประมาณเหลือจ่าย ของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ของส่วนราชการ หรือจัดสรรเป็นรางวัลให้ข้าราชการในสังสัด ทั้งนี้ ตามหสักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนด โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๔๙ เมื่อส่วนราชการใด ได้ดำเนินงานไปตามเป้าหมาย สามารถเพิ่มผลงานและผลสัมฤทธิ์ โดยไม่เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย และคุ้มค่าต่อภารกิจของรัฐ หรือสามารถดำเนินการ ตามแผนการลดค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ได้ตามหสักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีจัดสรรเงินรางวัล การเพิ่ม ประสิทธิภาพ ให้แก่ส่วนราชการนั้น หรือให้ส่วนราชการ ใช้เงินงบประมาณเหลือจ่าย ของส่วนราชการนั้น เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการปฏิบัติงาน ของส่วนราชการ หรือจัดสรรเป็นรางวัล ให้ข้าราชการในสังสัด ทั้งนี้ ตามหสักเกณฑ์ และวิธีการที่ ก.พ.ร. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี
มาตรา ๕๐ เพื่อให้การบริหารราชการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ก.พ.ร. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อาจกำหนดให้ส่วนราชการ ต้องปฏิบัติการใดนอกเหนือ จากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ รวมทั้ง กำหนดมาตรการอื่นเพิ่มเติมจากที่บัญญติไว้ในมาตรา ๔๘ และมาตรา ๔๙ ก็ได้
มาตรา ๕๑ ในกรณีที่พระราชกฤษฎีกานี้ กำหนดให้ส่วนราชการต้องจัดทำแผนงานในเรื่องใด และมีกฎหมายฉบับอื่น กำหนดให้ส่วนราชการ ต้องจัดทำแผนงาน ในเรื่องเดียวกันทั้งหมดหรือบางส่วน เมื่อส่วนราชการ ได้จัดทำแผนงาน ตามกฎหมายฉบับใดฉบับหนึ่งแล้ว ให้ถือว่าส่วนราชการนั้น ได้จัดทำแผน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ด้วยแล้ว
มาตรา ๕๒ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดทำหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้ โดยอย่างน้อย ต้องมีหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการอำนวยความสะดวก และการตอบสนองความต้องการของประชาชน ที่สอดคล้องกับบทบัญญติ ในหมวด ๕ และหมวด ๗
ให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย ดูแลและให้ความช่วยเหลือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดทำหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง
มาตรา ๕๓ ให้องค์การมหาชนและรัฐวิสาหกิจ จัดให้มีหลักเกณฑ์การบริหารกิจการบ้านเมือง ที่ดี ตามแนวทางของพระราชกฤษฎีกานี้
ในกรณีที่ ก.พ.ร. เห็นว่าองค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจใด ไม่จัดให้มีหลักเกณฑ์ตามวรรคหนึ่ง หรือมีแต่ไม่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกานี้ ให้แจ้งรัฐมนตรี ซึ่งมีหน้าที่กำกับ ดูแล องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจ เพื่อพิจารณาสั่งการให้องค์การมหาชน หรือรัฐวิสาหกิจนั้นดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ:- เหตุผล ในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่มีการปฏิรูประบบราชการ เพื่อให้การปฏิบัติงาน
ของส่วนราชการ ตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ และให้บริการแก่ประชาชน ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งการบริหารราชการ และการปฏิบัติหน้าที่ ของส่วนราชการนี้ ต้องใช้วิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข ของประชาชน เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ มีประสิทธิภาพ เกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ที่เกินความจำเป็น และประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวก และ ได้รับการตอบสนองความต้องการ รวมทั้งมีการประเมินผล การปฏิบัติราชการอย่างสมํ่าเสมอ และเนื่องจาก มาตรา ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ บัญญัติให้ การกำหนดกลไก เกณฑ์ และวิธีการ ในการปฏิบัติราชการ และการสั่งการ ให้ส่วนราชการ และข้าราชการปฏิบัติราชการ เพื่อให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี กระทำโดยตราเป็น พระราชกฤษฎีกา จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น