บทความ

กำลังแสดงโพสต์ที่มีป้ายกำกับ sumproduct

sumproduct() ฟังก์ชันการรวมที่น่าสนใจ

รูปภาพ
SUMPRODUCT เป็นสูตรที่ใช้สำหรับ การหาผลคูณของคอลัมน์ตั้งแต่ 2 คอลัมน์ขึ้นไป และเอาผลที่ได้จากการคูณนั้น มารวมกัน เช่น จากภาพ ถ้าเราไม่ใช้ SUMMPRODUCT หาผลรวมของทั้งหมด เราอาจจะหาผลคูณ ของแต่ละรายการ แล้วนำมารวมกัน เป็นผลรวมทั้งหมด เช่น F3 เขียนสูตร D3*E3, F4เขียนสูตร D4*E4 ไปเรื่อย ๆ ...จากนั้น จึงหาผลรวม เช่น ที่ F8 เขียนสูตรว่า Sum(F3:F6) ก็จะได้ ดังนี้ จะเห็นว่า มีการทำงาน 2 ขั้นตอน คือต้องหาผลคูณก่อน แล้วจึงนำมารวมกันอีกครั้ง  แต่ถ้าใช้สูตร SUMPRODUCT ซึ่งโปรแกรมจะทำงานเช่นเดียวกับข้างต้น คือหาผลคูณแต่ละรายการ และนำผลที่ได้มารวมกัน ข้อแตกต่างคือ ทำเพียงครั้งเดียว และสามารถยืดหยุ่นได้ ซึ่งจะได้แสดงให้ดูต่อไปว่า ยืดหยุ่นได้อย่างไร ผลที่ได้จากการใช้ SUMPRODUCT ในช่อง F8 มีดังนี้ หลักการ SUMPRODUCT ต้องการข้อมูลที่เป็น array หรือพูดง่าย ๆ ว่าเป็นข้อมูลชุดที่ติดต่อกัน เช่นในตัวอย่าง เป็นข้อมูลในคอลัมน์ ถ้ามีมากกว่า 1 คอลัมน์ ข้อมูลนั้น ต้องมีจำนวนเท่ากัน เราสามารถเพิ่มความยืดหยุ่น โดยการกำหนดเงื่อนไขในแต่ละคอลัมน์ได้ วิธีการ กรอกข้อมูล ดังภาพ ที่ช่

การจัดลำดับแบบไม่ซ้ำกัน โดยมีเงื่อนไข ใน Excel 2010 ด้วย rank.eq() และ sumproduct()

รูปภาพ
โจทย์ปัญหา ถ้าต้องการจัดลำดับ โดยกำหนดเกณฑ์ว่า ถ้าได้คะแนนรวมเท่ากัน ให้พิจารณาผลคะแนนอื่นประกอบ เช่น ในการสอบคัดเลือก ถ้าคะแนนรวมได้เท่ากัน ให้พิจารณาคะแนนในการสอบ ภาค ก. ถ้าใครได้คะแนนสอบภาค ก. มากกว่า จะได้ลำดับที่ดีกว่า สังเกตการจัดลำดับผู้สอบคัดเลือกได้ ในตารางข้างล่างนี้ จากตัวอย่าง จะเห็นว่า ผู้เข้าสอบมีคะแนนรวม ที่เท่ากัน หลายคน เช่น เลขที่ 1, 6 และ 7 ได้คะแนน 100 คะแนน เท่ากัน แต่จัดลำดับที่ต่างกัน โดยพิจารณาจากคะแนนใน ภาค ก. ประกอบ ได้แก่ เลขที่ 7 ได้คะแนนรวม 100 คะแนน และได้คะแนนภาค ก. 40 คะแนน ได้ลำดับที่ 4 เลขที่ 6 ได้คะแนนรวม 100 คะแนน และได้คะแนนภาค ก. 30 คะแนน ได้ลำดับที่ 5 เลขที่ 1 ได้คะแนนรวม 100 คะแนน และได้คะแนนภาค ก. 20 คะแนน ได้ลำดับที่ 6 การเรียงลำดับลักษณะนี้ ใช้ฟังก์ชั่น Rank() อย่างเดียวไม่พอ ต้องใช้ Sumproduct() เพื่อกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติม วิธีการ มีดังนี ใช้ RANK.EQ() เพื่อหาลำดับที่ตามปกติ จะได้ดังนี้ จะเห็นว่า มีลำดับที่ซ้ำกัน คือ ลำดับที่ 2 มี 2 คน และ ลำดับที่ 4 มี 3 คน เกณฑ์ต่อมา คือต้องพิจารณาว่า ตำแหน่งที่เท่ากัน หรือซ้ำกัน ใครได้

