บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2024

ทอดลูกเต๋า โจทย์ข้อสอบ กพ

รูปภาพ
ทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง อยากทราบว่า มีโอกาสกี่เปอร์เซ็นต์ที่ลูกเต๋าจะมีผลรวมของแต้มเป็นเลขคี่? ลูกเต๋าแต่ละลูกมี 6 ด้าน มีแต้ม 1-6 ลูกเต๋า 2 ลูก จะมีแต้มรวมกันได้ เป็นเลขคี่ ก็ต่อเมื่อ มีลูกหนึ่งออกแต้มคี่และอีกลูกออกแต้มคู่ เช่น 2 กับ 5 รวมกันจะเป็นเลขคี่ ถ้าออกแต้มคู่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่ เช่น 2 กับ 4 เป็น 6 ซึ่งเป็นเลขคู่ หรือ ถ้าออกแต้มคี่ทั้งสองลูก ผลรวมก็จะเป็นเลขคู่  เช่น 3 กับ 5 เป็น 8 ซึ่งเป็นเลขคู่ ในการคิดสูตรความน่าจะเป็น มีสูตรคือ   ความน่าจะเป็น = จำนวน เหตุการ์ที่สนใจ / จำนวน เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้   ในโจทย์ข้อนี้  การทอดลูกเต๋า 2 ลูกพร้อมกัน 1 ครั้ง เราเรียกว่าเป็น 1 เหตุการณ์  เหตุการณ์ที่เราสนใจคือ การที่เมื่อทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป 1 ครั้ง แล้ว แต้มของลูกเต๋าทั้งสองลูก เมื่อรวมกัน จะออกเป็นเลขคี่ เช่น เลข 3, 5, 7 ... เป็นต้น เหตุการณ์ทั้งหมดที่สามารถเกิดขึ้นได้ คือ จำนวนครั้งทั้งหมดที่ทอดลูกเต๋า 2 ลูกไป แล้ว ผลที่ได้จะไม่ซ้ำกัน (เหตุการณ์ที่ลูก 1 ออกแต้ม 1 และ ลูก 2 ออกแต้ม 1 กับ เหตุการณ์ที่ลูก 2 ออกแ...

การตัดสินข้อสรุป เงื่อนไขภาษา ข้อสอบ กพ

การตัดสินเงื่อนไขภาษา ในข้อสอบ ก.พ. (ภาค ก.) ในการทำข้อสอบเงื่อนไขภาษา เราจะต้องตัดสินข้อสรุปที่ให้มาว่า จริง หรือเท็จ หรือ สรุปได้ไม่แน่ชัด เช่น เงื่อนไข มีบริษัทเปิดสอบแข่งขันโดยมีผู้แข่งขันที่ผ่านการคัดเลือกร้อยละ 5 จากทั้งหมด โดยมีลําดับไม่ซ้ำกัน คือ จําปี จําปา ผกา กุหลาบ ราตรี พิกุล หงอนไก่ พลับพลึง จําปีได้ลําดับระหว่างผกากับจําปา และจําปาน้อยกว่าจําปี กุหลาบได้ลำดับที่ 4 หงอนไก่สู้กุหลาบไม่ได้ แต่ได้ลําดับดีกว่าพิกุล ลําดับของพลับพลึงกับราตรีอยู่ติดกัน พิกุลอยู่ลำดับที่ดีกว่าพลับพลึง เราสามารถจัดเรียงข้อมูลตามเงื่อนไขได้ ดังนี้ ลำดับที่ ชื่อ 1 ผกา 2 จำปี 3 จำปา 4 กุหลาบ 5 หงอนไก่ 6 พิกุล 7 พลับพลึง | ราตรี 8 พลับพลึง | ราตรี ข้อสรุปที่ 1: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 2: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 6 การตัดสินข้อสรุป: จริง ข้อสรุปที่ 3: ผกา อยู่ลำดับที่ 1 และ พิกุลอยู่ลำดับที่ 7 การตัดสินข้อสรุป: เท็จ กรณีที่ประโยค(ประพจน์)เชื่อมด้วยคำว่า "และ" ประโยคทั้งสองจะต้องเป็นจริง จึงจะได้ผลเป็นจริง ถ้...