SUMPRODUCT

รูปภาพ
เมื่อต้องการหาผลรวมของรายการหลายรายการ โดยมีเงื่อนไขหลายเงื่อนไข ให้ใช้ สูตร SUMPRODUCT เช่น ต้องการหาผลรวมการขายของพนักงาน ตามข้อมูลข้างล่างนี้ จะเห็นว่า สุดาขายสินค้าหลายอย่าง แต่เราต้องการทราบเฉพาะจานเท่านั้น ดังนั้น ในกรณีนี้ จะมี 2 เงื่อนไข คือ ชื่อ และสินค้า แล้วให้นำเงินที่ขายได้มารวมกัน ในเซลล์ D12 ให้เขียนสูตร ดังนี้ =SUMPRODUCT(--(B2:B9="สุดา"),--(C2:C9="จาน"),D2:D9) ข้อความ --(B2:B9="สุดา") จะได้ผลเป็น 0 ถ้าช่วงที่กำหนดไม่มีคำว่า "สุดา" และ เป็น 1 ถ้ามีคำว่า "สุดา" ข้อความ --(C2:C9="จาน")จะได้ผลเป็น 0 ถ้าช่วงที่กำหนดไม่มีคำว่า "จาน" และ เป็น 1 ถ้ามีคำว่า "จาน" ส่วน D2:D9 คือค่าที่จะให้นำมารวมกัน ผลที่ออกมาจะได้ ดังภาพ ในกรณีที่มีการระบุจำนวนสินค้า และราคาสินค้าด้วย ดังภาพข้างล่างนี้ จะเห็นว่า สุดา ขายจานได้ 5 ใบวันที่ 1/4/2555 และ ขายได้อีก 8 ใบ เมื่อวันที่ 6/4/2555 จานราคาใบละ 20 บาท ดังนั้น การคำนวณ จึงต้องเอาจำนวนที่ขายได้ ไปคูณกับราคาแต่ละชิ้น แล้วจึงนำไปบวกกันอีกที ลัก

การใช้สูตร SUMIFS ของ Excel 2007, 2010

รูปภาพ
สูตร SUMIFS เป็นสูตรใหม่ เพิ่งมีครั้งแรกใน Excel 2007 สูตรนี้ ใช้เหมือนกับสูตร sumproduct ใน Excel 2003 แต่ใช้ง่ายกว่า สูตร SUMIFS เป็นการรวมโดยมีเงื่อนไขมากกว่า 1 เงื่อนไข คือให้มีเงื่อนไขที่จะทดสอบได้ ตั้งแต่ 2-127 เงื่อนไขทีเดียว (ถ้ามีเพียงเงื่อนไขเดียว ก็ใช้ SUMIF ธรรมดา ที่ไม่มี S นะครับ) ดูวิดีโอการใช้สูตร SUMIFS() ในกรณีใดบ้างที่เราต้องใช้การรวมหลายเงื่อนไข เช่น ต้องการรวมเงินของพนักงานขาย ที่ขายสินค้าหลายชนิด เราต้องการหาผลรวมการขายสินค้าแต่ละชนิด ของพนักงานแต่ละคน ในกรณีนี้ จะเห็นว่า มีเงื่อนไขอยู่ 2 เงื่อนไข คือ พนักงาน และ สินค้า นั่นคือ มีพนักงานอยู่หลายคน เงื่อนไขว่า จะให้รวมเงินของพนักงานคนไหน และ เงื่อนไขที่สองคือ สินค้ามีหลายชนิดต้องทราบผลรวมเงินของสินค้าชนิดไหน ส่วนสิ่งที่จะให้นำมารวมกัน ก็คือเงินที่พนักงานคนนั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) ขายสินค้านั้น ๆ (ที่ระบุในเงื่อนไข) นั่นเอง รูปแบบการใช้สูตร SUMIFS(sum_range, criteria_range1, criteria1, [criteria_range2,criteria2], …) sum_range     คือช่วงของข้อมูลที่จะให้นำมารวมกัน ถ้าเป็นกรณีข้างต้น ก็คือ ให้รวม